Page 31 - ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน Effect of Nitrogen, Phosphorus and Potassium Fertilizers on Plant Growth, Products, Economic Return and Curcuminoids in Turmeric (Curcuma Longa L.)
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                   3. ผลของอัตราปุ๋ยธาตุอาหารหลักต่อความเข้มข้นธาตุอาหารในใบขมิ้นชัน

                   3.1 ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจนต่อความเข้มข้นธาตุอาหารในใบขมิ้นชัน

                          การวิเคราะห์ธาตุอาหารในใบช่วยบ่งชี้ความเพียงพอหรือความสามารถในการดูดใช้ธาตุอาหารของพืช

                   จากการประเมินความเข้มข้นธาตุอาหารในใบที่ขยายตัวเต็มที่ ในช่วงกลางฤดูปลูก พบว่า ทุกต่ารับการทดลองมี
                   ความเข้มข้นไนโตรเจนในใบไม่แตกต่างกัน อยู่ในช่วง 17.38-19.93 กรัมต่อกิโลกรัม (ภาพที่ 4a) แสดงให้เห็นถึง

                   ขีดจ่ากัดในการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนของขมิ้นชัน หรือไนโตรเจนอาจมีการเคลื่อนย้ายไปสะสมบริเวณเหง้า

                   จึงควรวิเคราะห์ความเข้มข้นธาตุอาหารในเหง้าเพื่อประเมินการสะสมธาตุอาหาร ส่วนความเข้มข้นโพแทสเซียม

                   พบว่า มีแนวโน้มลดลงเมื่ออัตราปุ๋ยไนโตรเจนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการใส่ปุ๋ยอัตรา 45 กิโลกรัม N ต่อไร่ ส่งผลให้มี

                   ความเข้มข้นโพแทสเซียมในใบต่่าสุด 23.38 กรัมต่อกิโลกรัม (ภาพที่ 4a) ชี้ให้เห็นว่า ไนโตรเจนอาจเป็นปฏิปักษ์

                   ต่อการดูดใช้โพแทสเซียม จึงควรระวังการใช้ปุ๋ยทั้งสองชนิด ผลการศึกษาในครั้งนี้ ให้ผลตรงกันข้ามกับข้อมูลที่มี

                   รายงานถึงอันตรกิริยาเชิงบวกของธาตุทั้งสอง (Rietra et al., 2017) อาจเนื่องจาก ลักษณะความสัมพันธ์ของ
                   ไนโตรเจนกับโพแทสเซียมเป็นไปในลักษณะเส้นโค้งระฆังคว่่า (ภาพที่ 5) เมื่อปริมาณไนโตรเจนสูงเกินไป ท่าให้

                   เกิดการแข่งแย่งกับโพแทสเซียมในสารละลายดิน ส่งผลให้ต้นขมิ้นชันดูดโพแทสเซียมได้น้อยลง ส่าหรับ

                   แมกนีเซียมในใบของต่ารับการทดลองที่ใส่ปุ๋ย 18, 36 และ 45 กิโลกรัม N ต่อไร่ พบว่า มีความเข้มข้น 3.18,

                   3.60 และ 3.70 กรัมต่อกิโลกรัม ตามล่าดับ สูงกว่าวิธีเกษตรกร ที่มีความเข้มข้นแมกนีเซียมในใบ 1.95 กรัมต่อ

                   กิโลกรัม (ภาพที่ 4a) แสดงให้เห็นว่า ต้นขมิ้นชันมีการตอบสนองต่อแมกนีเซียม โดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ย
                   ไนโตรเจนอัตราสูง เนื่องจากธาตุทั้งสองท่าหน้าที่เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ (ยงยุทธ, 2552) จึงมีการ

                   ตอบสนองแบบส่งเสริมกัน อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างของความเข้มข้น แคลเซียม (ภาพที่ 4a) ฟอสฟอรัส

                   ก่ามะถัน (ภาพที่ 4b) และแมงกานีส (ภาพที่ 4c) ในใบขมิ้นชัน อาจเนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายธาตุดังกล่าวไปยัง

                   ผลผลิต ในขณะที่ การใช้วิธีเกษตรกรมีความเข้มข้นของเหล็กในใบ สูงสุด 227 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และมีความ

                   เข้มข้นลดลงเมื่อมีอัตราปุ๋ยไนโตรเจนเพิ่มขึ้น (ภาพที่ 4c) ชี้ให้เห็นว่า ไนโตรเจนสามารถเป็นปฏิปักษ์ต่อการดูดใช้
                   ธาตุเหล็ก ดังนั้น ในดินที่มีปัญหาความเป็นพิษจากเหล็ก การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสามารถใช้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งใน

                   การลดการดูดใช้ธาตุดังกล่าว ส่วนความเข้มข้นของสังกะสีค่อนข้างแปรปรวน ชี้ให้เห็นถึง ความซับซ้อนของ

                   ลักษณะความสัมพันธ์ข้อมูล พบค่า สูงสุด ต่่าสุด 39.75 และ 24.25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในต่ารับการทดลองที่ใส่

                   ปุ๋ยอัตรา 9 และ 27 กิโลกรัม N ต่อไร่ ตามล่าดับ (ภาพที่ 4d) นอกจากนี้ พบว่า ความเข้มข้นทองแดงเพิ่มขึ้น

                   สูงสุด 11.25 และ 10.25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เมื่อใส่ปุ๋ยอัตรา 9 และ 18 กิโลกรัม N ต่อไร่ ตามล่าดับ แต่เมื่อ

                   อัตราปุ๋ยเพิ่มขึ้นอีก ส่งผลให้ความเข้มข้นทองแดงลดลง (ภาพที่ 4d) แสดงให้เห็นถึง สภาวะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน

                   มีรายงานการเพิ่มปริมาณทองแดงให้มีความเข้มข้น 10 และ 20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในดินที่ขาดแคลนทองแดง
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36