Page 36 - ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน Effect of Nitrogen, Phosphorus and Potassium Fertilizers on Plant Growth, Products, Economic Return and Curcuminoids in Turmeric (Curcuma Longa L.)
P. 36

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                   โพแทสเซียมในอัตรา 25, 50, 75, 100 และ 125 กิโลกรัม K O ต่อไร่ ตามล่าดับ (ภาพที่ 8a) แสดงให้เห็นถึง
                                                                       2
                   อันตรกิริยาของโพแทสเซียมที่มีต่อแคลเซียมและแมกนีเซียม ดังนั้น การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมส่าหรับขมิ้นชันควร

                   ค่านึงถึงผลกระทบต่อการดูดใช้ธาตุดังกล่าว ในขณะที่ ผลการทดลอง ไม่พบความแตกต่างของความเข้มข้น

                   ฟอสฟอรัส ก่ามะถัน (ภาพที่ 8b) เหล็ก (ภาพที่ 8c)  และทองแดง (ภาพที่ 8d) ส่าหรับความเข้มข้นแมงกานีสใน
                   ทุกต่ารับการทดลอง พบว่า มีความเข้มข้นสูงกว่า 900 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งอยู่ในช่วงที่สูงเกินความต้องการ

                   ของพืชทั่วไปและอาจเป็นพิษต่อพืช (Kalra, 1998) สาเหตุเนื่องจากดินมีพีเอชต่่า ส่งผลให้แมงกานีสในรูปแมง

                   กานัส (Mn ) สามารถละลายออกมาได้ดี (สุทธิ์เดชา และคณะ, 2563) ต้นขมิ้นชันจึงดูดแมงกานีสไปสะสมในใบ
                            2+
                   เกินความจ่าเป็น ดังนั้น การปลูกพืชบริเวณชุดดินท่าแซะ จ่าเป็นต้องแก้ปัญหาความเป็นกรดของดินก่อน มี

                   รายงานหากพีเอชของดินเพิ่มขึ้น 1 หน่วย ความเข้มข้นของแมงกานัสไอออนในสารละลายดินจะลดลง 100 เท่า

                   (ยงยุทธ, 2552) อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเพิ่มปริมาณปุ๋ยโพแทสเซียม ความเข้มข้นแมงกานีสในใบมีแนวโน้มลดลง

                   ตามปริมาณปุ๋ยโพแทสเซียมที่เพิ่มขึ้น (ภาพที่ 8c) ชี้ให้เห็นว่า การเพิ่มปุ๋ยโพแทสเซียมอาจช่วยลดการดูดใช้
                   แมงกานีส ซึ่งอาจน่าไปปรับใช้เพื่อลดความเป็นพิษของแมงกานีสในพื้นที่อื่น ๆ ส่าหรับความเข้มข้นสังกะสีในใบ มี

                   แนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอัตราปุ๋ยโพแทสเซียม โดยเฉพาะเมื่อใส่ปุ๋ยตั้งแต่ 100 กิโลกรัม K O ต่อไร่ ขึ้นไป (ภาพที่ 8d)
                                                                                         2
                   แสดงให้เห็นว่า กรณีการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมในชุดดินท่าแซะส่าหรับขมิ้นชัน ส่งผลให้เกิดอันตรกิริยาเชิงบวกต่อการ

                   ดูดสังกะสีไปสะสมในใบ อาจเนื่องจากสังกะสีท่าหน้าที่เร่งกิจกรรมของเอนไซม์ซูเปอร์ออกไซด์ดีสมิวเทส (super

                   oxide dismutase, SOD) เพื่อสลายอนุมูลอิสระที่เกิดจากการสะสมแมงกานีสในเซลล์มากเกินไป ซึ่งช่วยลด
                   สภาวะเครียดของพืช (Li et al., 2017) จึงกระตุ้นให้ต้นขมิ้นชันดูดสังกะสีมาสะสมบริเวณใบพร้อมกับการดูดใช้

                   โพแทสเซียม
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41