Page 18 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินทรายจัดต่อการผลิตข้าวโพดหวานในจังหวัดสงขลา Effect of bio-organic fertilizers on change for soil properties in sandy soils to increase sweet corn yield at Songkhla province.
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                   16




                     ย่อยสลาย เมื่อการย่อยสลายหมดแล้วจะให้ธาตุอาหารพืชเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ลดการชะล้างพังทลาย
                     ของดิน ท าให้ดินโปร่งร่วนซุย ท าให้ดินสามารถอุ้มน ้าและรักษาความชื้นในดินได้ดี เพิ่มความสามารถในการ

                     ดูดซึมธาตุอาหารของดิน ช่วยบ ารุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน พืชปุ๋ยสดที่นิยมใช้ ได้แก่ พืชตระกูลถั่ว

                     ทั้งพืชตระกูลถั่วอายุสั้นและอายุยาวข้ามปี (วรรณลดา, 2537) การปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นพืชที่นิยมใช้กันมาก
                     ส าหรับปุ๋ยพืชสดและพืชคลุมดิน เนื่องจากพืชตระกูลถั่วนอกจากจะขึ้นง่ายและเจริญเติบโตได้ดีแล้ว

                     ยังมีคุณสมบัติพิเศษ คือที่รากพืชจะมีปมรากมากมาย ซึ่งเป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ไรโซเบียมที่สามารถตรึง

                     ไนโตรเจนจากอากาศได้ เมื่อไถกลบลงไปในดินแล้วจะสามารถสลายตัวเป็นปุ๋ยค่อนข้างเร็ว คือหลังจากไถกลบ
                     แล้วประมาณ 2-4 สัปดาห์ก็สามารถปลูกพืชหลักได้ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2545) ตัวอย่างพืชตระกูลถั่วบางชนิด

                            ปอเทือง (Crotalaria  juncea) เป็นพืชฤดูเดียว ล าต้นตรงแตกกิ่งก้านสาขามาก สูงประมาณ 180-

                     300 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยวยาวรี ช่อดอกเป็นแบบราซีม ซึ่งอยู่ปลายกิ่งก้านสาขา ประกอบด้วย ดอกย่อย 8-20
                     ดอก ดอกสีเหลืองมีการผสมข้าม ฝักเป็นทรงกระบอกยาว 3-6 ซม. เมล็ดคล้ายรูปหัวใจสีน ้าตาลหรือสีด า

                     (กรมพัฒนาที่ดิน, ไม่ระบุปีพ.ศ.) ออกดอกเมื่ออายุ 45-50 วันขึ้นได้ดี ในพื้นที่ดอนมีการระบายน ้าดี ไม่ชอบน ้า

                     ท่วมขัง ปลูกโดยวิธีการหว่าน อัตราเมล็ดเฉลี่ย 5 กิโลกรัมต่อไร่ จะให้น ้าหนักสดและน ้าหนักแห้งเฉลี่ยอยู่ในช่วง
                     2,500-3,000 และ 500-840 กิโลกรัมต่อไร่ตามล าดับ  มีปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม

                     แคลเซียม แมกนีเซียมและซัลเฟอร์ เฉลี่ย 2.76,0.22,2.40,1.53,2.04 และ 0.96 % ตามล าดับ นิยมปลูกเป็น

                     ปุ๋ยพืชสดปรับปรุงบ ารุงดินโดยปลูกเป็นพืชหมุนเวียนหรือพืชแซมกับพืชหลัก (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551) จากการ
                     ทดลองของกอบเกียรติและคณะ(2534) พบว่า การไถกลบปอเทืองท าให้ผลผลิตมันส าปะหลังเฉลี่ย

                     2.13 ตันต่อไร่ สูงกว่าแปลงที่ไม่มีการปลูกพืชตระกูลถั่วโดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 1.88 ตันต่อไร่ และจากผลการ

                     ทดลอง พบว่าการไกลบปอเทืองในชุดดินวารินร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ท าให้ผล
                     ผลิตข้าวโพดและความหวานสูงกว่าการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8  อัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่ โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย

                     1,228 เป็น 1,268 กิโลกรัมต่อไร่ และ 11.87 เป็น 12.38 องศาบริกซ์ตามล าดับ และยังมีผลท าให้ระดับ

                     อินทรียวัตถุในดินเพิ่มจาก 0.70 เป็น 0.76 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณฟอสฟอรัส โพแทสเซียมและแคลเซียมเพิ่มจาก
                     6.8,4.7 และ210 เป็น 9.06,5.4 และ245 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมตามล าดับ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2549)

                            จุลินทรีย์ส าหรับพืชปรับปรุงดิน พด.11 เป็นจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการตรึงไนโตรเจนจาก

                     บรรยากาศ เพื่อเพิ่มมวลชีวภาพให้แก่พืชปรับปรุงดิน และมีจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการละลายฟอสฟอรัส
                     ในดินให้เป็นประโยชน์แก่พืช เพื่อการใช้ประโยชน์พืชปรับปรุงบ ารุงดินให้เกิดประสิทธิภาพ จุลินทรีย์จะเป็น

                     กลุ่มไรโซเบียม ที่สามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศ เป็นแบคทีเรียที่สามารถผลิตกรดอินทรีย์ เพื่อละลาย

                     สารประกอบอนินทรีย์ฟอสเฟตที่อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เช่น Burkhoderia sp.
                            วัสดุส าหรับขยายเชื้อจุลินทรีย์ส าหรับพืชปรับปรุงดิน พด.11

                                1. ปุ๋ยหมัก                            100   กิโลกรัม

                                2. ร าข้าว                             1      กิโลกรัม
                                3. จุลินทรีย์ส าหรับพืชปรับปรุงดิน พด.11   100   กรัม (1 ซอง)
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23