Page 3 - การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวปทุมธานี 1 ในดินเหนียว จ.สุพรรณบุรี Study efficiency of biofertilizer for rice cultivation on growth and rice yield in clayer soil in Suphanburi province.
P. 3

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                   biofertilizer product in liquid formulation together with 50% chemical fertilizer (treatment 4)

                   affected more potassium exchange in the soil than the other treatments and lowest weight
                   of undeveloped kernels as 25.37%. In addition, this treatment performed the highest of
                   stem height, seed weight and total yield at the harvest stage as 99.15 cm, 3.50g/100 seeds
                   and 467.41 kg/rai, respectively. While the use of biofertilizer product in wettable powder
                   formulation together with 70% of chemical fertilizer gave total yield as 465.19 kg/rai which

                   had not significantly difference with the treatment 4.


                                                       หลักการและเหตุผล

                          ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพท าการเกษตรโดยภาพรวมมีพื้นที่

                   การเกษตรทั้งหมด 132.49 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ปลูกข้าว  61.70 ล้านไร่ ผลผลิตเฉลี่ย (นาปี และนาปรัง) 445
                   กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่พื้นที่ปลูกข้าวส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 51.6 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งประเทศอยู่ในภาค
                   ตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ให้ผลผลิตโดยเฉลี่ยนาปีและนาปรังเพียง 353 กิโลกรัมต่อไร่ (ส านักงานเศรษฐกิจ
                   ทางการเกษตร, 2563) ซึ่งนับว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ าเมื่อเทียบกับประเทศผู้ผลิตข้าวคู่แข่งรายส าคัญในทวีปเอเชีย

                   โดยปัจจัยในการเพิ่มผลผลิตข้าวที่เกษตรกรใช้ คือปุ๋ยเคมี จึงท าให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มมากขึ้นเพื่อการเร่ง
                   การเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิต  ถึงแม้ในปัจจุบันเกษตรกรจะมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ปุ๋ยเคมีมากขึ้น
                   โดยใช้ปุ๋ยตามค าแนะน าของนักวิชาการเกษตรท าให้มีปริมาณการใช้ปุ๋ยลดลง แต่ราคาต่อหน่วยของปุ๋ยเคมีใน
                   ปัจจุบันสูงขึ้นท าให้ต้นทุนในการผลิตของเกษตรกรสูงขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่ในระบบนิเวศวิทยาของนาข้าวมี

                   จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์อาศัยอยู่จ านวนมากและหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งที่อยู่ในดินและส่วนต่าง ๆ ของพืช
                   ทั้งใบ ล าต้น และราก มีทั้งชนิดที่อาศัยอยู่ในดินรอบผนังเซลล์พืช ภายในเซลล์พืช หรือแม้แต่ภายในท่อน้ า
                   ท่ออาหารพืช โดยส่วนใหญ่จะอยู่อาศัยกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน (hardoim et al., 2008) โดยมีหลายสายพันธุ์

                   ที่มีประสิทธิภาพสูงในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศ ละลายซิลิเกตในดิน และสร้างสารเสริมการเจริญเติบโตที่
                   เป็นประโยชน์แก่พืช เช่น Pseudomonas sp. Burkholderia sp. และ Azorhizobium sp. เป็นต้น (jame
                   et al., 2002) ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้จะมีประโยชน์อย่างมากในระบบการเกษตร โดยเฉพาะช่วยลดต้นทุนการ
                   ใช้ปุ๋ยเคมีให้แก่เกษตร ซึ่งถ้าสามารถแยกและคัดเลือกจุลินทรีย์กลุ่มดังกล่าวได้และน ามาประยุกต์ใช้ในการ
                   ผลิตข้าวจะเป็นประโยชน์อย่างมากแก่เกษตรกร ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาประสิทธิภาพ

                   ของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพส าหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวไม่ไวแสงในดินเหนียว เพื่อเป็น
                   ข้อมูลและแนวทางให้แก่เกษตรกรในการลดต้นทุนการผลิตข้าวต่อไป



                                                          วัตถุประสงค์


                   1.  เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพส าหรับนาข้าวต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีในดิน
                   เหนียว
                   2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพส าหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวไม่ไว

                   แสงในดินเหนียว
   1   2   3   4   5   6   7   8