Page 30 - ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน Effect of Nitrogen, Phosphorus and Potassium Fertilizers on Plant Growth, Products, Economic Return and Curcuminoids in Turmeric (Curcuma Longa L.)
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                   เกษตรกร ที่มีไนโตรเจนทั้งหมด 0.35 กรัมต่อกิโลกรัม (ภาพที่ 3b) ทั้งนี้ เนื่องจากอิทธิพลของปุ๋ยไนโตรเจนที่ใส่

                   เพื่อปรับความสมดุลของธาตุอาหาร ใช้อัตราสูงกว่าวิธีเกษตรกร ประกอบกับมีรายงานโพแทสเซียมมีอันตรกิริยา
                   เชิงบวกกับไนโตรเจน (Rietra et al., 2017) จึงส่งผลให้ไนโตรเจนทั้งหมดในดินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามปริมาณปุ๋ย

                   โพแทสเซียม พบว่า การใช้ปุ๋ยอัตรา 25, 50, 75, 100 และ 125 กิโลกรัม K O ต่อไร่  ส่งผลให้ดินมีโพแทสเซียมที่
                                                                                 2
                   สกัดได้ 97, 122, 176, 183 และ 322 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สูงกว่าต่ารับการทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม และ
                   วิธีเกษตรกร 21 และ 27 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล่าดับ (ภาพที่ 3c) ชี้ให้เห็นว่า การใช้ปุ๋ยวิธีเกษตรกร อาจให้

                   โพแทสเซียมต่่าเกินไป เนื่องจากหลังใส่ปุ๋ยระดับโพแทสเซียมที่สกัดได้ยังอยู่ในระดับต่่า (ส่านักวิทยาศาสตร์เพื่อ

                   การพัฒนาที่ดิน, 2547ข) อย่างไรก็ตาม ทุกต่ารับการทดลองไม่พบความแตกต่างของปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็น
                   ประโยชน์ รวมถึงแคลเซียม แมกนีเซียม และก่ามะถันที่สกัดได้ (ภาพที่ 3d) ทั้งนี้ กรณีของฟอสฟอรัส ขมิ้นชัน

                   อาจตอบสนองต่อปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ใส่เพื่อปรับสมดุลธาตุอาหาร จึงถูกดูดไปใช้จากดิน ท่าให้เหลือระดับฟอสฟอรัส
                   ที่เป็นประโยชน์ไม่แตกต่างกันกับวิธีเกษตรกร ซึ่งใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัสในอัตราต่่ากว่าเล็กน้อย ส่วนปริมาณแมกนีเซียม

                   ที่สกัดได้ในต่ารับการทดลองที่เพิ่มธาตุอาหารชนิดดังกล่าว อาจถูกรบกวนจากปริมาณปุ๋ยโพแทสเซียม ส่งผลให้อยู่

                   ในระดับที่ไม่แตกต่างกับวิธีเกษตรกร เนื่องจากทั้งสองธาตุเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน (Rietra et al., 2017) ดังนั้น การใส่
                   ปุ๋ยควรระวังเรื่องความสมดุลของธาตุอาหารในดิน






























                   ภาพที่ 3 ผลของอัตราปุ๋ยแทสเซียมต่อพีเอชดิน (a) ไนโตรเจนทั้งหมด (b) โพแทสเซียมที่สกัดได้ (c) ฟอสฟอรัสที่

                   เป็นประโยชน์ แคลเซียม แมกนีเซียม และก่ามะถันที่สกัดได้ (d) T1 ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่

                   T2-T7 ได้รับปริมาณ N-P O -CaO-MgO-S อัตรา 23-11-1.4-1.4-2.5 กิโลกรัมต่อไร่ เท่ากัน ns = ไม่มีความ
                                         2 5
                   แตกต่างทางสถิติ ส่วนตัวอักษรที่ต่างกันแสดงถึงความแตกต่างทางสถิติ (p≤0.05, HSD) SE = ค่าความคลาด

                   เคลื่อนมาตรฐาน
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35