Page 7 - การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวปทุมธานี 1 ในดินเหนียว จ.สุพรรณบุรี Study efficiency of biofertilizer for rice cultivation on growth and rice yield in clayer soil in Suphanburi province.
P. 7

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                   (~3,000 - 2,800  cm-1 ) กลุ่มไขมันชนิด C=O  ester (~1,740  cm-1 ) และกลุ่ม amide  I  (~1,700 -

                   1,600 cm-1 ) กลุ่มคาร์โบไฮเดรตชนิด C-H bonding, C-O stretching และ polysaccharide (~1,450 -
                   1350  cm-1 ,  ~1,246  cm-1 และ ~1,200 - 900  cm-1 ) เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสารเหล่านี้มีส าคัญในการส่ง
                   สัญญาณการท างานของเอนไซม์ ทั้งยังช่วยให้ผนังเซลล์พืชมีความแข็งแรงเพื่อปกป้องตนเองให้ต้านทานจาก
                   การเข้าท าลายของเชื้อสาเหตุโรคพืช จากผลการศึกษาครั้งแสดงให้เห็นว่าการใช้เชื้อไอโซเลต CaSUT007
                   สามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และกระตุ้นให้มันส าปะหลังต้านทานโรคใบไหม้ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

                   Xaxonopodis pv. manihotis ได้
                          พรรณลดา (2559) ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาปุ๋ยชีวภาพจากการใช้เชื้อ Brevibacillus  sp. SUT47
                   ร่วมกับไมคอร์ไรซ่า ช่วยส่งเสริมการเข้าสู่พืชและเพิ่มจ านวนสปอร์ของไมคอร์ไรซ่าที่น ามาทดสอบทั้ง 2 ชนิด

                   คือ Claroideoglomus etunicatum และ Acaulospora tuberculata ได้นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยอื่น ๆ
                   เช่น ธาตุฟอสฟอรัส และฮอร์โมนในกลุ่มออกซิน (indole acetic acid, IAA) เป็นอีกปัจจัยที่ส่งเสริมการเข้าสู่
                   รากพืช และการเพิ่มจ านวนสปอร์ของเชื้อราไมคอร์ไรซ่าได้ จ านวนสปอร์ที่เพิ่มขึ้นนั้นน้อยกว่าจ านวนสปอร์ที่
                   เพิ่มขึ้นโดยใช้วิธีการปลูกเชื้อร่วมกับ SUT47 ผลการวิเคราะห์โปรตีนของข้าวโพดที่แสดงออกในช่วงที่มี

                   ปฏิสัมพันธ์กับไมคอร์ไรซ่า และเชื้อจุลินทรีย์ SUT47 ด้วยเทคนิค 2D-gel  electrophoresis  พบโปรตีนใน
                   กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับกลไกการป้องกันตัวของพืช และระบบภูมิคุมิกันภายในพืช โดยเฉพาะในกลุ่มของ
                   reactive  oxygen specie  (ROS) โดยพบว่าเชื้อแบคทีเรีย SUT47 ช่วยลดการท างานของกลไกการป้องกัน
                   และระบบภูมิคุ้มกันภายในพืชได้ โดยการกระตุ้นการท างานของเอนไซม์ในกลุ่ม ROS-Scavenging  ในพืช

                   ส่งผลในการยับยั้งกลไกการป้องกัน และระบบภูมิคุ้มกันภายในพืชลดลง และท าให้เชื้อราไมคอร์ไรซ่าเข้าสู่พืช
                   ได้มากขึ้น และสร้างสปอร์ได้มากขึ้น สามารถน ามาประยุกต์ใช้ในการผลิตหัวเชื้อไมคอร์ไรซ่าที่มีประสิทธิภาพ
                   และมีต้นทุนในการผลิตต่ าได้
                          ภารุจีร์ (2556) ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเพิ่มปริมาณการผลิตหัวเชื้อปุ๋ยชีวภาพจาก

                   Azotobacter vinelandii TISTR 1094 ซึ่งเป็นเชื้อที่มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนในรากพืช รวมถึง
                   ลดต้นทุนการผลิตโดยใช้กากน้ าตาลผลพลอยได้จากโรงงานน้ าตาลเป็นวัตถุดิบ พบว่าเจริญได้สูงสุดที่ความ
                   เข้มข้นกากน้ าตาล 4 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ าหนักต่อปริมาตร อัตราการกวน 150 รอบต่อนาที อัตราการให้อากาศ
                                                                                                            9
                   2 vvm และควบคุมค่าความเป็นกรดด่างที่ 7.0 โดยที่สภาวะดังกล่าวสามารถผลิตเชื้อได้ปริมาณ 7.50 x 10
                   จ านวนโคโลนีต่อมิลลิลิตร ที่เวลา 24 ชั่วโมง เมื่อน าหัวเชื้อที่ผลิตได้ไปทดสอบกับการปลูกอ้อยในระดับ
                   ปฏิบัติการโดยเปรียบเทียบระหว่างวิธีการเตรียมท่อนอ้อย ดินที่ปลูก และการรดปุ๋ยน้ าชีวภาพ พบว่า การ
                   ทดลองที่ 12 (ท่อนอ้อยแช่ปุ๋ย-ดินวันดี+กากหม้อกรอง-รดปุ๋ย) ต้นอ้อยมีความสูงเฉลี่ยมากที่สุด 136.35
                   เซนติเมตร ในขณะที่การทดลองที่ 1 (ท่อนอ้อยไม่แช่-ดินวันดี-รดน้ า) ความสูงของอ้อยเฉลี่ยต่ าสุด 74.80

                   เซนติเมตร หลังจากการทดลองปลูกอ้อยเป็นเวลา 3 เดือน น ารากอ้อยทดสอบ และดินบริเวณใกล้ราก ไป
                   ศึกษาประสิทธิภาพการตรึงไนโตรเจนของเชื้อ A. vinelandii  TISTR  1094 พบว่า รากอ้อยจากการทดลองที่
                   10 (ท่อนอ้อยแช่น้ า-ดินวันดี+กากหม้อกรอง-รดปุ๋ย) แสดงค่ากิจกรรมเอนไซม์ไนโตรจีเนสสูงสุด 37.70 มิลลิ

                   โมลเอทธิลีนต่อกรัมต่อชั่วโมง ในขณะที่รากอ้อยจากการทดลองที่ 7 (ท่อนอ้อยไม่แช่-ดินวันดี+กากหม้อกรอง-
                   รดน้ า) มีค่ากิจกรรมเอนไซม์ไนโตรจีเนสต่ าสุด (14.86 มิลลิโมลเอทธิลีนต่อกรัมต่อชั่วโมง) นอกจากนี้ยังพบว่า
                   รากอ้อยและดินที่รดด้วยปุ๋ยน้ าชีวภาพมีค่ากิจกรรมเอนไซม์ไนโตรจีเนสสูงกว่าตัวอย่างที่รดด้วยน้ าธรรมดา ซึ่ง
                   แสดงให้เห็นว่าเชื้อ A. vinelandii TISTR 1094 ในปุ๋ยน้ าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตรึงไนโตรเจนบริเวณราก

                   อ้อย และส่งเสริมการเจริญเติบโตของอ้อย ดังนั้นการประยุกต์ใช้ปุ๋ยชีวภาพในการเพาะปลูกจึงเป็นอีก
                   ทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ ทั้งยังช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีและเป็นการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรอีก
                   ทางหนึ่งด้วย
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12