Page 25 - ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน Effect of Nitrogen, Phosphorus and Potassium Fertilizers on Plant Growth, Products, Economic Return and Curcuminoids in Turmeric (Curcuma Longa L.)
P. 25

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                                                           ผลและวิจารณ์


                   1. ข้อมูลดินที่ใช้ศึกษา


                          ดินที่ใช้ในการศึกษาเป็นชุดดินท่าแซะ (Tha Sae series: Te, Fine-loamy, kaolinitic, isohyperthermic

                   Typic Kandiudults) สามารถพบได้ในบริเวณที่ดอนที่มีหินพื้นเป็นหินทรายในบริเวณภาคใต้และภาคตะวันออก
                   ของประเทศ ลักษณะดินเกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ของกลุ่มหินเนื้อหยาบ หรืออาจถูกเคลื่อนย้ายมาเป็น

                   ระยะทางใกล้ ๆ โดยแรงโน้มถ่วงของโลก ส่งผลให้ชุดดินท่าแซะเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่่า จึงมีความ

                   เหมาะสมส่าหรับน่ามาใช้ทดสอบการตอบสนองต่อธาตุอาหารของพืช สอดคล้องกับผลวิเคราะห์สมบัติดินก่อนการ

                   ทดลอง พบว่า ลักษณะดินจัดอยู่ในกลุ่มเนื้อหยาบ มีอนุภาคขนาดทรายสูง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมาก ส่วน

                   ปริมาณอินทรียวัตถุ ไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซียม แคลเซียม  และแมกนีเซียมที่

                   สกัดได้ อยู่ในระดับต่่า (ตารางที่ 1) ทั้งนี้ เนื่องจากลักษณะดินเนื้อหยาบ มีความสามารถในการดูดซับธาตุอาหาร

                   ต่่า แต่มีการระบายน้่าดี เมื่อเกิดฝนตกหรือมีน้่าไหลบ่าหน้าดิน ธาตุอาหารพืชส่วนใหญ่จึงถูกชะละลายออกไป
                   ในขณะที่ ไฮโดรเจนไอออน (H ) มีความสามารถในการไล่ที่หรือแทนที่บริเวณผิวคอลลอยด์ดินหรือบริเวณที่
                                             +
                   สามารถแลกเปลี่ยนได้สูงกว่าแคตไอออนอื่น ๆ จึงมักเหลือตกค้างอยู่ในดินและส่งผลให้ดินเป็นกรด นอกจากนี้

                   ลักษณะดินเนื้อหยาบมีส่วนช่วยให้ออกซิเจนในดินแพร่กระจายได้ดี จึงมีส่วนช่วยเร่งกิจกรรมของจุลินทรีย์ใน

                   กระบวนการย่อยสลายอินทรีย์สารในดิน มีผลให้อินทรียวัตถุถูกย่อยสลายอย่างรวดเร็ว จึงมีเหลือตกค้างอยู่ในดิน

                   ต่่า ดังนั้น การปลูกพืชบริเวณพื้นที่ดังกล่าวจ่าเป็นต้องมีการปรับปรุงดินให้มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต
                   ของพืช ได้แก่ การยกระดับพีเอช โดยการใช้วัสดุปูน การเพิ่มอินทรียวัตถุโดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ควบคู่กับการเพิ่ม

                   ปริมาณธาตุอาหารในดินโดยการใช้ปุ๋ยเคมี เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การใช้ปุ๋ยในพืชแต่ละชนิดจ่าเป็นต้องมี

                   การศึกษาถึงระดับความเพียงพอต่อความต้องการของพืชแบบเฉพาะเจาะจง
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30