Page 6 - การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวปทุมธานี 1 ในดินเหนียว จ.สุพรรณบุรี Study efficiency of biofertilizer for rice cultivation on growth and rice yield in clayer soil in Suphanburi province.
P. 6
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ที่มา: ดัดแปลงจาก Food and Agriculture Organization of the United Nations (2015)
8. ดินบางแห่งมีปัญหา เช่น แข็ง แน่นทึบ เสื่อมโทรม หรือมีมลพิษจากสารเคมีต่างๆ ที่เติมลงสู่ดิน
อย่างขาดหลักการและขาดความระมัดระวัง จึงมีความส าคัญเป็นอย่างยิ่งที่ต้องบ าบัด โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์
หรือปุ๋ยชีวภาพตามความเหมาะสม (ธงชัย, 2550)
มาตรฐานของปุ๋ยชีวภาพ
1. ปุ๋ยชีวภาพเป็นสินค้าควบคุมฉลากของประเทศไทย ดังนั้น ปุ๋ยชีวภาพจึงต้องระบุชื่อทางการค้า
และมีค าว่าปุ๋ยชีวภาพเครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายอื่นใดซึ่งแสดงที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุปุ๋ย
ชีวภาพ ชื่อ จุลินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบ โดยแจงในระดับสกุลของจุลินทรีย์นั้น ปริมาณจุลินทรีย์รับรองหรือ
ปริมาณจุลินทรีย์ รวมที่มีชีวิตต่อหน่วยน้ าหนักที่เป็นส่วนผสมของปุ๋ย โดยแจงเป็นจ านวนเซลล์ต่อน้ าหนักปุ๋ย
ชีวภาพ 1 กรัม หรือ 1 มิลลิลิตร ในกรณีที่เป็นของเหลวร้อยละความชื้นส าหรับปุ๋ยชีวภาพที่เป็นของแข็ง
วิธีการเก็บรักษา น้ าหนักสุทธิ หรือขนาดบรรจุของปุ๋ยชีวภาพตามระบบเมตริก วัสดุรองรับของปุ๋ยชีวภาพ ชื่อ
ผู้ผลิต และที่ตั้งส านักงาน และสถานที่ผลิตปุ๋ยชีวภาพเพื่อการค้า วันเดือนปีที่ผลิต และหมดอายุ (ราชกิจจา
นุเบกษา, 2550 และราชกิจจานุเบกษา, 2546)
2. Regional biofertilizer development center (2010) ก าหนดให้ปริมาณจุลินทรีย์ที่เป็น
8
องค์ประกอบของปุ๋ยชีวภาพมีปริมาณมากกว่า 1x10 เซลล์ต่อกรัม หรือมิลลิลิตรของปุ๋ยชีวภาพส าหรับ
แบคทีเรีย Rhizobium, Azospirillum และจุลินทรีย์ย่อยสลายฟอสเฟต ส่วนแบคทีเรียสกุล Azotobacter มี
7
ปริมาณมากกว่า 1x10 เซลล์ต่อกรัม หรือมิลลิลิตรของปุ๋ยชีวภาพ เมื่อนับจากปริมาณเซลล์ที่มีชีวิตหลังจาก
การผลิตภายใน 15 วัน นอกจากนั้นก่อนหมดอายุภายใน 15 วัน ปริมาณแบคทีเรีย Rhizobium,
7
Azospirillum และจุลินทรีย์ย่อยสลายฟอสเฟตต้องมากกว่า 1x10 เซลล์ต่อกรัม หรือมิลลิลิตรของปุ๋ย
6
ชีวภาพ และปริมาณแบคทีเรีย Azotobacter ต้องมากกว่า 1x10 เซลล์ต่อกรัม หรือมิลลิลิตรของปุ๋ยชีวภาพ
3. ความสามารถของแบคทีเรีย Rhizobium ในปุ๋ยชีวภาพจะต้องท าให้เกิดปมรากมากกว่าร้อยละ 50
ของพืชควบคุม แบคทีเรีย Azotobacter และ Azospirillum จะต้องสามารถตรึงไนโตรเจน 10 มิลลิกรัมของ
ปริมาณก๊าซไนโตรเจนต่อน้ าหนักของน้ าตาลซูโครส และมาเลตที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงตามล าดับ (Regional
biofertilizer development center, 2010)
4. พีเอชของปุ๋ยชีวภาพควรอยู่ในช่วง 6.0 - 7.5 (Regional biofertilizer development center,
2010)
5. ปุ๋ยชีวภาพจะต้องไม่มีสิ่งปนเปื้อนอื่น ๆ (Regional biofertilizer development center,
2010)
การใช้ปุ๋ยชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตและการเจริญเติบโตของพืช
ณัฐธิดา (2558) ศึกษาการใช้จุลินทรีย์ Bacillus subtilis สายพันธุ์ CaSUT007 เพื่อพัฒนาเป็นปุ๋ย
ชีวภาพที่มีคุณสมบัติ phosphorus solubilizing กระตุ้นการเจริญเติบโต และชักน าความต้านทานต่อโรคใบ
ไหม้มันส าปะหลัง พบว่าเชื้อไอโซเลต CaSUT007 มีบริเวณยับยั้งเชื้อสาเหตุโรคเท่ากับ 8.0±0.058 มิลลิเมตร
และประสิทธิภาพการละลายฟอสเฟตเฉลี่ยสูงสุด 209.91 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และเมื่อทดสอบ
ประสิทธิภาพการควบคุมโรคใบไหม้ของมันส าปะหลังในสภาพเรือนทดลองในมันส าปะหลังพันธุ์ระยอง 72
วางแผนการทดลองแบบ randomized complete block design (RCBD) พบว่า การแช่ท่อนพันธุ์หรือฉีด
พ่นเชื้อไอโซเลต CaSUT007 สามารถควบคุมโรคใบไหม้ของมันส าปะหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีระดับ
ความรุนแรงของโรคใบไหม้มันส าปะหลัง เท่ากับ 1 เทียบเท่ากับการใช้สารเคมีคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ และ
ศึกษาเกี่ยวกับกลไกความต้านทาน พบว่ามีการสะสมของสารในกระบวนการชีวเคมีที่เกี่ยวข้องกับกลไกการ
ส่งเสริมการเจริญเติบโตโดยใช้เทคนิค FTIR microspectroscopy พบกลุ่มไขมันชนิด C-H stretching