Page 11 - การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวปทุมธานี 1 ในดินเหนียว จ.สุพรรณบุรี Study efficiency of biofertilizer for rice cultivation on growth and rice yield in clayer soil in Suphanburi province.
P. 11
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
อินโดนีเซีย 76,932 60,251 783
บังกลาเทศ 73,381 46,905 639
เวียดนาม 46,339 38,725 836
พม่า 51,250 30,500 595
ไทย 66,772 31,651 474
ฟิลิปปินส์ 27,875 16,816 603
บราซิล 17,885 12,100 677
ญี่ปุ่น 10,625 11,029 1,038
อื่นๆ 165,801 96,607 583
ที่มา: ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2552
การแบ่งชนิดของข้าว
1. แบ่งตามพื้นที่ปลูก ได้แก่
1.1 ข้าวไร่ (Upland Rice) คือข้าวที่ปลูกในพื้นที่ดอน ไม่ชอบน้ าขัง หรือปลูกตามเชิงเขา ที่ลาด
ชัน แต่ละปีมีการปลูกข้าวไร่ในประเทศไทยกว่า 1 ล้านไร่ ส่วนมากอยู่ในภาคเหนือและภาคใต้ (ปลูกแซม
ยางพารา) การปลูกข้าวไร่กระท าโดยการถางโค่นป่า เผา และปลูกโดยไม่มีการเตรียมดิน มักไม่มีการใส่ปุ๋ย
เป็นการปลูกที่ใช้ความอุดมสมบูรณ์ที่สะสมอยู่ในดิน เพราะเมื่อปลูกไป 1 - 2 ปี ความสมบูรณ์ของดินถูกใช้
หรือถูกชะล้างไปมาก จนเกษตรกรต้องย้ายพื้นที่ปลูกไปยังที่ใหม่
1.2 ข้าวนาสวน (Lowland rice) คือข้าวที่ปลูกในสภาพนาที่มีน้ าขัง 5 - 10 เซนติเมตร จนถึง
ระดับ 70 - 80 เซนติเมตร หรือไม่มีน้ าขัง ซึ่งสามารถปลูกในฤดูปกติ (เรียกนาปี) หรือนอกฤดู (เรียกนาปรัง)
1.3 ข้าวขึ้นน้ าหรือข้าวนาเมือง (Deep water rice) คือข้าวที่ปลูกในพื้นที่ซึ่งมีน้ าลึกตั้งแต่ 80
เซนติเมตร ขึ้นไปจนถึง 3 - 5 เมตร แต่ส่วนใหญ่ระดับน้ าลึก 1 - 2 เมตร (ขณะปลูกน้ ายังไม่ขังหรือขัง
เล็กน้อย) ข้าวนาเมืองปลูกโดยวิธีหว่านข้าวแห้ง
2. แบ่งตามฤดูกาลการปลูก ได้แก่
2.1 ข้าวนาปี เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกในฤดูปกติ คือปลูกในต้นฤดู หรือกลางฤดูฝน เก็บเกี่ยวในปลาย
ฤดูฝน ข้าวพวกนี้มีความไวต่อช่วงแสง (sensitive to photoperiod) คือ ออกดอกเมื่อความยาวของวันสั้นลง
จนถึงช่วงแสงวิกฤติ (critical day length) ซึ่งส่วนมากสั้นกว่า 12 ชั่วโมง สามารถแบ่งข้าวพวกนี้ออกได้เป็น
พันธุ์เบา พันธุ์กลาง และพันธุ์หนัก ซึ่งต้องการวันสั้นน้อย ปานกลาง และมาก ตามล าดับ ข้าวพันธุ์เบาสามารถ
ปลูกนอกฤดูปกติ (นาปี) ได้ แต่พันธุ์หนักไม่สามารถปลูกได้เพราะนอกฤดูปกตินั้น ช่วงแสงวิกฤติจะยาวกว่า
ต้องการ
2.2 ข้าวนาปรังคือข้าวที่สามารถปลูกนอกฤดูปลูกปกติได้ เป็นพวกไม่ไวแสง (nonesensitive to
photoperiod) จึงสามารถปลูกได้ตลอดปี
3. แบ่งตามคุณสมบัติของแป้งในเมล็ดข้าวสาร ได้แก่
3.1 ข้าวเจ้า (non-glutinous rice) เป็นพวกที่มีแป้งพวกอมิโลเพคติน (amylopectin) สูง
ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ และเป็นพวกอมิโลส (amylose) ต่ าประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อหุงแล้วจะร่วนไม่
เกาะกัน
3.2 ข้าวเหนียว (glutinous rice หรือ sticky rice) เป็นข้าวที่เมล็ดมีแป้งพวก amylopectin
ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ และเป็น amylose ประมาณ 7 - 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อหุงแล้วเมล็ดจะเหนียวเกาะกัน ซึ่ง
เป็นคุณสมบัติของ amylopectin เมื่ออุ้มน้ ามาก ๆ