Page 12 - การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวปทุมธานี 1 ในดินเหนียว จ.สุพรรณบุรี Study efficiency of biofertilizer for rice cultivation on growth and rice yield in clayer soil in Suphanburi province.
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                          4.  แบ่งตามอายุการเก็บเกี่ยว ได้แก่

                            4.1  ข้าวเบา (early variety) เป็นพวกที่มีอายุสั้น เก็บเกี่ยวได้เร็ว เช่น ถ้าปลูกตามปกติสามารถ
                   เก็บเกี่ยวได้ในเดือนกันยายน-ตุลาคม อายุเก็บเกี่ยวต่ ากว่า 120 วัน
                            4.2  ข้าวกลาง (medium  variety) เป็นพวกที่มีอายุยาวขึ้นกว่าพันธุ์เบา สามารถเก็บเกี่ยวก่อน
                   สิ้นเดือนธันวาคม มีอายุเก็บเกี่ยว 120 - 140 วัน
                            4.3  ข้าวพันธุ์หนัก (late  variety) เป็นพวกที่สามารถเก็บเกี่ยวได้หลังเดือนธันวาคม มีอายุเก็บ

                   เกี่ยวมากกว่า 140 วัน
                   ระยะการเจริญเติบโตของข้าว
                          การเจริญเติบโตของข้าวพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นับจากการงอกของกล้าจากเมล็ดไปถึงระยะเก็บ

                   เกี่ยว การเจริญเติบโตแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ
                          1.  ระยะกล้า (seedling stage) นับจากงอกจากเมล็ดจนกระทั่งข้าวเริ่มแตกกอ ซึ่งกินเวลาประมาณ
                   20 วัน ข้าวมี 5 - 6 ใบ
                          2.  ระยะแตกกอ (tillering stage) เริ่มจากข้าวแตกกอจนกระทั่งต้นข้าวเริ่มสร้างดอกอ่อนซึ่งต่อจาก

                   ระยะกล้าไปอีก 30 - 50 วัน ถ้าเป็นข้าวพันธุ์ไวแสง ช่วงนี้จะยาวออก โดยรอวันที่มีช่วงสั้นลงจนถึงช่วงวิกฤต
                          3.  ระยะสืบพันธุ์ (reproductive stage) นับจากการสร้างดอกอ่อน เริ่มจากการเปลี่ยนจากต้นแบน
                   มาเป็นต้นกลม สร้างจุดก าเนิดช่อดอก (premordium  of  panicle) ต่อจากนั้นสร้างช่อดอก (panicle
                   initiation) ดอกอ่อนจะขยายตัวใหญ่ขึ้นเป็นระยะตั้งท้อง (booting  stage) เกิดช่อดอกที่สมบูรณ์อยู่ในการ

                   ห่อหุ้มของใบธง (flag leaf) เมื่อข้าวตั้งท้องเต็มที่แล้วจะส่งช่อดอกออกจากกาบใบ ต่อจากนั้นจะผสมระหว่าง
                   ละอองเกษร และดอกตัวเมียภายในดอกเดียวกันแล้วดอกก็บานออกเป็นการสิ้นสุดระยะสืบพันธุ์
                          4.  ระยะสุกแก่ (ripening  stage) ภายหลังการผสมเมล็ดจะพัฒนาผ่านระยะน้ านม (milky stage)
                   ระยะแป้ง (dough stage) และระยะสุกแก่

                   สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสมในการปลูกข้าว
                          ข้าวเป็นพืชที่สามารถปรับตัวได้กว้าง ข้าวสามารถเจริญเติบโตได้ดีตั้งแต่ระดับน้ าทะเลถึง 2,500
                   เมตร เหนือระดับน้ าทะเล สามารถเจริญได้ในสภาพน้ าขังตั้งแต่ 5-10 เซนติเมตร จนลึก 4 - 5 เมตร และใน

                   สภาพไร่ที่ไม่มีน้ าขัง แม้ข้าวเป็นพืชที่ชอบดินด่าง (pH < 7) แต่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในช่วง pH กว้าง 3 -
                   10 ปริมาณน้ าฝนตั้งแต่ 200 มิลลิเมตร ขึ้นไป ส าหรับในประเทศไทยนั้นทุกแหล่งที่ปลูกข้าวมีปริมาณน้ าฝน
                   1,000 มิลลิเมตรต่อปีขึ้นไป อย่างไรก็ดีฝนต้องมีการกระจายตัวดี De Datta (1981) กล่าวว่า ความต้องการ
                   น้ าของข้าวตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยวอยู่ระหว่าง 800 - 1,000 มิลลิเมตร
                          1.  แสงและความยาวของวัน การปลูกข้าวในฤดูฝนมักให้ผลผลิตต่ ากว่าในฤดูแล้ง ทั้งนี้เพราะในฤดู

                   ฝนมีเมฆหมอกมาก ท าให้มีความเข้มของแสงน้อย จากการทดลองของสถาบันวิจับข้าว พบว่า ข้าวพันธุ์
                   เดียวกันเมื่อปลูกในฤดูแล้งให้ผลผลิตสูงกว่าปลูกในฤดูฝน 13.64 เปอร์เซ็นต์ ปกติข้าวเป็นพืชไวแสงและเป็น
                   พืชวันสั้น (short day plant) ดังนั้นถ้าในช่วงใกล้ออกดอก ถ้ากลางวันยาวขึ้นจะท าให้ต้นข้าวไม่ออกดอกหรือ

                   ออกดอกช้าไป (ส าหรับประเทศไทยกลางวันยาวที่สุดอยู่ในเดือนมิถุนายน และสั้นที่สุดในปลายเดือนธันวาคม)
                          2.  อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมส าหรับการเจริญเติบโตของข้าวอยู่ระหว่าง 25 - 33 องศาเซลเซียส
                   ถ้าอุณหภูมิต่ าข้าวงอกช้า เจริญเติบโตช้าและออกดอกช้า
                   ข้าวสายพันธุ์ปทุมธานี 1

                          ชื่อพันธุ์ปทุมธานี 1 (Pathum  Thani  1) เป็นข้าวเจ้า ที่ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์
                   BKNA6-18-3-2 กับสายพันธุ์ PTT85061-86-3-2-1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ในปี พ.ศ. 2533 ปลูกคัดเลือก
                   จนได้สายพันธุ์ PTT90071-93-8-1-1 คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตรมีมติให้เป็นพันธุ์
                   รับรอง เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2543 ลักษณะประจ าพันธุ์ คือ เป็นข้าวเจ้า ต้นสูงประมาณ 104 - 133 เซนติเมตร
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17