Page 19 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินทรายจัดต่อการผลิตข้าวโพดหวานในจังหวัดสงขลา Effect of bio-organic fertilizers on change for soil properties in sandy soils to increase sweet corn yield at Songkhla province.
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                   17




                            วิธีการขยายเชื้อ
                                1. ผสมจุลินทรีย์ส าหรับพืชปรับปรุงบ ารุงดิน พด.11 และร าข้าวในน ้า 5 ลิตร คนให้เข้ากันนาน

                                   5 นาที

                                2. รดสารละลายจุลินทรีย์ส าหรับพืชปรับปรุงบ ารุงดิน พด.11 ลงบนกองปุ๋ยหมักและคลุกเคล้าให้
                                   เข้ากัน

                                3. กองปุ๋ยหมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้มีความสูง 50 ซม. และใช้วัสดุคลุมกองปุ๋ยเพื่อรักษา

                                   ความชื้นให้ได้ 70 เปอร์เซ็นต์
                                4. ตั้งกองปุ๋ยหมักให้อยู่ในที่ร่มเป็นเวลา 4 วัน

                            การใช้จุลินทรีย์ส าหรับพืชปรับปรุงบ ารุงดิน พด.11 สามารถเพิ่มปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน

                     เป็นแหล่งธาตุอาหารไนโตรเจนทดแทนปุ๋ยเคมี ในระบบเกษตรอินทรีย์ เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัส
                     เพิ่มมวลชีวภาพของพืชปรับปรุงบ ารุงดินเพิ่มอินทรียวัตถุ และความอุดมสมบูรณ์ของดิน ช่วยในการปรับ

                     โครงสร้างทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น ท าให้ดินร่วนซุย มีการระบายน ้า อากาศ และอุ้มน ้าดีขึ้น ช่วยท าให้การ

                     ปลูกพืชหลักตามมาได้รับผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551)
                            แบคทีเรียไรโซเบียม (Rhizobium  spp.) เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในดิน มีความสามารถ

                     พิเศษในการเข้าสร้างปมรากพืชตระกูลถั่วได้ ตัวไรโซเบียมมีขนาดเล็กมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นมีรูปร่างเป็นแท่ง

                     ยาว เมื่อเจริญเติบโตในอาหารเลี้ยงเชื้อ แต่จะเปลี่ยนรูปไปบ้างเมื่ออาศัยอยู่ในปมรากพืชตระกูลถั่วได้ เซลของ
                     ไรโซเบียมมีลักษณะเป็นแท่ง ติดสีแกรมลบ เคลื่อนไหวได้ด้วย flagella  ไม่สร้างสปอร์และต้องการออกซิเจน

                     ในการเจริญเติบโต และสร้างกิจกรรมการตรึงไนโตรเจน อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไรโซเบียม

                     อยู่ระหว่าง 28-30 องศาเซลเซียส ความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมต่อการเจริญของไรโซเบียมอยู่ระหว่าง
                     6.5-7.5 แต่การตรึงไนโตรเจนได้ดีในช่วง 5-8 ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และพืชอาศัย ไรโซเบียมสามารถอาศัยในดิน

                     แบบอิสระไม่ต้องมีพืชตระกูลถั่วก็ได้ โดยใช้อินทรียวัตถุในดินเป็นอาหาร ส าหรับไรโซเบียมจะเข้าสู่เซลล์พืชใน

                     ส่วนของ cortex เมื่อพบรากพืชที่เหมาะสมแล้วจะเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว โดยการสร้าง infactionthread
                     แทรกเข้าไปในเซลล์รากพืชแบ่งตัวและเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็วในผนังหุ้มเซลล์ ในขณะเดียวกันเซลล์พืช

                     จะได้รับการกระตุ้นให้เกิดการแบ่งตัวในเนื้อเยื่อชั้นใน เพื่อรับไรโซเบียมเกิดเป็นปมและมีรูปร่างเปลี่ยนไปจาก

                     เดิม เรียกว่า bacteroid เริ่มเอนไซม์ไนโตร-จีเนส ที่มีความส าคัญต่อการตรึงไนโตรเจน (สมศักดิ์, 2541)
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24