Page 15 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินทรายจัดต่อการผลิตข้าวโพดหวานในจังหวัดสงขลา Effect of bio-organic fertilizers on change for soil properties in sandy soils to increase sweet corn yield at Songkhla province.
P. 15
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
13
ผลของปุ๋ยอินทรีย์ต่อสมบัติทางกายภาพของดิน
เป็นตัวเชื่อมอนุภาคของดินให้เกาะกันเป็นก้อน ท าให้ดินทรายมีช่องว่างขนาดเล็กเพิ่มมากขึ้น เกาะตัว
กันดีขึ้นส่งผลให้ดินอุ้มน ้าได้ดีขึ้นและปริมาณความชื้นที่เป็นประโยชน์สูงขึ้น (ยงยุทธและคณะ, 2541)
ผลของปุ๋ยอินทรีย์ต่อสมบัติทางเคมีของดิน
ปุ๋ยอินทรีย์มีปริมาณเกลือที่ละลายน ้าได้ต ่าและสลายตัวให้ฮิวมัสซึ่งมีความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนสูง
ท าให้ดินมีลักษณะเอื้ออ านวยต่อการเจริญเติบโตของพืชดีขึ้น ควบคุมปฏิกิริยาทางเคมีในดินให้เป็นไปอย่าง
สม ่าเสมอไม่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเฉียบพลัน (มุกดา, 2545)
ผลของปุ๋ยอินทรีย์ต่อสมบัติทางชีวภาพของดิน
เป็นแหล่งอาหารและพลังงานของจุลินทรีย์ในดิน ท าให้มีปริมาณและกิจกรรมของจุลินทรีย์เพิ่มมากขึ้น
โดยเฉพาะกระบวนการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารในดิน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551) ช่วยควบคุมโรคพืชบางชนิด
เช่น ลดความรุนแรงของเชื้อที่เป็นสาเหตุโรคพืช เช่น Rhizoctonia solani , Aspergillus flavas เป็นต้น
และช่วยเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารพืชในดินให้มีประโยชน์มากขึ้น (มุกดา, 2545)
ปุ๋ยชีวภาพ เป็นวัสดุหรือสารที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิตเป็นตัวด าเนินกิจกรรม ให้ธาตุอาหาร
แก่พืชหรือท าให้ธาตุอาหารที่อยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถน ามาใช้ประโยชน์ได้ เปลี่ยนเป็นรูปที่เป็นประโยชน์ต่อ
พืชได้เพิ่มขึ้น เช่น ไรโซเบียมสร้างปุ๋ยไนโตรเจนให้แก่พืชตระกูลถั่ว จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตช่วยท าให้
หินฟอสเฟตหรือฟอสเฟตที่ถูกยึดตรึงอยู่ในดินให้อยู่ในรูปที่พืชน าไปใช้ในการเจริญเติบโตได้เพิ่มขึ้น
(กรมวิชาการเกษตร,2551) หรือเป็นปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่มีคุณสมบัติพิเศษ สร้างธาตุอาหาร
พืชได้เองหรือสามารถเปลี่ยนธาตุอาหารที่อยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชให้มาอยู่ในรูปที่พืชสามารถใช้
ประโยชน์ได้ (ทัศนีย์และคณะ,2550) หรือการน าจุลินทรีย์มาใช้ในการปรับปรุงดินทางชีวภาพ ทางกายภาพ
ทางชีวเคมีและการย่อยสลายสารอินทรียวัตถุ พืช จากอินทรีย์หรือจากอนินทรียวัตถุ (มุกดา, 2545)
ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 เป็นปุ๋ยที่ได้จากการน าจุลินทรีย์ที่มีชีวิตสร้างอาหาร ธาตุอาหารหรือช่วยให้ธาตุ
อาหารเป็นประโยชน์กับพืชมาใช้ปรับปรุงดินทางชีวภาพ ทางกายภาพและทางชีวเคมี ท าให้ดินมีความ
อุดมสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้นและสร้างฮอร์โมนส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ประกอบด้วย จุลินทรีย์ที่ให้ธาตุ
ไนโตรเจน จุลินทรีย์ที่ให้ธาตุฟอสฟอรัส จุลินทรีย์ที่ให้ธาตุโพแทสเซียมและจุลินทรีย์ที่ผลิตฮอร์โมนและสาร
เสริมการเจริญเติบโต
จุลินทรีย์ที่ให้ธาตุไนโตรเจนมี 2 กลุ่ม คือ จุลินทรีย์ที่อยู่ร่วมกับพืช ได้แก่ ไรโซเบียมเป็นจุลินทรีย์ที่มี
ประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนสูงมาก สามารถทดแทนไนโตรเจนจากปุ๋ยเคมีได้โดยให้กับพืชอาศัยมากกว่า
5 0 เปอร์เซ็นต์ (กรมวิชาการเกษตร,2548) และจุลินทรีย์ที่อยู่อย่างอิสระ ได้แก่ Azotobecter
sp.,Azospirillum sp.และBacillus sp. เป็นจุลินทรีย์ที่สามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศและเปลี่ยนให้อยู่ในรูป
แอมโมเนียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืช โดยกิจกรรมเอนไซม์ไนโตรจีเนส (กรมพัฒนาที่ดิน,2551)
จุลินทรีย์ที่ให้ธาตุฟอสฟอรัสมี 2 กลุ่ม คือ จุลินทรีย์ที่ช่วยดูดซับธาตุฟอสฟอรัสให้กับพืช ได้แก่ ไมโคร
ไรซ่า ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในรากพืชแบบพึ่งพาซึ่งกันและกันมี 2 ชนิด คือ วี-เอไมโครไรซ่าและเอ็คโคไม
โครไรซ่า เป็นจุลินทรีย์ที่ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวรากและชอนไชเข้าไปในดินได้สัมผัสกับธาตุฟอสฟอรัสและจะดูดธาตุนี้