Page 5 - การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวปทุมธานี 1 ในดินเหนียว จ.สุพรรณบุรี Study efficiency of biofertilizer for rice cultivation on growth and rice yield in clayer soil in Suphanburi province.
P. 5

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                   บทบาทของปุ๋ยชีวภาพ

                          ปุ๋ยชีวภาพมีการน ามาใช้ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยชีวภาพตรึง
                   ไนโตรเจน ปุ๋ยชีวภาพย่อยสลายเซลลูโลส ฟอสเฟต โพแทสเซียม (Nishanth and Biswas, 2008; Han et
                   al., 2006; Wu et al.; 2005; Suwanbutr et al.; 1996; Darmwal and Gaur, 1988) โดยได้รับการ
                   พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มความส าคัญมากยิ่งขึ้นตามล าดับด้วยเหตุผลหลายประการ (Damrongchai,
                   2003) ดังนี้

                          1.  การใช้ปุ๋ยชีวภาพเป็นการลดกระบวนการสังเคราะห์สารเคมีในการผลิตปุ๋ยเคมีซึ่งผลกระทบ ต่อ
                   มนุษย์และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งปริมาณการใช้ค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับการใช้ปุ๋ยเคมี (Kaewchai et al., 2009
                   และ Damrongchai, 2003)

                          2.  ปุ๋ยชีวภาพมีผลกระทบข้างเคียงน้อยกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี เนื่องจากปุ๋ยชีวภาพมีความจ าเพาะต่อ การ
                   ใช้งาน (Kaewchi et al., 2009)
                          3.  ราคาของปุ๋ยชีวภาพถูกกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี (Kaewchai et  al.,  2009) ปุ๋ยเคมีมีราคาแพง และมี
                   แนวโน้มราคาสูงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ท าให้ต้นทุนในการผลิตพืชสูงขึ้นมาก แต่ผลผลิตของพืชกลับมีราคาไม่แน่นอน

                   (ธงชัย, 2550)
                          4.  ปุ๋ยชีวภาพนอกจากจะส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชแล้ว จุลินทรีย์บางสายพันธุ์สามารถช่วย
                   ควบคุมโรคพืชได้อย่างจ าเพาะเจาะจงต่อจุลินทรีย์ก่อโรคในพืช (Kaewchai et al., 2009) ปรับปรุงคุณภาพ
                   ของผลผลิต (Lee et al., 2008 และ Mahfouz and Sharaf-Eldin, 2007) และมีความทนทานต่อความแห้ง

                   แล้ง (Aseri et al., 2008)
                          5.  การใช้ปุ๋ยชีวภาพบางชนิดสามารถน าวัสดุเหลือใช้หรือเศษเหลือทิ้งจากการเกษตรหรือ
                   อุตสาหกรรมทางการเกษตรกลับมาใช้ใหม่ได้ (Ogb๐, 2010  และ Medina et  al.,  2007) โดยที่เกษตรกร
                   สามารถผลิตปุ๋ยชีวภาพไว้ใช้ได้เองทั้งเกษตรกรรายเล็ก และรายใหญ่ (ธงชัย, 2550)

                          6.  กิจกรรมของจุลินทรีย์ในปุ๋ยชีวภาพด าเนินไปอย่างรวดเร็วโดยเกิดขึ้นในดินหรือในบริเวณที่ใกล้
                   กับรากพืช ซึ่งพืชมีโอกาสดูดซึมธาตุอาหารไปใช้ได้ง่ายและรวดเร็ว (ธงชัย,  2550) มีปัญหาจากการใช้งานที่
                   ยุ่งยาก อายุการเก็บรักษาค่อนข้างจ ากัด และผลตอบสนองต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยรวมค่อนข้าง น้อย

                   เมื่อใช้ในระยะเวลาอันสั้นเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยเคมี (Kaewchai  et  al.,  2009) แต่กระบวนการ
                   เหล่านี้ก าลังได้ รับการศึกษาและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยกระบวนการเทคโนโลยีชีวภาพ
                   (Damrongchai, 2003)
                          7.  การขาดแคลนปุ๋ยเคมีในประเทศที่ก าลังพัฒนา ปริมาณความต้องการปุ๋ยมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี
                   จากการคาดการณ์ปริมาณความต้องการปุ๋ยไนโตรเจนของโลกเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 2.6 เปอร์เซ็นต์ จนกระทั่งถึงปี

                   2018 (Food and Agriculture Organization of the United Nations, 2015) ปริมาณปุ๋ย ไนโตรเจนที่โลก
                   ต้องการเพื่อผลิตพืชนั้นเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ในปัจจุบันมีการผลิตปุ๋ยไนโตรเจนทางเคมีได้ประมาณปีละ 40
                   ล้านตัน ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการตลอดจนในประเทศที่ก าลังพัฒนาก็ไม่มีก าลังเงินที่จะจัดซื้อได้อย่าง

                   เพียงพอกับความต้องการ จึงเป็นสาเหตุให้ความส าคัญของปุ๋ยชีวภาพโดดเด่นขึ้นมาเป็นล าดับ (ธงชัย, 2550)
                   ตารางที่ 1 ปริมาณความต้องการปุ๋ยของโลกระหว่างปี 2014-2018 (ล้านตัน)

                   Year                                2014       2015       2016       2017       2018
                   Total nitrogen demand                147        151        155        158       161

                   Total phosphoric acid demand         49         50         51         52         53
                   Total potash demand                  34         35         36         37         38
                   Total demand                         231        237        243        248       253
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10