Page 9 - การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวปทุมธานี 1 ในดินเหนียว จ.สุพรรณบุรี Study efficiency of biofertilizer for rice cultivation on growth and rice yield in clayer soil in Suphanburi province.
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                   แบบประณีตมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดกว่าระบบดั้งเดิม และสามารถยืนยันการคงอยู่ของเชื้อทั้งสอง

                   ชนิดด้วยวิธี fluorescent antibody (FA) และระบบการปลูกข้าวแบบประณีตเอื้ออ านวยให้เชื้อทั้ง 2 ชนิด มี
                   ประสิทธิภาพการตรึงไนโตรเจนสูงกว่าระบบดั้งเดิมอย่างมีนัยส าคัญ เมื่อท าการวัดการเจริญเติบโตของข้าว
                   พบว่า น้ าหนักแห้งต้น ความสูงต้น ความยาวราก ปริมาตรราก และน้ าหนักแห้งรากเฉลี่ย ทุกระยะการ
                   เจริญเติบโตไม่แตกต่างกัน ระหว่างการใส่เชื้อ และไม่ใส่เชื้อ แต่ระบบการปลูกข้าวแบบประณีตให้ผลสูงกว่าใน
                   ระบบดั้งเดิม การวัดองค์ประกอบผลผลิต พบว่า การใส่เชื้อท าให้องค์ประกอบผลผลิต สูงกว่าการไม่ใส่เชื้อใน

                   ระบบการปลูกข้าวแบบประณีต ส่วนในระบบดั้งเดิมไม่แตกต่างกันทั้ง 2 การทดลอง ส่วนผลผลิต พบว่าใน
                   ระดับกระถางโดยทั่วไประบบการปลูกข้าวแบบประณีตสูงกว่าในระบบดั้งเดิม และในระบบการปลูกข้าวแบบ
                   ประณีตการใส่เชื้อมีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงกว่า การไม่ใส่ เชื้อเล็กน้อย แต่ในระบบดั้งเดิมการใส่เชื้อท าให้

                   ผลผลิตแตกต่างจากการไม่ใส่เชื้อ ส่วนในระดับแปลงทดลอง พบว่า ระบบการปลูกข้าวแบบประณีตให้ผลผลิต
                   สูงกว่าระบบดั้งเดิม โดยการใส่เชื้อ Az. largimobile ร่วมกับ A. vinelandii ให้ผลผลิตสูงที่สุดส่วนการ
                   ปลูกข้าวในระบบดั้งเดิมการใส่เชื้อ Az. largimobile เพียงอย่างเดียวให้ผลผลิตสูงที่สุด
                          อังคณา  และคณะ (2561) เตรียมกรด 5  อะมิโนลีวูลินิกจากน้ าเลี้ยงเซลล์แบคทีเรียสังเคราะห์แสง

                   Rhodopseudomonas  palustris  JP255  น าไปจับกับไคโตซานชนิดที่มีน้ าหนักโมเลกุลต่างภายใต้สภาวะ
                   คลื่นความถี่สูง จากนั้นน ามาท าให้เป็นผงด้วยวิธีฟรีซดรายน์ เมื่อวัดขนาดอนุภาคด้วยเครื่อง scanning
                   electron microscope พบว่าได้สารอนุภาคขนาด 50 นาโนเมตร น าไปใช้เป็นสารเร่งการเจริญเติบโตและ
                   เพิ่มผลผลิตของข้าวพันธุ์หอมนิล (Oryza sativa L.) ที่ปลูกในกระถางพลาสติก โดยวางแผนการทดลองแบบ

                   สุ่มสมบูรณ์ (randomized complete block design: RCBD) ประกอบด้วย 10 ชุดการทดลอง คือ ALA ผง
                   (ที่ความเข้มข้น 1 5 และ 10 ไมโครโมลาร์) ALA-nano (ที่ความเข้มข้น 1 5 และ 10 ไมโครโมลาร์) และไคโต
                   ซาน (ที่ระดับความเข้มข้นเดียวกับที่ใช้ใน ALA-nano) ฉีดพ่นต้นข้าวที่ 15  และ 30  วัน หลังย้ายต้นกล้าลง
                   กระถาง จากผลการทดลองพบว่าการใช้ ALA-nano  (ที่ความเข้มข้น 1  ไมโครโมลาร์) มีแนวโน้มในการเพิ่มการ

                   เจริญโตด้านความสูงของต้นข้าวจากโคนถึงปลายใบ และจ านวนการแตกกอ (แขนง) ต่อต้นของต้นข้าวดีที่สุด
                   เพิ่มผลผลิตด้านจ านวนรวงต่อกอ ความยาวรวงหลัก จ านวนเมล็ดต่อรวง จ านวนเมล็ดดีต่อรวง และจ านวน
                   เมล็ดลีบต่อรวง น้ าหนักเมล็ดข้าวเปลือก 100 เมล็ด สูงกว่าทุกชุดการทดลองอย่างมีนัยส าคัญ ดังนั้นการใช้

                   สารชีวภัณฑ์ ALA-nano  จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งส าหรับเกษตรกรที่จะน ามาใช้เพิ่มเจริญเติบโตและเพิ่ม
                   ผลผลิต ทั้งยังมีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
                          Gosal et al. (2012) ศึกษาผลของการใช้เชื้อ Azotobacter ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตอ้อยใน
                   อินเดีย โดยการน าเชื้อ Azotobacter chroococcum คลุกผสมกับผงถ่าน (activated charcoal) เพื่อให้อยู่
                   ในรูปของปุ๋ยชีวภาพส าหรับการใช้งาน และน าไปใช้ร่วมกับการปลูกอ้อยที่มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสองระดับ คือ

                   75 และ 100 เปอร์เซ็นต์ พบว่าอ้อยที่ปลูกโดยมีเชื้อ Azotobacter ช่วยเพิ่มปริมาณผลได้ของอ้อย นั่นคือ ค่า
                   commercial  cane  sugar  percent  (CCS%) ของอ้อยในแปลงทดลองสูงกว่าชุดการทดลองควบคุมที่ไม่มี
                   การเติมเชื้อดังกล่าว

                          Jan et al. (2009) ศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยชีวภาพจาก Azotobacter ร่วมกับ Mycorrhizae และการใช้
                   ปุ๋ยยูเรียต่อการเจริญของถั่วฟาบา (faba beans) พบว่าพืชที่ได้รับปุ๋ยชีวภาพมีปริมาณคลอโรฟีลและคาร์โรทีนสูง
                   กว่าพืชที่ได้รับปุ๋ยยูเรีย ทั้งนี้พืชที่ได้รับปุ๋ยชีวภาพยังมีปริมาณไนเตรทและกิจกรรมของเอนไซม์ไนเตรทรีดัก
                   เทส (nitrate  reductase  activity) สูงกว่าชุดควบคุม ในขณะที่พืชกลุ่มที่ได้รับปุ๋ยยูเรียมีปริมาณโพรลีน

                   มากกว่ากลุ่มที่ได้รับปุ๋ยชีวภาพ นอกจากนี้พบว่าในพืชกลุ่มที่ได้รับปุ๋ยชีวภาพมีปริมาณโปรตีนสูงกว่าพืชที่
                   ได้รับปุ๋ยยูเรีย
                          Khan  et  al. (2010) ศึกษาผลของแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ
                   Brassica Juncea ซึ่งเป็นพืชน้ ามันของอินเดีย โดยการแช่เมล็ดพืชในน้ าที่มีการเติมเชื้อ Azotobacter และ
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14