Page 16 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินทรายจัดต่อการผลิตข้าวโพดหวานในจังหวัดสงขลา Effect of bio-organic fertilizers on change for soil properties in sandy soils to increase sweet corn yield at Songkhla province.
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                   14




                     โดยตรงแล้วถ่ายทอดต่อไปยังรากพืช ซึ่งจะช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้อย่างน้อย 25 เปอร์เซ็นต์ (กรมพัฒนา
                     ที่ดิน, 2551) นอกจากนี้เชื้อราไมโคไรซ่ายังช่วยป้องกันไม่ให้ธาตุฟอสฟอรัสที่ละลายออกมาถูกตรึงโดยปฏิกิริยา

                     ทางเคมีของดินด้วย เพราะเชื้อรานี้จะช่วยดูดซับเก็บไว้ในโครงสร้างพิเศษที่เรียกว่า อาบัสกูลและเวสิเคิลที่อยู่ใน

                     เซลล์พืช (มุกดา ,2545) จุลินทรีย์ที่ละลายสารประกอบฟอสเฟต โดยทั่วไปประเทศไทยมีปริมาณฟอสเฟตที่ละ
                     ลายออกมาได้น้อยจุลินทรีย์กลุ่มนี้สามารถเพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสจากหินฟอสเฟตให้เป็น

                     ประโยชน์ได้ เช่น Bacillus sp.,pseudomonas sp.,Aspergillus sp.เป็นต้น (กรมวิชาการเกษตร, 2548) และ

                     การที่จะให้หินฟอสเฟตละลายได้ดีจะต้องท าให้เกิดสภาพกรด ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะผลิตกรดออกมาละลาย
                     ฟอสฟอรัสให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ (มุกดา, 2545)

                            จุลินทรีย์ที่ให้ธาตุโพแทสเซียมเป็นจุลินทรีย์ที่ปลดปล่อยกรดอินทรีย์ เช่น กรดแลคติค,กรดซิตริค,

                     กรดออกซาลิค เป็นต้น หรือกรดอนินทรีย์ เช่น กรดคาร์บอนิค,กรดไนตริค และกรดซัลฟูริค  เป็นต้น
                     ช่วยละลายแร่และวัตถุต้นก าเนิดดินที่มีโพแทสเซียมเป็นองค์ประกอบ จุลินทรีย์ที่สามารถปลดปล่อยกรด

                     ออกมาละลายแร่อะลูมิโนซิลิเกต เช่น Bacillus sp. Pseudomonas sp.,Aspergillus sp และPenicilium sp.

                     โดยละลายได้จากแร่ในกลุ่มไมก้าและกลุ่มเฟลด์สปาร์ ให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้ (กรม
                     พัฒนาที่ดิน,2551) หรือการที่จะท าให้โพแทสเซียมอยู่ในลักษณะที่น าไปใช้ได้มี 3 วิธี คือ การสลายทาง

                     กายภาพ ทางเคมีและทางอินทรีย์ ซึ่งท าได้โดยการใช้จุลินทรีย์พวกแบคทีเรียเข้าช่วยย่อยสลาย จะท าให้พืช

                     สามารถน าโพแทสเซียมไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ท าให้พืชไร่ พืชสวนและไม้ผลมีคุณภาพผลผลิตที่ดี
                     ขึ้น (มุกดา, 2545)

                            จุลินทรีย์ที่ให้ธาตุอื่นๆ เช่น ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม ได้แก่ เหล็ก,สังกะสี ซึ่งจะมีอยู่ในดิน

                     ในสภาพที่พืชน าไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ การใช้จุลินทรีย์เข้าช่วยย่อยสลายสามารถท าให้ได้ธาตุอาหารที่มีในดิน
                     เหล่านี้มาเป็นประโยชน์แก่พืชได้เพิ่มขึ้น จุลินทรีย์พวก Silicate bacteria สามารถช่วยให้พืชน าซิลิเกตไปใช้ได้

                     แร่ธาตุที่มีอยู่ในดินจะสามารถถูกท าลายโดยกรดที่เกิดจากการหมักของจุลินทรีย์ได้ (มุกดา, 2545)

                            จุลินทรีย์ที่สร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตหรือฮอร์โมนพืช คือ จุลินทรีย์ Azotobacter
                     sp.,Azospirillun sp.และ Bacillus sp.ฮอร์โมนที่สร้าง ได้แก่ ออกซิน,จิบเบอเรลลินและไซโตไคนิน

                     ช่วยกระตุ้นการเจริญของรากขนอ่อนและช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวรากท าให้ความสามารถในการดูดน ้าธาตุอาหารเพิ่ม

                     มากขึ้น
                            วัสดุขยายเชื้อปุ๋ยชีวภาพ พด.12 (วัสดุส าหรับการขยายเชื้อ)

                                1. ปุ๋ยหมัก              300   กิโลกรัม

                                2. ร าข้าว               3      กิโลกรัม
                                3. ปุ๋ยชีวภาพ พด.12      100   กรัม (1 ซอง)

                            วิธีการขยายเชื้อ

                                1. ผสมปุ๋ยชีวภาพ พด.12 และร าข้าว น ้า 1 ปี๊บ (20 ลิตร) คนให้เข้ากันนาน 5 นาที
                                2. รดสารละลายปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ลงบนกองปุ๋ยหมักและคลุกเคล้าให้เข้ากันปรับความชื้นให้ได้

                                   70%
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21