Page 43 - ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน Effect of Nitrogen, Phosphorus and Potassium Fertilizers on Plant Growth, Products, Economic Return and Curcuminoids in Turmeric (Curcuma Longa L.)
P. 43

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                   4.3 ผลของอัตราปุ๋ยโพแทสเซียมต่อความเข้มข้นธาตุอาหารในเหง้าขมิ้นชัน

                          จากการศึกษาผลของอัตราปุ๋ยโพแทสเซียมต่อการสะสมธาตุอาหารในเหง้าขมิ้นชัน ช่วงระยะเก็บเกี่ยว

                   ผลผลิต พบว่า การสะสมโพแทสเซียมในเหง้าขมิ้นชันเพิ่มขึ้นตามอัตราปุ๋ยที่ใส่ โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยอัตราสูงกว่า

                   50 กิโลกรัม K O ต่อไร่ ส่งผลให้มีความเข้มข้นโพแทสเซียมในเหง้าอยู่ในช่วง 20.00-22.88 กรัมต่อกิโลกรัม สูง
                               2
                   กว่าวิธีเกษตรกร ที่มีความเข้มข้น 12.63 กรัมต่อกิโลกรัม (ภาพที่ 12a) ชี้ให้เห็นถึง การตอบสนองของต้นขมิ้นชัน

                   ในเชิงบวก การใช้วิธีเกษตรกรซึ่งใส่โพแทสเซียมต่่า จึงอาจไม่เหมาะส่าหรับดินที่ขาดแคลน เนื่องจากโพแทสเซียม

                   ท่าหน้าที่ล่าเลียงแป้งและน้่าตาลไปสร้างผลผลิต อย่างไรก็ตาม ความเข้มข้นโพแทสเซียมที่เพิ่มขึ้นมีผลให้การ

                   สะสมแคลเซียมและแมกนีเซียมในเหง้าขมิ้นชันลดลง (ภาพที่ 12a) เช่นเดียวกับกรณีของความเข้มข้นในใบ

                   เนื่องจากการเป็นปฏิปักษ์ต่อกันของธาตุอาหาร นอกจากนี้ พบว่า ความเข้มข้นของไนโตรเจน (ภาพที่ 12a) และ

                   เหล็ก (ภาพที่ 12c) เริ่มลดลงอย่างชัดเจนเมื่อมีการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมที่ระดับ 125 กิโลกรัม K O ต่อไร่ ส่วน
                                                                                                    2
                   สังกะสี (ภาพที่ 12d) และฟอสฟอรัส (ภาพที่ 12c) มีความเข้มข้นลดลงเมื่อใส่ปุ๋ยอัตรา 50 และ 100 กิโลกรัม
                   K O ต่อไร่ ตามล่าดับ ในขณะที่ การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมในทุกอัตรา ส่งผลให้ความเข้มข้นทองแดงในเหง้า อยู่
                    2
                   ในช่วง 14.75-29.50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ต่่ากว่า วิธีเกษตรกรอย่างเด่นชัด 58.75 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ภาพที่

                   12d) ทั้งที่ สังกะสีและทองแดงในใบ มีแนวโน้มสะสมเพิ่มขึ้นตามปริมาณปุ๋ยโพแทสเซียม แสดงให้เห็นว่า

                   โพแทสเซียมมีอันตรกิริยาเชิงบวกต่อการดูดธาตุทั้งสองมาสะสมในใบ เนื่องจากมีบทบาทช่วยลดความเครียดที่เกิด

                   จากแมงกานีส ในขณะที่ เป็นปฏิปักษ์ต่อการเคลื่อนย้ายธาตุทั้งสองไปสะสมในเหง้า อาจเพราะมีความสามารถใน
                   การเคลื่อนย้ายภายในเซลล์ต่่ากว่าโพแทสเซียม ดังนั้น การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมส่าหรับขมิ้นชันควรระวังผลกระทบ

                   เชิงลบที่อาจมีผลยับยั้งการเคลื่อนย้ายสังกะสีและทองแดงภายในเซลล์ ส่วนอิทธิพลต่อความเข้มข้นแมงกานีส

                   (ภาพที่ 12c) ยังไม่มีความชัดเจน เห็นได้จาก เหง้าขมิ้นชันมีการสะสมแมงกานีสเพิ่มขึ้นตามอัตราปุ๋ยโพแทสเซียม

                   โดยแมงกานีสมีบทบาทในการสังเคราะห์โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต (ยงยุทธ, 2552) มีรายงานเหง้าขมิ้นชันมีการ

                   สะสมคาร์โบไฮเดรต ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ (Nelson et al., 2017) แมงกานีสจึงเพิ่มขึ้นตามระดับ
                   โพแทสเซียม ซึ่งท่าหน้าที่ล่าเลียงสารต่าง ๆ มาสะสมในเหง้า อย่างไรก็ตาม ความเข้มข้นแมงกานีสลดลง เมื่อมี

                   การใส่ปุ๋ยในอัตรา 100 กิโลกรัม K O ต่อไร่ เนื่องจากความเข้มข้นของโพแทสเซียมที่สูงเกินไปมีผลเหนี่ยวน่าให้
                                                2
                   พืชดูดแมงกานีสได้น้อยลง จากผลการทดลองในภาพรวม แสดงให้เห็นว่า การตอบสนองระหว่างธาตุอาหารแต่ละ

                   ชนิดมีความแตกต่างกัน ค่อนข้างสลับซับซ้อน การศึกษาผลของอันตรกิริยาจากการใช้ปุ๋ยจึงเป็นสิ่งจ่าเป็น
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48