Page 10 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินทรายจัดต่อการผลิตข้าวโพดหวานในจังหวัดสงขลา Effect of bio-organic fertilizers on change for soil properties in sandy soils to increase sweet corn yield at Songkhla province.
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                   8




                                                          หลักการและเหตุผล
                            ปุ๋ยเป็นปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่ส าคัญชนิดหนึ่งในการผลิตพืช จัดเป็นสารประกอบที่ให้ธาตุ

                     อาหารพืช ซึ่งพืชน าไปใช้ประโยชน์เพื่อการเจริญเติบโต ต้นสมบูรณ์ดีแข็งแรง ต้านทานโรคและแมลง มีผลผลิต

                     สูงและมีคุณภาพดีตามที่ต้องการ โดยทั่วไปมี 2 ชนิดได้แก่ ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น พบว่าในการเกษตร
                     ทั่วไปเกษตรกรมักใช้ปัจจัยการผลิตที่เป็นสารประกอบทางเคมี เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีป้องกันก าจัดศัตรูพืชและ

                     สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชกันมากเมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยอินทรีย์ เนื่องจากปุ๋ยเคมี มีการตอบสนองต่อ

                     การเจริญเติบโตของพืชเร็ว มีธาตุอาหารสูง ใช้สะดวก แต่ปุ๋ยเคมีไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงดิน ปุ๋ยที่มี
                     ส่วนประกอบของแอมโมเนียมจะท าให้ดินเป็นกรด และปุ๋ยเคมีจะมีความเค็ม (ทัศนีย์, 2550) ปัจจุบันปุ๋ยเคมีที่

                     จ าหน่ายตามท้องตลาดมีราคาที่เพิ่มสูงขึ้นมาก ตลอดจนราคาผลผลิตทางการเกษตรมีราคาตกต ่า ท าให้เกิด

                     สภาวะต้นทุนการผลิตสูงแต่ผลก าไรต ่า ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไม่ดีตามไปด้วย ปุ๋ยอินทรีย์จึงเป็น
                     ทางออกที่ดีส าหรับเกษตรกรในยุคนี้เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์เป็นปุ๋ยที่ได้จากหมักสารอินทรีย์ ของเสีย เศษเหลือใช้

                     ทางการเกษตร เช่น มูลวัว มูลไก่ มูลค้างคาว เป็นต้น ปุ๋ยอินทรีย์จะมีพวกอินทรียวัตถุอยู่มากจึงช่วยปรับปรุง

                     สมบัติของดิน เช่นท าให้ดินร่วนซุย ท าให้ช่องว่างระหว่างเม็ดดินเล็กลง ระบายน ้าถ่ายเทอากาศดี ช่วยอุ้มน ้าดี
                     ขึ้น ช่วยเก็บและปลดปล่อยธาตุอาหารพืชให้เป็นประโยชน์กับพืช ลดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน เป็นต้น

                     (กรมวิชาการเกษตร, 2551)

                            ข้าวโพดหวานจัดอยู่ในกลุ่มของพืชเร่งด่วน 32 ชนิดและยังเป็นพืชไร่ที่มีอนาคตไกลในตลาดโลก
                     โดยเฉพาะ ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานแปรรูป ประเทศไทยเป็นแหล่งเพาะปลูกและผลิตข้าวโพดหวานรายใหญ่

                     เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้ผลิต

                     รายใหญ่ปรับเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกพืชอาหารไปปลูกพืชพลังงานทดแทนมากขึ้นจึงเป็นโอกาสให้อุตสาหกรรม
                     ข้าวโพดหวานแปรรูปของไทยเติบโตเร็ว โดยปริมาณผลผลิตข้าวโพดหวานของไทยร้อยละ 80-90 จะถูกส่งออก

                     ไปจ าหน่ายยังตลาดต่างประเทศใน 2 ลักษณะ คือ ข้าวโพดหวานแช่เย็นแช่แข็ง และข้าวโพดหวานปรุงแต่ง/

                     แปรรูป โดยตลาดส่งออกข้าวโพดหวานแปรรูปเกือบร้อยละ 80  อยู่ที่ญี่ปุ่น แม้ในปี 2552 ที่ภาวะเศรษฐกิจทั่ว
                     โลกเกิดปัญหาแต่ปริมาณและมูลค่าการส่งออกของไทยยังสามารถเจริญเติบโตร้อยละ 4.9 (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย,

                     2548)  การขยายหรือเพิ่มพื้นที่ในพื้นที่ที่ไม่สามารถท าการเกษตรได้หรือพื้นที่ที่เป็นปัญหาให้กลับมาท า

                     การเกษตรได้ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคและการส่งออก โดยเน้นที่การใช้ปุ๋ยอินทรีย์
                     เนื่องจากปัจจัยการผลิตที่ส าคัญอย่างปุ๋ยเคมีมีราคาที่สูงขึ้นส่งผลต่อต้นทุนการผลิตของเกษตรกรให้สูงตามไป

                     ด้วย หากเกษตรกรยังคงใช้ปุ๋ยเคมีอย่างต่อเนื่องก็จะประสบปัญหาด้านต้นทุนการผลิต และการขาดการ

                     ปรับปรุงบ ารุงดินจะท าให้ดินสูญเสียศักยภาพในการผลิต เช่นการเกิดสภาพดินกรดหรือการตกค้างของความ
                     เป็นกรดของปุ๋ยเคมี (มุกดา, 2545)

                            เป้าหมายการจัดท าโครงการวิจัยฯ มุ่งหวังให้เกษตรกรได้ตระหนักถึงความส าคัญ และประโยชน์ของ

                     ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ เน้นการท าการเกษตรแบบลดการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี และหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในการ
                     ผลิตพืชกันมากขึ้น ซึ่งปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพมีบทบาทส าคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินทรายจัด ช่วยให้ดินมี

                     ความเหมาะสมต่อการปลูก โครงสร้างดินอุ้มน ้า เก็บรักษาความชื้นในดินดีขึ้น ลดการชะละลายธาตุอาหารพืช
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15