Page 8 - การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวปทุมธานี 1 ในดินเหนียว จ.สุพรรณบุรี Study efficiency of biofertilizer for rice cultivation on growth and rice yield in clayer soil in Suphanburi province.
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                          หนึ่ง (2541) ศึกษาวิจัยปุ๋ยชีวภาพไนโตรเจนและไมคอร์ไรซา โดยคัดเลือกเชื้อไรโซเบียมที่มี

                   ประสิทธิภาพสูงในการตรึงไนโตรเจนได้กับถั่ว ไมยรา วินคาเซีย และถั่วเซนจูเรียน เมื่อน าเชื้อที่มีประสิทธิภาพ
                   ในการตรึงไนโตรเจนได้สูงของไมยรา วินคาเซีย และเซนจูเรียน ทดลองร่วมกับเชื้อราไมคอร์ไรซา ในดินที่มี
                   ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ า พบว่า ไรโซเบียมไม่สามารถตรึงไนโตรเจนได้ดีในดินที่ขาด
                   ฟอสฟอรัสท าให้ต้นแคระแกรน เช่นเดียวกันในสภาพดินที่มีไรโซเบียมน้อย หรือไม่มีไรโซเบียม ไมโคไร
                   ซ่าอย่างเดียวไม่สามารถท าให้ต้นถั่วเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์มาก ได้ผลผลิตใกล้เคียงกับการใช้ไรโซเบียม

                   ร่วมกับการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส ซึ่งแสดงว่า ไมโคไรซ่าสามารถใช้แทนฟอสฟอรัสได้ ในกรณีที่ดินมีฟอสฟอรัสที่
                   เป็นประโยชน์ต่ า การตรึงไนโตรเจนโดยไรโซเบียมกับพืชอาหารสัตว์ประเภทถั่วนั้น ได้ปริมาณที่มากเกินพอที่
                   ถั่วจะใช้ และไนโตรเจนส่วนเกินสามารถปลดปล่อยให้กับหญ้าที่ปลูกร่วมกันได้ จากการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ไมย

                   ราและ โสนหางไก่ เมื่อปลูกร่วมกับหญ้ารูซี่สามารถเพิ่มผลผลิตและปริมาณโปรตีนในหญ้ารูซี่สูงกว่าที่ปลูก
                   หญ้าอย่างเดียว
                          สรัญญา (2553) คัดเลือกไซยาโนแบคทีเรียสายพันธุ์ที่เหมาะสมส าหรับการผลิตปุ๋ยชีวภาพ เนื่องจาก
                   ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีการส่งออกส่วนใหญ่เป็นผลิตผลทางการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

                   ข้าว ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตข้าวคือ ปุ๋ย ปัจจุบันรัฐบาลได้ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยชีวภาพแทน
                   ปุ๋ยเคมี เนื่องจากไม่มีสารตกค้าง และไม่เป็นอันตรายต่อดิน และระบบนิเวศ ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพ ไซยาโน
                   แบคทีเรียที่ตรึงไนโตรเจนสามารถน ามาใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพได้ เนื่องจากมี คุณสมบัติในการตรึงไนโตรเจนจาก
                   บรรยากาศเพื่อเปลี่ยนให้เป็นแอมโมเนียที่พืชสามารถน าไปใช้ เพื่อการเจริญเติบโต งานวิจัยนี้จึงมี

                   วัตถุประสงค์ในการคัดเลือกไซยาโนแบคทีเรียจากนาข้าวและดินนาในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                   ของประเทศไทย ซึ่งเหมาะสมจะน าไปใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ โดยการเก็บตัวอย่างน้ าและดินนา คัดแยกเชื้อไซยาโน
                   แบคทีเรียที่มีลักษณะเป็นเส้นสาย พบว่าได้เชื้อบริสุทธิ์จ านวน 15 ไอโซเลท จากนั้น น าไซยาโนแบคทีเรียทั้ง
                   15 ไอโซเลท มาเพาะเลี้ยงในอาหาร สูตร BG11 เพื่อศึกษาการเจริญ ทดสอบการตรึงไนโตรเจนในแต่ละไอโซเลท

                   โดยเพาะเลี้ยงในอาหาร สูตร BG11  ซึ่งปราศจากแหล่งไนโตรเจน พบว่ามีเพียงไอโซเลท B14  เท่านั้นที่
                   สามารถตรึงไนโตรเจนจากบรรยากาศได้ โดยสามารถเจริญในอาหารที่ปราศจากแหล่งไนโตรเจน จากนั้น
                   คัดเลือกไอโซเลท B14  มาศึกษาความทนต่อยาปราบวัชพืช โดยเพาะเลี้ยงไอโซเลท B14  ในอาหารที่มี ยา

                   ปราบวัชพืช glyphosate-isopropylammonium และ pyrazosulfuron-ethyl จากการทดลองพบว่า ไอ
                   โซเลท B14 สามารถทนต่อยาปราบวัชพืชได้ที่ความเข้มข้นสุดท้าย 0.1 และ 1.0 ส่วนต่อพันส่วน ตามล าดับ
                   จากนั้น ศึกษาความทนต่อยาฆ่าแมลง โดยเพาะเลี้ยงไอโซเลท B14 ในอาหารสูตรที่มียาฆ่าแมลง abamectin
                   พบว่าไอโซเลท B14  สามารถทนต่อยาฆ่าแมลงได้ที่ความเข้มข้นสุดท้าย 0.01 ส่วนต่อพันส่วน สุดท้ายศึกษา
                   ความทนต่อความเข้มข้นของเกลือโซเดียมคอลอไรด์พบว่า ไอโซเลท B14  สามารถทนต่อความเข้มข้นของ

                   เกลือโซเดียมคลอไรด์ได้สูงสุดเท่ากับ 0.1 โมลาร์
                          อาภากร (2553) ศึกษาวิจัยปุ๋ยชีวภาพไนโตรเจน สายพันธุ์ Azospirillum  largimobile และ
                   Azotobacter  vinelandii ในการปลูกข้าว โดยใช้วิธีแช่เมล็ดข้าว วิธีแช่รากกล้าข้าว และวิธีใส่เชื้อในดิน

                   บริเวณรากข้าว พบว่าวิธีการใส่เชื้อทั้ง 3 วิธี ไม่ท าให้ปริมาณเชื้อแตกต่างกัน แต่ปริมาณเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างมี
                   นัยส าคัญเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใส่เชื้อด้วยวิธี Fluorescent Antibody   (FA) เมื่อท าการวัดการ
                   เจริญเติบโตของข้าว และปริมาณไนโตรเจนที่พืชสามารถน าขึ้นมาใช้ของข้าว พบว่า การใส่เชื้อท าให้น้ าหนัก
                   แห้งของข้าว และ ปริมาณไนโตรเจนที่พืชสามารถน าขึ้นมาใช้เพิ่มขึ้นจากกรรมวิธีที่ไม่มีการใส่เชื้อ ดังนั้นจึงได้

                   ท าการทดลองต่อโดยประยุกต์ใช้วิธีการใส่เชื้อในดินบริเวณใกล้รากข้าว เพื่อศึกษา ผลของระบบการปลูกข้าว
                   (ระบบการปลูกข้าวแบบประณีตกับแบบดั้งเดิม) ร่วมกับการใส่เชื้อ Az. Largimobile และ A. vinelandii ต่อ
                   ปริมาณและการคงอยู่ของเชื้อ ประสิทธิภาพการตรึงไนโตรเจน และผลผลิต ของข้าว โดยท าการทดสอบทั้งใน
                   ระดับกระถาง และแปลงทดลอง ผลการทดลอง พบว่า ทั้ง 2 การทดลอง ปริมาณเชื้อในระบบการปลูกข้าว
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13