Page 33 - ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน Effect of Nitrogen, Phosphorus and Potassium Fertilizers on Plant Growth, Products, Economic Return and Curcuminoids in Turmeric (Curcuma Longa L.)
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


































                   ภาพที่ 5 ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นไนโตรเจนกับโพแทสเซียมในใบขมิ้นชัน



                   3.2 ผลของอัตราปุ๋ยฟอสฟอรัสต่อความเข้มข้นธาตุอาหารในใบขมิ้นชัน
                          จากการศึกษาผลของอัตราปุ๋ยฟอสฟอรัสต่อความเข้มข้นธาตุอาหารในใบขมิ้นชัน ประเมินจากใบที่

                   ขยายตัวเต็มที่ ในช่วงกลางฤดูปลูก พบว่า ทุกต่ารับการทดลองมีความเข้มข้นไนโตรเจนในใบไม่แตกต่างกัน อยู่

                   ในช่วง 17.20-19.50 กรัมต่อกิโลกรัม (ภาพที่ 6a) แสดงให้เห็นถึง ขีดจ่ากัดในการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนของ

                   ขมิ้นชันเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเกษตรกร หรือไนโตรเจนอาจมีการเคลื่อนย้ายไปสะสมในส่วนของเหง้า ในขณะที่

                   การใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสในทุกอัตรา ส่งผลให้มีความเข้มข้นโพแทสเซียมและแคลเซียมในใบต่่ากว่าการใช้วิธีเกษตรกร

                   (ภาพที่ 6a) อาจเนื่องจากการเพิ่มปุ๋ยฟอสฟอรัสรวมถึงธาตุอื่น ๆ ที่ใช้ยกระดับธาตุอาหารในดิน ส่งผลให้ต้น
                   ขมิ้นชันมีการตอบสนองต่อธาตุอาหารที่ขาดจึงกระตุ้นให้เกิดกระบวนการเมแทบอลิซึม ท่าให้มีการเคลื่อนย้าย

                   โพแทสเซียมและแคลเซียมไปยังผลผลิตอย่างรวดเร็วจึงเหลือความเข้มข้นในใบต่่า ทั้งนี้ โพแทสเซียมท่าหน้าที่ใน

                   การล่าเลียงแป้งและน้่าตาลไปสร้างผลผลิต ส่วนแคลเซียมท่าหน้าที่สร้างความแข็งแรงให้แก่ท่อล่าเลียงน้่าและ

                   อาหาร (ยงยุทธ, 2552) อย่างไรก็ตาม พบว่า ความเข้มข้นฟอสฟอรัส ก่ามะถัน (ภาพที่ 6b)  เหล็ก แมงกานีส

                   (ภาพที่ 6c) และสังกะสี (ภาพที่ 6d) ในใบของทุกต่ารับการทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ แต่กรณีของ

                   ฟอสฟอรัสกับสังกะสีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอัตราปุ๋ยที่ใส่ โดยใบขมิ้นชันมีความเข้มข้นสังกะสีเพิ่มขึ้นตามความ
                   เข้มข้นฟอสฟอรัส (ภาพที่ 7a) แสดงให้เห็นถึง แนวโน้มของสภาวะที่ส่งเสริมกัน ซึ่งให้ผลไปในทิศทางตรงข้ามกับ

                   รายงานการเป็นปฏิปักษ์ของธาตุทั้งสอง (Soltangheisi et al., 2014) อาจเป็นเพราะดินที่ใช้ทดลองมีปริมาณ

                   ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่่า เมื่อมีการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสท่าให้ช่วยเติมเต็มธาตุอาหารในส่วนที่ขาด ส่งผลให้พืชมี

                   การตอบสนองต่อกระบวนการเมแทบอลิซึม และส่งเสริมการดูดใช้สังกะสี เนื่องจากสังกะสีมีบทบาทเกี่ยวข้องกับ
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38