Page 11 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินทรายจัดต่อการผลิตข้าวโพดหวานในจังหวัดสงขลา Effect of bio-organic fertilizers on change for soil properties in sandy soils to increase sweet corn yield at Songkhla province.
P. 11
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
9
บริเวณผิวหน้าดินและเก็บสะสมธาตุอาหารได้มากขึ้น รักษาสมดุลของธาตุอาหารได้ดี มีปริมาณธาตุอาหารพืชที่
เพียงพอเพื่อให้ข้าวโพดหวานมีการเจริญเติบโตดีและให้ผลผลิตที่มีคุณภาพอยู่ในระดับที่สูงขึ้นเป็นที่ต้องการ
ของตลาดและสามารถปลูกพืชชนิดอื่นๆได้มากขึ้น ให้ต้นทุนการผลิตลดต ่าลงแต่ผลก าไรสูงขึ้น รวมถึงเป็นการ
เพิ่มการใช้ประโยชน์ของดินทรายจัดให้มากขึ้น
ดังนั้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพเพื่อให้ดินได้รับการบ ารุงอย่างสม ่าเสมอสามารถท าการเกษตรระยะยาว
ได้ตลอดจนการท าการเกษตรแบบยั่งยืนได้ ช่วยรักษาสภาพดินให้มีความอุดมสมบูรณ์อย่างสม ่าเสมอ สามารถ
เพิ่มหรือขยายพื้นที่ส าหรับการเพาะปลูกให้ท าการเกษตรได้และใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริมการปลูก
ข้าวโพดหวานให้เป็นพืชเศรษฐกิจและพืชเสริมรายได้ให้กับเกษตรกรเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของ
ผู้บริโภค ผลการศึกษาและวิธีการที่มีประสิทธิภาพได้ผลดีและมีประโยชน์ต่อเกษตรกรมากที่สุดจะน าไปแนะน า
ส่งเสริมและขยายผลสู่เกษตรกรในพื้นที่และพื้นที่อื่นๆเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการลดต้นทุนการผลิต ลดการ
ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. ศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินทรายจัดโดยการจัดการด้วยวิธี
ต่างๆ
2. ศึกษาสมดุลของธาตุอาหารพืชที่เปลี่ยนแปลงในดินทรายจัดก่อนและหลังการทดลอง
3. ศึกษาการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของข้าวโพดหวานในดินทรายจัด
4. ศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของข้าวโพดหวานทุกต ารับการทดลอง
การตรวจเอกสาร
ดินทรายจัดเกิดจากการทับถมของตะกอนดินทรายในพื้นที่ชายฝั่งหรือสันดอนทรายชายทะเลหรือการ
สลายตัวของหินอัคนีสีจาง เช่นหินแกรนิตหรือแร่ไรโอไลท์หรือการสลายตัวของหินตะกอนและหินแปรเนื้อ
หยาบ เช่นหินทราย หินควอซ์ทไซท์และการชะล้างอนุภาคดินเหนียวออกไปจากหน้าดินดินทรายจัดเป็นดินที่มี
เนื้อดินชั้นบนเป็นดินทรายหรือดินทรายร่วนเกิดขึ้นเป็นชั้นหนามากกว่า 50 เซนติเมตร กลุ่มชุดดินไม่อุ้มน ้า
ง่ายต่อการกัดกร่อน มีศักยภาพในการให้ผลผลิตต ่าเนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของดินคือ ดิน
ทรายจัดมีศักยภาพในการถูกชะล้างสูงเนื่องจากอนุภาคดินเกาะกันอย่างหลวมๆธาตุอาหารประจุบวกพวก
Ca,Mg,K ที่อยู่ในดินชั้นบนจะสูญเสียโดยการชะล้างลงสู่ชั้นล่างได้ง่ายท าให้เหลือไฮโดรเจนส่งผลให้ดินมีสภาพ
เป็นกรด ความเป็นกรดของดินทรายจัดจะเกิดขึ้นพร้อมกับการขาดความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปัญหาเกี่ยวกับ
ความสมบูรณ์ของดินคือ ดินทรายจัดจะมีความอุดมสมบูรณ์ของดินต ่า ปริมาณอินทรียวัตถุต ่ามาก ธาตุ
โพแทสเซียมและฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืชอยู่ในเกณฑ์ที่ต ่าหรือต ่ามาก ความสามารถในการแลกเปลี่ยน
ธาตุอาหาร (C.E.C) ต ่ามากท าให้การใช้ปุ๋ยเคมีมีผลตอบสนองต่อพืชต ่า และปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติทาง
กายภาพของดินไม่ดี คือ มีอินทรียวัตถุอยู่ในเนื้อดินน้อยมาก ความสามารถในการอุ้มน ้าต ่าและการเก็บรักษา
ความชื้นในดินไม่ดี เมื่อได้รับน ้าฝนหรือน ้าชลประทานในปริมาณที่เท่ากัน (บุรี, 2531) ลักษณะดินทรายจัดที่