Page 39 - ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน Effect of Nitrogen, Phosphorus and Potassium Fertilizers on Plant Growth, Products, Economic Return and Curcuminoids in Turmeric (Curcuma Longa L.)
P. 39
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
แมงกานีสในใบ 1,000-1,500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (Hue and Mai, 2002) อย่างไรก็ตาม ต่ารับการทดลองที่ใช้
ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราสูง มีความเข้มข้นแมงกานีสในเหง้าลดลง เนื่องจากไนโตรเจนจากปุ๋ยเกิดอันตรกิริยาเชิงลบกับ
แมงกานีสในดิน ส่งผลให้ต้นขมิ้นชันสามารถลดการดูดใช้แมงกานีสได้ ส่วนความเข้มข้นสังกะสีและทองแดง มีการ
เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกับปริมาณแมงกานีส (ภาพที่ 10e-10f) เนื่องจากเป็นกลไกการตอบสนองของพืช
ในกระบวนการสร้างสารต้านออกซิเดชัน เพื่อลดสภาวะเครียดที่เกิดจากแมงกานีส ซึ่งกระบวนการดังกล่าวมี
สังกะสีและทองแดงเป็นองค์ประกอบ (Li et al., 2017) จากผลการตอบสนองของปุ๋ยไนโตรเจนต่อความเข้มข้น
ธาตุอาหารในเหง้าขมิ้นชันโดยรวม แสดงให้เห็นว่า ในบางครั้งบทบาทของธาตุอาหารที่เพิ่มในดินไม่ได้มีผลต่อการ
ตอบสนองต่อพืชโดยตรง แต่ไปเกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่หรือความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารชนิดอื่นโดยอ้อม
ทั้งบทบาทในเชิงบวกและเชิงลบ ซึ่งจะส่งผลต่อกระบวนการทางสรีรวิทยาหรือกระบวนการทางชีวเคมีของพืช
ดังนั้น การสร้างความสมดุลของธาตุอาหารจึงเป็นสิ่งส่าคัญ
ภาพที่ 9 ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจนต่อความเข้มข้น ไนโตรเจน โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียม (a)
ฟอสฟอรัส และก่ามะถัน (b) เหล็ก และแมงกานีส (C) สังกะสี และทองแดง (d) ในเหง้าขมิ้นชัน T1 ใส่ปุ๋ยสูตร
15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ T2-T7 ได้รับปริมาณ P O -K O-CaO-MgO-S อัตรา 11-50-1.4-1.4-2.5
2 5 2
กิโลกรัมต่อไร่ เท่ากัน ns = ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ส่วนตัวอักษรที่ต่างกันแสดงถึงความแตกต่างทางสถิติ
(p≤0.05, HSD) SE = ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน