Page 13 - การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวปทุมธานี 1 ในดินเหนียว จ.สุพรรณบุรี Study efficiency of biofertilizer for rice cultivation on growth and rice yield in clayer soil in Suphanburi province.
P. 13
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 104 - 126 วัน ทรงกอตั้ง ใบสีเขียวมีขน กาบใบและปล้องสีเขียว ใบ
ธงยาวท ามุม 45 องศากับคอรวง รวงอยู่ใต้ใบธง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีขน มีหางยาวเล็กน้อย ระยะพักตัว
ของเมล็ดประมาณ 3 - 4 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้องกว้าง × ยาว × หนา เท่ากับ 2.1 × 7.6 × 1.7 มิลลิเมตร
ปริมาณอมิโลส 15 - 19 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพข้าวสุกนุ่มเหนียว มีกลิ่นหอมอ่อน ผลผลิตสูงประมาณ 650 -
774 กิโลกรัมต่อไร่ คุณภาพเมล็ดคล้ายพันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 ต้านทานโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง ค่อนข้าง
อ่อนแอเพลี้ยจักจั่นสีเขียว โรคใบหงิก และโรคใบสีส้ม ปลูกมากในเขตชลประทานในภาคกลาง (กรมการข้าว,
2554) เนื่องจากช่วงท าการทดลองอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม จึงเลือกใช้ข้าวสายพันธุ์ปทุมธานี 1 ซึ่ง
เป็นข้าวไม่ไวแสง สามารถปลูกได้ตลอดปี เป็นข้าวอายุสั้น เก็บเกี่ยวได้เร็ว (120 วัน) และเนื่องจากข้าวไม่ไว
แสงมีความต้องการไนโตรเจนสูงกว่าหรือมีการตอบสนอง (sensitive) ต่อไนโตรเจนน้อยกว่าข้าวไวแสง ซึ่งจะ
เห็นได้จากการใส่ปุ๋ยเคมีแอมโมเนียมซัลเฟต (20 เปอร์เซ็นต์ไนโตรเจน) ข้าวไวแสงใส่ 4 - 12 กิโลกรัมต่อไร่
ข้าวไม่ไวแสงใส่ 12 - 22 กิโลกรัมต่อไร่ หรือถ้าเป็นปุ๋ยแอมโมเนียมคลอไรด์ (25 เปอร์เซ็นต์ไนโตรเจน) ข้าวไว
แสงใส่ 4 - 10 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวไม่ไวแสงใส่ 10 - 13 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยยูเรีย (45 เปอร์เซ็นต์ไนโตรเจน)
ข้าวไวแสงใส่ 2 - 6 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวไม่ไวแสงใส่ 6 - 10 กิโลกรัมต่อไร่ (วัชรินทร์, 2527)
ระยะเวลาและสถานที่ด าเนินการ
ระยะเวลา เริ่มต้นด าเนินการ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2561
สิ้นสุดการวิจัย เดือนกันยายน พ.ศ. 2563
สถานที่ด าเนินการ
ห้องปฏิบัติการจุลินทรีย์ กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน
แปลงเกษตรกรพื้นที่ดินเหนียว หมู่บ้านท่าคอย ต าบลบางงาม อ าเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
จุดพิกัด 47P 0613474 UTM 1613934
อุปกรณ์และวิธีการ
อุปกรณ์
1. อุปกรณ์การเก็บตัวอย่างดิน เช่น พลั่วมือ ถุงพลาสติก ยางวง
2. อุปกรณ์เครื่องแก้ว สารเคมีส าหรับเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อและสารเคมีส าหรับวิเคราะห์ปริมาณ
กรดจัสโมนิค
3. ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพส าหรับนาข้าว ประกอบด้วย เชื้อราเอนโดไฟต์ P11 รูปแบบผงละลายน้ า
ส าหรับแปลงเพาะกล้า ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบน้ า และรูปแบบผงละลายน้ า ได้แก่ แบคทีเรียตรึง
ไนโตรเจน 42 และแบคทีเรียละลายซิลิเกต CP31/1 ใส่ในแปลงปักด า
4. ปุ๋ยหมักตราบอลลูน
5. ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0
6. เมล็ดพันธุ์ข้าวปทุมธานี 1
7. อุปกรณ์ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ ถุงตาข่ายสีฟ้า ไม้วัดความสูง ตาชั่งกระสอบเก็บผลผลิต ตู้อบ
ตัวอย่างพืชเพื่อใช้อบพืชในการหาน้ าหนักแห้ง
8. อุปกรณ์วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลส าเร็จรูป