Page 26 - ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน Effect of Nitrogen, Phosphorus and Potassium Fertilizers on Plant Growth, Products, Economic Return and Curcuminoids in Turmeric (Curcuma Longa L.)
P. 26
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ตารางที่ 1 สมบัติดินก่อนการทดลอง
สมบัติดิน ผลวิเคราะห์ การแปลผล
Sand (%) 80.5 -
Silt (%) 6.5 -
Clay (%) 13.0 -
Texture sandy loam 1/ ดินเนื้อหยาบ
pH 4.5 1/ กรดรุนแรงมาก
OM (g/kg) 13.5 1/ ค่อนข้างต่่า
N (g/kg) 0.95 2/ ต่่า
Avail. P (mg/kg) 1.62 1/ ต่่ามาก
Extr. K (mg/kg) 39.83 1/ ต่่า
Extr. Ca (mg/kg) 58.67 1/ ต่่ามาก
Extr. Mg (mg/kg) 18.75 1/ ต่่ามาก
Extr. S (mg/kg) 10.08 1/ ต่่า
1/
หมายเหตุ : ส่านักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน, 2547ข
Nyi et al., 2017
2/
2. ผลของอัตราปุ๋ยธาตุอาหารหลักต่อสมบัติดินบางประการ
2.1 ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจนต่อสมบัติดินบางประการ
ไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ ซึ่งมีบทบาทในกระบวนสังเคราะห์แสง จึงเป็นธาตุอาหารที่
พืชต้องการในปริมาณสูง จากการศึกษาผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจนต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติดิน ในพื้นที่ขาด
แคลนไนโตรเจน ส่าหรับใช้ปลูกขมิ้นชัน โดยใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 0, 9, 18, 27, 36 และ 45 กิโลกรัม N ต่อไร่
ตามล่าดับ เปรียบเทียบกับวิธีของเกษตรกร ซึ่งใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อวิเคราะห์สมบัติ
ดินหลังการใส่ปุ๋ย พบว่า การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในทุกอัตราไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพีเอชดิน (ภาพที่ 1a) ทั้งนี้
อาจเนื่องจากดินมีความสามารถในการต้านทานการเปลี่ยนแปลงพีเอช ซึ่งเป็นกลไกรักษาสมดุลไอออนของ
คอลลอยด์ดิน ปริมาณไฮโดรเจนไอออนที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีของปุ๋ยจึงไม่ท่าให้ระดับพีเอชมีการเปลี่ยนแปลง
มากนัก แต่ส่งผลให้ระดับไนโตรเจนทั้งหมดในดินเพิ่มขึ้นตามอัตราที่ใส่ โดยเฉพาะการใส่ปุ๋ยอัตรา 27, 36 และ
45 กิโลกรัม N ต่อไร่ ท่าให้ดินมีไนโตรเจนทั้งหมดสูงสุด 0.78, 0.74 และ 0.83 กรัมต่อกิโลกรัม ตามล่าดับ (ภาพ
ที่ 1b) ชี้ให้เห็นว่า ปุ๋ยทั้งสามอัตราอาจสูงกว่าความต้องการของขมิ้นชันจึงเหลือสะสมในดิน ส่วนฟอสฟอรัสที่เป็น