Page 23 - ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน Effect of Nitrogen, Phosphorus and Potassium Fertilizers on Plant Growth, Products, Economic Return and Curcuminoids in Turmeric (Curcuma Longa L.)
P. 23
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2.4 การบันทึกข้อมูลผลผลิต
น าตัวอย่างเหง้าขมิ้นชันในแต่ละแปลงย่อยมาล้างท าความสะอาดเอาดินออกรวมถึงตัดส่วนของ
รากทิ้ง ชั่งและบันทึกน้ าหนักสดของขมิ้นชันแต่ละกอ ค านวณน้ าหนักสดที่ได้เป็นผลผลิตต่อแปลงย่อยและต่อไร่
ตามล าดับ จากนั้นน าเหง้าขมิ้นชันในแต่ละแปลงย่อย ประมาณ 50 กรัม มาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ น าไปชั่งน้ าหนัก
ก่อนอบ จากนั้นน าไปอบที่อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส จนน้ าหนักคงที่ ค านวณหาน้ าหนักแห้ง (ส านัก
วิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน, 2547ก) ประเมินน้ าหนักแห้งที่ได้เป็นผลผลิตต่อแปลงย่อยและต่อไร่ ตามล าดับ
2.5 การวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินและพืช
1) การวิเคราะห์ดิน
น าตัวอย่างดินมาอบที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 สัปดาห์ จากนั้นจึงบดและร่อน
ผ่านตะแกรงขนาดช่องเปิด 2 มิลลิเมตร (ISO 11464, 2006) น าตัวอย่างที่ได้มาวิเคราะห์ค่าพีเอช (pH) (ISO
10390, 2005) ไนโตรเจนทั้งหมด (total nitrogen) (ISO 13878, 1998) รวมถึงปริมาณอินทรียวัตถุ (organic
matter) ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (available phosphorus) ปริมาณโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และ
ก ามะถันที่สกัดได้ (extractable potassium, calcium magnesium and sulfur) ตามคู่มือวิเคราะห์ดิน
(Jones, 2001) และหาขนาดอนุภาคเนื้อดินด้วยวิธีไฮโดรมิเตอร์ (hydrometer method) (Bouyoucos, 1927)
2) การวิเคราะห์พืช
น าตัวอย่างใบขมิ้นชันมาเช็ดท าความสะอาดด้วยผ้าสะอาดที่ผ่านการชุบน้ าพอหมาด ๆ ตัดเป็น
ชิ้นเล็ก ๆ ส่วนเหง้าขมิ้นชัน น าเหง้าที่ผ่านการล้างท าความสะอาด ประมาณ 200 กรัม มาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ
หลังจากนั้น น าตัวอย่างใบและเหง้า ไปอบที่อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส จนน้ าหนักคงที่ น าตัวอย่างไปบดและ
ร่อนผ่านตะแกรงขนาด 60 เมช ส าหรับใช้วิเคราะห์หาปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม
แมกนีเซียม ก ามะถัน เหล็ก แมงกานีส สังกะสี และทองแดงทั้งหมด (total nitrogen, phosphorus,
potassium, calcium, magnesium sulfur, iron, manganese, zinc and copper) ตามคู่มือวิเคราะห์พืช
(Jones, 2001)
2.6 การวิเคราะห์สารเคอร์คูมินอยด์
น าตัวอย่างเหง้าอีกส่วนที่ผ่านการบดเป็นผง มาหาปริมาณเคอร์คูมินอยด์ โดยชั่งตัวอย่างผง
ขมิ้นชันประมาณ 0.3 กรัม ใส่ขวดปริมาตรขนาด 10 มิลลิลิตร บันทึกน้ าหนักที่แน่นอน ละลายตัวอย่างด้วย
สารละลายเตตระไฮโดรฟิวแรน และปรับปริมาตรให้ได้ 10 มิลลิลิตร พร้อมกับท าแบลงค์ น าไปเขย่าเบา ๆ บน
เครื่องเขย่าเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง หลังเขย่า ดูดสารละลายใสเหนือตะกอน มา 1 มิลลิลิตร ใส่ในขวดปริมาตรที่
1 ปรับปริมาตรเป็น 25 มิลลิลิตร ด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ จากนั้น ดูดสารละลายจากขวดปริมาตรที่ 1 มา 1
มิลลิลิตร ใส่ในขวดปริมาตรที่ 2 ปรับปริมาตรเป็น 50 มิลลิลิตร ด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ น าสารละลายที่ได้ไปวัดค่า
การดูดกลืนแสงด้วยเครื่องวิสิเบิลสเปกโทรโฟโทมิเตอร์ ความยาวคลื่น 420 นาโนเมตร โดยวัดสารละลาย