Page 12 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินทรายจัดต่อการผลิตข้าวโพดหวานในจังหวัดสงขลา Effect of bio-organic fertilizers on change for soil properties in sandy soils to increase sweet corn yield at Songkhla province.
P. 12
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
10
พบในประเทศไทยมี 2 ลักษณะคือ ดินทรายจัดที่ไม่มีชั้นดานอินทรีย์ เนื้อดินจะเป็นทรายปะปนอยู่ตั้งแต่ผิวดิน
ลงไปจนถึงความลึกมากกว่า 1 เมตร ซึ่งมีแร่ควอซ์ทเป็นส่วนประกอบส าคัญ เนื้อดินค่อนข้างหยาบมีสภาพเป็น
กรดค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.0-6.0 มีปริมาณธาตุอาหารต ่า ความสามารถในการดูดธาตุและมี
อินทรียวัตถุต ่ามากโดยเฉลี่ยน้อยกว่า 1% (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2542) เนื้อดินมีความโปร่งตัว น ้า
ไหลซึมผ่านลงไปในดินล่างได้สะดวก ไม่สามารถอุ้มน ้าหรือเก็บความชื้นในดินได้ ท าให้ความชื้นไม่เพียงพอต่อ
การเจริญเติบโตของพืชเป็นดินที่พบในสภาพภูมิประเทศที่เป็นหาดทรายหรือสันทรายชายฝั่งทะเลในภาคใต้
และภาคตะวันออกและพบบนที่ดอนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและดินทรายจัดที่มีชั้นดานอินทรีย์ส่วนใหญ่
พบในภาคใต้และภาคตะวันออกในสภาพพื้นที่ที่เป็นสันทรายเก่าชายฝั่งทะเลและบ้างเล็กน้อยในภาคตะวันออก
เฉียงโดยเกิดจากสารฮิวมัส มีธาตุเหล็กและอะลูมินั่มซึ่งถูกชะล้างจากดินบนเจือปนสะสมอยู่ในชั้นระดับน ้าใต้
ดินและมีปริมาณมากจนสามารถเชื่อมเม็ดทรายให้เกาะติดกันจนกลายเป็นชั้นดานแข็ง (สุรพล, 2530) หรือเกิด
จากอินทรียวัตถุไปจับตัวกับธาตุเหล็กและอะลูมินั่มโดยมีกรดเป็นตัวดูดซับท าให้เกิดตะกอนของสารประกอบ
ออร์กาโนเมทัลลิค ตะกอนที่เกิดขึ้นจะเพิ่มและสะสมมากขึ้นจับตัวกันเป็นชั้นดานแข็งโดยระดับน ้าใต้ดินมีผลใน
การตกตะกอนและควบคุมต าแหน่งของชั้นดานแข็งถ้าระดับน ้าใต้ดินตื้นจะท าให้ชั้นดานแข็งเกิดที่ตื้นซึ่งมีผลต่อ
การเจริญเติบโตและการชอนไชของรากพืช ดินทรายจัดที่ไม่มีชั้นดานอินทรีย์จะเป็นอุปสรรคต่อการ
เจริญเติบโตของพืชมีลักษณะทางกายภาพไม่เหมาะต่อการปลูกพืช บางแห่งมีการจับเป็นชั้นดานแข็งขึ้นมีความ
อุดมสมบูรณ์ต ่า ความสามารถในการอุ้มน ้าต ่าและเก็บน ้าไว้ไม่อยู่ง่ายต่อการขาดความชื้นในดิน บริเวณที่มีเนื้อ
ทรายละเอียดจะเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตและชอนไชของรากพืชและเมื่อฝนตกจะเกิดน ้าไหลบ่าไปบน
ผิวดิน ชะล้างเอาหน้าดินและธาตุอาหารไปด้วย (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2542) ส่วนดินทรายจัดที่มีชั้น
ดานอินทรีย์ดินช่วงบนเป็นทรายสีขาวซีดจนเกือบเป็นทรายขาวซึ่งชั้นนี้เป็นทรายล้วนๆไม่มีสิ่งที่พืชจะน าไปใช้
ประโยชน์ได้เลยเป็นชั้นที่ขาดธาตุอาหารพืชอย่างรุนแรงประกอบกันชั้นดานที่แข็งมากรากพืชไม่สามารถจะ
ชอนไชได้ (สุรพล, 2530) ในฤดูแล้งจะขาดน ้าและในฤดูฝนน ้ามักจะแช่ขังเนื่องจากน ้าซึมผ่านชั้นดานอินทรีย์ได้
ช้าและมีน ้าใต้ดินอยู่ค่อนข้างตื้นท าให้พืชที่ปลูกโดยเฉพาะไม้ยืนต้นไม่ค่อยเจริญเติบโต (คณะอนุกรรมการฯ,
2532) การจัดการดินทรายให้มีประสิทธิภาพมีหลายวิธีเช่น การปลูกพืชปุ๋ยสด การปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืช
ตามแนวระดับ การใช้ปุ๋ย การใช้ระบบพืชอนุรักษ์ดิน การใช้วัสดุคลุมดิน การไถพรวนน้อยที่สุดและการสร้าง
คันดินเป็นต้น (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2542)
กลุ่มชุดดินที่ 43 เป็นดินลึก ลักษณะเนื้อดินตลอดหน้าตัดดินเป็นดินทรายถึงดินทรายปนดินร่วน บาง
แห่งมีเปลือกหอยอยู่ในเนื้อดิน ดินมีสีเทา สีน ้าตาลอ่อนหรือสีเหลือง พบบริเวณหาดทรายหรือสันทราย
ชายทะเลบางแห่งพบที่ลาดเชิงเขาซึ่งมีหินพื้นเป็นหินเนื้อหยาบ ปฏิกิริยาดินเป็นด่างปานกลางถึงกรดจัด (pH
5.5-8.0) ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต ่า ดินมีการระบายน ้าดีมากเกินไป
ช ุ ด ด ิ น บ า เ จ า ะ ( Bacha series : Bc) จัด อยู่ ใน isohyperthermic coated Typic
Quartzipsamments เกิดจากสันหาดเก่าซึ่งอยู่ขนานกับสันหาดปัจจุบัน อาจเป็นสันเดียวหรือหลายสันขนาน
กันไปก็ได้ สภาพที่ที่พบมีลักษณะเป็นที่ค่อนข้างราบเรียบหรือลูกคลื่นลอนลาดมีความลาดชัน 1.3 %ชุดดินนี้
เป็นดินลึกมาก มีการระบายน ้าค่อนข้างมาก ดินมีความสามารถให้น ้าซึมผ่านได้เร็ว มีการไหลบ่าของน ้าบนผิว