Page 42 - ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน Effect of Nitrogen, Phosphorus and Potassium Fertilizers on Plant Growth, Products, Economic Return and Curcuminoids in Turmeric (Curcuma Longa L.)
P. 42

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                   แมงกานีส 761 และ 951 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล่าดับ ต่่ากว่าต่ารับการทดลองอื่นอย่างเด่นชัด (ภาพที่ 11c)

                   ชี้ให้เห็นว่า ในพื้นที่ดินกรดซึ่งมีปัญหาความเป็นพิษจากแมงกานีส การเพิ่มปุ๋ยฟอสฟอรัส นอกจากจะใช้เป็นแหล่ง

                   ของฟอสฟอรัสแก่พืชแล้ว ยังสามารถช่วยลดการดูดใช้แมงกานีสได้อีกทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัส

                   ในอัตราสูงเกินไปมีผลลดการเคลื่อนย้ายสังกะสีและทองแดงมาสะสมในเหง้า สามารถเห็นได้อย่างเด่นชัด ในต่ารับ
                   การทดลองที่ใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัสในช่วง 13-22 กิโลกรัม P O  ต่อไร่ พบว่า มีความเข้มข้นสังกะสีและทองแดงต่่าสุด
                                                                2 5
                   อยู่ในช่วง 20.50-29.50 และ 10.75-20.25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล่าดับ (ภาพที่ 11d) สาเหตุอาจเนื่องจาก

                   สังกะสีเป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ซูเปอร์ออกไซด์ดีสมิวเทสที่ใช้ในกระบวนการเร่งปฏิกิริยาการเปลี่ยนอนุมูล

                   อิสระซูเปอร์ออกไซด์แอนไอออนไปเป็นไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เพื่อลดสภาวะเครียดของต้นขมิ้นชันที่เกิดจาก

                   แมงกานีส ส่วนทองแดงเข้าร่วมในปฏิกิริยาดังกล่าวโดยตรง (ยงยุทธ, 2559) ความเข้มข้นของธาตุทั้งสองจึงผัน

                   แปรตามความเข้มข้นของแมงกานีสที่ลดลง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ใส่ ชี้ให้เห็นว่า การเพิ่มธาตุอาหาร

                   ในดินต้องค่านึงถึงผลเชิงลบที่อาจกระทบต่อบทบาทหน้าที่ของธาตุอาหารชนิดอื่น
































                   ภาพที่ 11 ผลของอัตราปุ๋ยฟอสฟอรัสต่อความเข้มข้น ไนโตรเจน โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียม (a)

                   ฟอสฟอรัส และก่ามะถัน (b) เหล็ก และแมงกานีส (C) สังกะสี และทองแดง (d) ในเหง้าขมิ้นชัน T1 ใส่ปุ๋ยสูตร

                   15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ T2-T7 ได้รับปริมาณ N-K O-MgO-S อัตรา 23-50-1.4-0.8 กิโลกรัมต่อไร่
                                                                        2
                   เท่ากัน ns = ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ส่วนตัวอักษรที่ต่างกันแสดงถึงความแตกต่างทางสถิติ (p≤0.05, HSD)

                   SE = ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47