Page 34 - ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน Effect of Nitrogen, Phosphorus and Potassium Fertilizers on Plant Growth, Products, Economic Return and Curcuminoids in Turmeric (Curcuma Longa L.)
P. 34

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                   กระบวนการดังกล่าว โดยมีอิทธิพลต่อกิจกรรมของเอนไซม์ไฮโดรจีเนส (hydrogenase) และคาร์บอนิกแอนไฮได

                   เรส (carbonic anhydrases) ช่วยรักษาเสถียรภาพของไรโบโซม รวมถึงช่วยสังเคราะห์ไซโทโครม

                   (cytochromes) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยในการสร้าง ATP จากการขนส่งอิเล็กตรอน (Hafeez et al., 2013) อย่างไร

                   ก็ตาม จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารในใบ พบว่า เมื่อความเข้มข้นของสังกะสีเพิ่มขึ้นส่งผลให้
                   ความเข้มข้นโพแทสเซียม (ภาพที่ 7b) และแคลเซียม (ภาพที่ 7c) ลดลง แสดงให้เห็นถึง แนวโน้มของการเป็น

                   ปฏิปักษ์ต่อกัน มีรายงานการเพิ่มความเข้มข้นโพแทสเซียมในสารละลายธาตุอาหารจาก 1 เป็น 8 มิลลิโมลต่อลิตร

                   ส่งผลให้ความเข้มข้นสังกะสีในใบกล้วยลดลงจาก 15.16 เหลือ 12.10 กรัมต่อกิโลกรัม (Freitas et al., 2017)

                   และมีรายงานความเป็นพิษของสังกะสีในถั่วเหลือง เมื่อส่วนเหนือดิน มีอัตราส่วน Ca/Zn น้อยกว่า 35 (Davis

                   and Parker, 1993) ส่วนกรณีของทองแดง พบว่า ความเข้มข้นในใบลดลงเมื่อใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสอัตราสูง 18 และ

                   22 กิโลกรัม P O  ต่อไร่ อาจเนื่องจาก อ่านาจการเป็นปฏิปักษ์ของฟอสฟอรัสกับทองแดง (Rietra et al., 2017)
                               2 5
                   จากประเด็นการเกิดปฏิปักษ์ระหว่างธาตุ ชี้ให้เห็นว่า การจัดการธาตุอาหารพืชมีความละเอียดอ่อน เกษตรกรจึง
                   ควรให้ความส่าคัญเรื่องสมดุลธาตุอาหารในดินและพืช





























                   ภาพที่ 6 ผลของอัตราปุ๋ยฟอสฟอรัสต่อความเข้มข้น ไนโตรเจน โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียม (a)

                   ฟอสฟอรัส และก่ามะถัน (b) เหล็ก และแมงกานีส (C) สังกะสี และทองแดง (d) ในใบขมิ้นชัน T1 ใส่ปุ๋ยสูตร 15-
                   15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ T2-T7 ได้รับปริมาณ N-K O-MgO-S อัตรา 23-50-1.4-0.8 กิโลกรัมต่อไร่ เท่ากัน
                                                                  2
                   ns = ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ส่วนตัวอักษรที่ต่างกันแสดงถึงความแตกต่างทางสถิติ (p≤0.05, HSD) SE = ค่า

                   ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39