Page 38 - ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน Effect of Nitrogen, Phosphorus and Potassium Fertilizers on Plant Growth, Products, Economic Return and Curcuminoids in Turmeric (Curcuma Longa L.)
P. 38

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                   เนื่องจากวิธีเกษตรกรใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมในอัตราต่่า ในขณะที่ ความเข้มข้นในดินอยู่ในช่วงขาดแคลน ชี้ให้เห็นว่า

                   ขมิ้นชันมีการตอบสนองต่อการปรับสมดุลของธาตุอาหารในดิน โดยการเพิ่มปริมาณโพแทสเซียม ส่าหรับการ

                   สะสมแคลเซียม ในต่ารับการทดลองที่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราต่่าตามวิธีเกษตรกร และการใช้ปุ๋ยอัตราสูง 36 กับ 45

                   กิโลกรัม N ต่อไร่ มีการสะสมแคลเซียมสูงสุด 1.90, 2.00 และ 2.05 กรัมต่อกิโลกรัม ตามล่าดับ (ภาพที่ 9a)
                   แสดงให้เห็นถึง ความแปรปรวนต่อการตอบสนองต่อธาตุอาหาร อาจเนื่องจากอิทธิพลของธาตุอาหารชนิดหนึ่งที่มี

                   ผลต่อความสามารถในการดูดใช้ธาตุอาหารชนิดอื่นโดยอ้อม ซึ่งมีความซับซ้อน สอดคล้องกับผลการหา

                   ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นแคลเซียมกับไนโตรเจนในเหง้าขมิ้นชัน พบว่า เป็นไปในลักษณะเส้นโค้ง (ภาพที่

                   10a) ส่วนความเข้มข้นแมกนีเซียมและก่ามะถันมีแนวโน้มเพิ่มตามอัตราปุ๋ยไนโตรเจน พบความเข้มข้นสูงสุด 3.65

                   และ 0.65 กรัมต่อกิโลกรัม ตามล่าดับ ในต่ารับการทดลองที่ใช้ปุ๋ยอัตราสูง 45 กิโลกรัม N ต่อไร่ (ภาพที่ 9a-9b)

                   อาจเนื่องจากการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนส่งเสริมการดูดใช้ฟอสฟอรัสมาสะสมในเหง้าขมิ้นชัน ทั้งนี้ พบความเข้มข้น

                   ฟอสฟอรัสสูงสุด 0.75 และ 0.93 กรัมต่อกิโลกรัม ในต่ารับการทดลองที่ใส่ปุ๋ยอัตราสูง 36 และ 45 กิโลกรัม N
                   ต่อไร่ ตามล่าดับ (ภาพที่ 9b) ชี้ให้เห็นว่า ธาตุทั้งสองมีแนวโน้มอยู่ในสภาวะที่เสริมฤทธิ์กัน (ภาพที่ 10b) ซึ่งจาก

                   การหาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นฟอสฟอรัสกับแมกนีเซียม (ภาพที่ 10c) และก่ามะถัน (ภาพที่ 10d)

                   พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวก เมื่อปริมาณฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้นจากอันตรกิริยาเชิงบวกของปุ๋ยไนโตรเจน จึงชักน่าให้

                   มีการดูดใช้แมกนีเซียมและก่ามะถันเพิ่มตาม โดยฟอสฟอรัสท่าหน้าที่เป็นองค์ประกอบของรูปพลังงานที่ใช้ใน

                   กระบวนเมแทบอลิซึมของพืช (ยงยุทธ, 2552) แมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์เช่นเดียวกับ
                   ไนโตรเจน (Senbayram et al., 2015) ส่วนก่ามะถันเป็นองค์ประกอบของกรดอะมิโนในโครงสร้างของโปรตีน

                   (Droux, 2004) มีรายงาน การเพิ่มแมกนีเซียมอย่างเพียงพอในดินที่ขาดแคลนไนโตรเจน ส่งผลให้การดูดใช้

                   ไนโตรเจนเพิ่มขึ้น เนื่องจากแมกนีเซียมถูกเคลื่อนย้ายจากแหล่งสร้าง (source) ในส่วนของใบ ไปยังแหล่งสะสม

                   (sink) ช่วยให้รากเจริญเติบโตได้ดี จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดใช้ไนโตรเจน อีกทั้ง แมกนีเซียมช่วยเพิ่ม

                   กระบวนการสังเคราะห์แสงและช่วยเคลื่อนย้ายกรดอะมิโนไปยังส่วนที่เกี่ยวข้อง (Senbayram et al., 2015)
                   แสดงให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ในบทบาทเชิงสรีรวิทยาของกลุ่มธาตุดังกล่าว ส่าหรับความเข้มข้นของเหล็ก

                   แมงกานีส (ภาพที่ 9c) สังกะสี และทองแดง (ภาพที่ 9d) พบว่า มีความเข้มข้นลดลงอย่างเด่นชัด ในต่ารับการ

                   ทดลองที่ใช้ปุ๋ยอัตราสูง โดยเฉพาะกรณีของแมงกานีส มีความเข้มข้น 1,430, 1,361, 1,440 และ 1,043 มิลลิกรัม

                   ต่อกิโลกรัม เมื่อมีการใช้ปุ๋ยในอัตรา 18, 27, 36 และ 45 กิโลกรัม N ต่อไร่ ตามล่าดับ ต่่ากว่าวิธีเกษตรกร ซึ่งมี

                   ความเข้มข้นแมงกานีส 1,980 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ภาพที่ 9c) ทั้งนี้ ความเข้มข้นที่เหมาะสมของแมงกานีสในพืช

                   ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 20-300 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (Kalra, 1998) หากพืชมีการสะสมแมงกานีสสูงกว่าช่วงดังกล่าว

                   จึงอาจเป็นพิษต่อเซลล์พืช และเป็นปัจจัยจ่ากัดผลผลิต มีรายงานแตงโมแสดงอาการเป็นพิษเมื่อมีความเข้มข้น
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43