Page 37 - ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน Effect of Nitrogen, Phosphorus and Potassium Fertilizers on Plant Growth, Products, Economic Return and Curcuminoids in Turmeric (Curcuma Longa L.)
P. 37
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ภาพที่ 8 ผลของอัตราปุ๋ยโพแทสเซียมต่อความเข้มข้น ไนโตรเจน โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียม (a)
ฟอสฟอรัส และก่ามะถัน (b) เหล็ก และแมงกานีส (C) สังกะสี และทองแดง (d) ในใบขมิ้นชัน T1 ใส่ปุ๋ยสูตร 15-
15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ T2-T7 ได้รับปริมาณ N-P O -CaO-MgO-S อัตรา 23-11-1.4-1.4-2.5 กิโลกรัม
2 5
ต่อไร่ เท่ากัน ns = ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ส่วนตัวอักษรที่ต่างกันแสดงถึงความแตกต่างทางสถิติ (p≤0.05,
HSD) SE = ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน
4. ผลของอัตราปุ๋ยธาตุอาหารหลักต่อความเข้มข้นธาตุอาหารในเหง้าขมิ้นชัน
4.1 ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจนต่อความเข้มข้นธาตุอาหารในเหง้าขมิ้นชัน
การวิเคราะห์ธาตุอาหารในเหง้าขมิ้นชันช่วยบ่งชี้ระดับธาตุอาหารที่สูญเสียไปกับผลผลิต ท่าให้สามารถใช้
เป็นแนวทางในการชดเชยธาตุอาหารที่สูญเสียออกจากพื้นที่คืนสู่ดิน จากการประเมินความเข้มข้นธาตุอาหารใน
เหง้าขมิ้นชัน หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต พบว่า ความเข้มข้นไนโตรเจนในเหง้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอัตราปุ๋ยที่ใส่ การ
เพิ่มปุ๋ย 27 กิโลกรัม N ต่อไร่ ส่งผลให้มีความเข้มข้นไนโตรเจนในเหง้าขมิ้นชันสูงสุด 8.40 กรัมต่อกิโลกรัม แต่ไม่มี
ความแตกต่างกับการใส่ปุ๋ยอัตรา 9, 18 และ 36 กิโลกรัม N ต่อไร่ (ภาพที่ 9a) ชี้ให้เห็นว่า การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนใน
อัตราสูงเกินไปอาจสิ้นเปลืองค่าปุ๋ยโดยไม่เกิดประโยชน์ เนื่องจากการตอบสนองของขมิ้นชันมีจ่ากัด อย่างไรก็ตาม
ไนโตรเจนมีความจ่าเป็นส่าหรับการสร้างผลผลิต มีรายงานเหง้าขมิ้นชันมีโปรตีนสะสมอยู่ประมาณ 6-8
เปอร์เซ็นต์ ซึ่งโปรตีนมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ (Nelson et al., 2017) การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราที่
เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่เกษตรกรไม่ควรมองข้าม ส่วนความเข้มข้นโพแทสเซียม พบว่า การใส่ปุ๋ยวิธีเกษตรกร ส่งผล
ให้มีการสะสมโพแทสเซียม 12.63 กรัมต่อกิโลกรัม ต่่ากว่า ต่ารับการทดลองอื่น ทุกต่ารับการทดลอง (ภาพที่ 9a)