Page 28 - ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน Effect of Nitrogen, Phosphorus and Potassium Fertilizers on Plant Growth, Products, Economic Return and Curcuminoids in Turmeric (Curcuma Longa L.)
P. 28
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2.2 ผลของอัตราปุ๋ยฟอสฟอรัสต่อสมบัติดินบางประการ
ฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบของรูปพลังงานที่พืชจ่าเป็นต้องใช้ในกระบวนการเมแทบอลิซึมระดับเซลล์
จากการศึกษาผลของอัตราปุ๋ยฟอสฟอรัสต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติดิน ในพื้นที่ขาดแคลนฟอสฟอรัส ส่าหรับใช้
ปลูกขมิ้นชัน โดยใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสอัตรา 0, 4, 9, 13, 18 และ 22 กิโลกรัม P O ต่อไร่ ตามล่าดับ เปรียบเทียบ
2 5
กับวิธีของเกษตรกร ซึ่งใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อวิเคราะห์สมบัติดินหลังการใส่ปุ๋ย พบว่า
การใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสในอัตราสูง 13 และ 18 กิโลกรัม P O ต่อไร่ มีผลให้ระดับพีเอชดินสูงกว่าการใช้วิธีแบบ
2 5
เกษตรกร (ภาพที่ 2a) ทั้งนี้ อาจเนื่องจากฟอสฟอรัสที่เพิ่มในดินไปจับกับเหล็ก อะลูมินัม และแมงกานีส อยู่ในรูป
ที่ละลายน้่าได้น้อยลง ท่าให้จ่ากัดการปลดปล่อยไฮโดรเจนไอออน ที่เกิดจากปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส (hydrolysis)
ของทั้งสามชนิดธาตุ จึงช่วยยับยั้งความเป็นกรดของดิน อย่างไรก็ตาม ระดับพีเอชของทุกต่ารับการทดลองยังอยู่
ในช่วงต่่า การปลูกพืชบริเวณดังกล่าวจึงจ่าเป็นต้องใช้วัสดุปูน เพื่อลดความเป็นกรด และเพิ่มความเป็นประโยชน์
ของธาตุอาหารในดิน ส่วนปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ต่ารับการทดลองที่ใส่ปุ๋ยอัตรา 4 และ 9 กิโลกรัม P O ต่อ
2 5
ไร่ มีการสะสมไนโตรเจนในดิน 1.12 และ 0.95 กรัมต่อกิโลกรัม สูงกว่าวิธีของเกษตรกร และการใส่ปุ๋ยอัตราสูง
18 และ 22 กิโลกรัม P O ต่อไร่ ซึ่งมีไนโตรเจนทั้งหมด 0.35, 0.36 และ 0.35 กรัมต่อกิโลกรัม ตามล่าดับ (ภาพ
2 5
ที่ 2b) อาจเนื่องจากการใส่ปุ๋ยวิธีเกษตรกรมีไนโตรเจนต่่า ส่งผลให้หลังใส่ปุ๋ยต้นขมิ้นชันดูดไนโตรเจนไปใช้จึงเหลือ
สะสมในดินน้อย ส่วนการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสอัตราสูง อาจช่วยส่งเสริมการดูดใช้ไนโตรเจนของต้นขมิ้น เนื่องจากธาตุ
ทั้งสองมีสภาวะเสริมฤทธิ์กัน (synergistic) (Rietra et al., 2017) ส่งผลให้มีการดูดใช้ไนโตรเจนอย่างรวดเร็วจึง
เหลือสะสมในดินต่่า ส่าหรับฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอัตราปุ๋ยที่ใส่ โดยเฉพาะการใส่
ปุ๋ยอัตรา 22 กิโลกรัม P O ต่อไร่ มีผลให้ดินมีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์สูงสุด 46.7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วน
2 5
การใส่ปุ๋ยอัตราอื่นและวิธีเกษตรกรไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (ภาพที่ 2c) แสดงให้เห็นว่า ขมิ้นชันอาจดูดใช้
ฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้นตามอัตราปุ๋ยที่ใส่จึงเหลือระดับฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม
ปริมาณแคลเซียมและก่ามะถันที่สกัดได้ในแต่ละต่ารับการทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ในขณะที่ ปริมาณ
โพแทสเซียมที่สกัดได้ สะสมในดินสูงสุด 153 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในต่ารับการทดลองที่ใส่ปุ๋ยอัตรา 13 กิโลกรัม
P O ต่อไร่ สูงกว่าการใส่ปุ๋ยวิธีเกษตรกร ซึ่งมีปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้อยู่ในระดับต่่า 27.35 มิลลิกรัมต่อ
2 5
กิโลกรัม (ภาพที่ 2d) ชี้ให้เห็นว่า การใส่ปุ๋ยแบบเกษตรกรไม่เหมาะกับดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากหลัง
ใส่ปุ๋ยดินยังคงมีปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้อยู่ในช่วงขาดแคลน (ส่านักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน, 2547
ข) การใส่ปุ๋ยวิธีดังกล่าว จึงไม่สามารถรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้ได้ ส่วนแมกนีเซียมที่สกัดได้ พบค่า สูงสุด
ในต่ารับการทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส 26.27 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ภาพที่ 2d) อาจเนื่องจากการขาดแคลน
ฟอสฟอรัสกระทบต่อกระบวนการเมแทบอลิซึมของขมิ้นชัน จึงมีการดูดใช้แมกนีเซียมจากดินน้อย โดย