Page 44 - ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน Effect of Nitrogen, Phosphorus and Potassium Fertilizers on Plant Growth, Products, Economic Return and Curcuminoids in Turmeric (Curcuma Longa L.)
P. 44
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ภาพที่ 12 ผลของอัตราปุ๋ยโพแทสเซียมต่อความเข้มข้น ไนโตรเจน โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียม (a)
ฟอสฟอรัส และก่ามะถัน (b) เหล็ก และแมงกานีส (C) สังกะสี และทองแดง (d) ในเหง้าขมิ้นชัน T1 ใส่ปุ๋ยสูตร
15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ T2-T7 ได้รับปริมาณ N-P O -CaO-MgO-S อัตรา 23-11-1.4-1.4-2.5
2 5
กิโลกรัมต่อไร่ เท่ากัน ns = ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ส่วนตัวอักษรที่ต่างกันแสดงถึงความแตกต่างทางสถิติ
(p≤0.05, HSD) SE = ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน
5. ผลของอัตราปุ๋ยธาตุอาหารหลักต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตขมิ้นชัน
5.1 ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจนต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตขมิ้นชัน
ผลประเมินการเจริญเติบโตและผลผลิตขมิ้นชัน จากการทดสอบอัตราปุ๋ยไนโตรเจนเปรียบเทียบกับวิธีใช้
ปุ๋ยของเกษตรกร พบว่า ความสูงของต้น และความกว้างของใบ ในทุกต่ารับการทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ
อย่างไรก็ตาม การใช้ปุ๋ยอัตรา 18 กิโลกรัม N ต่อไร่ มีแนวโน้มส่งผลให้ต้นขมิ้นชันมีการเจริญเติบโตทางด้านความ
สูง ดีกว่าวิธีเกษตรกร แต่เมื่อมีการเพิ่มอัตราปุ๋ยไนโตรเจนเพิ่มขึ้นอีก ส่งผลให้ความสูงของต้นขมิ้นชันและความ
กว้างใบลดลง (ภาพที่ 13a) เนื่องจากไนโตรเจนที่เพิ่มขึ้นไปลดการดูดใช้ทองแดงของต้นขมิ้นชัน โดยเฉพาะการใส่
ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราสูงสุด 45 กิโลกรัม N ต่อไร่ ส่งผลให้มีความเข้มข้นทองแดงในใบขมิ้นชันน้อยกว่า 5 มิลลิกรัม
ต่อกิโลกรัม (ภาพที่ 4c) ซึ่งจัดอยู่ในช่วงขาดแคลน (Kalra, 1998) จึงเป็นปัจจัยจ่ากัดการเจริญเติบโตของต้น
ขมิ้นชัน ส่วนการแตกกอ พบว่า การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนทุกอัตรา การแตกกอไม่มีความแตกต่างกัน อยู่ในช่วง 2.0-3.5
ต้นต่อกอ แต่มีแนวโน้มสูงกว่า การใช้วิธีเกษตรกร (ภาพที่ 13b) นอกจากนี้ พบว่า การใช้ปุ๋ยอัตรา 18 กิโลกรัม N
ต่อไร่ ส่งผลให้ได้ผลผลิตน้่าหนักสด และน้่าหนักแห้งสูงสุด 1,339 และ 160.72 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่ วิธี