Page 16 - ผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่างจังหวัดนครสวรรค์ Effects of drip irrigation on sugarcane yield and qualityon calcareous soil in Nakhonsawan province
P. 16
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
3.3.2 การให้น้ำแบบพ่นฝอย (Sprinkler irrigation) การให้น้ำแบบนี้ใช้ได้กับทุก
สภาพพื้นที่และทุกชนิดดิน ประสิทธิภาพ ในการใช้น้ำอาจเกิน 75 เปอร์เซ็นต์ได้ ถ้ามีการจัดการที่
ถูกต้องและ เหมาะสม การให้น้ำแบบนี้มีหลายรูปแบบ เช่น - สปริงเกอร์หัวใหญ่ ต้องใช้ปั๊มน้ำแรงดัน
สูงและมีทางวิ่งถาวร ในแปลงอ้อย - สปริงเกอร์แบบหัวเล็กเคลื่อนย้ายได้ ใช้สำหรับอ้อยปลูกหรือ
อ้อยตออายุน้อย และปริมาณน้ำที่ให้มีจำกัด มีข้อเสียคือ ต้องใช้ แรงงานมากในการเคลื่อนย้าย และ
ไม่สามารถใช้กับอ้อยสูงได้ - สปริงเกอร์แบบหัวเล็กบนแขนระนาบ (Lateral move irrigators) ข้อดี
คือสามารถให้น้ำในพื้นที่ขนาดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้แรงงานน้อย แต่มีข้อเสียคือใช้ต้นทุน
สูงสำหรับอุปกรณ์และเครื่องมือ - สปริงเกอร์แบบหัวเล็กขนแขนที่เคลื่อนเป็นวงกลมรอบจุด
ศูนย์กลาง (Centre -pivot irrigators)
3.3.3 การให้น้ำแบบน้ำหยด (Drip irrigation)
เป็นวิธีการให้น้ำที่มีประสิทธิภาพในการให้น้ำสูงสุด โดยสามารถให้น้ำเฉพาะรอบ ๆ
รากพืช และสามารถให้ปุ๋ยและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชไปพร้อมกับน้ำได้เลย ปัจจุบันมีใช้กันอยู่
2 แบบ คือ
1) ระบบน้ำหยดบนผิวดิน (Surface system) ระบบนี้จะวางสายให้น้ำบน
ผิวดินในแนวกึ่งกลางร่อง หรือข้างร่อง อาจวางทุกร่องหรือร่องเว้นร่อง
2) ระบบน้ำหยดใต้ผิวดิน (Subsurface system) ระบบนี้จะต้องวางสาย
ให้น้ำก่อนปลูก โดยปกติจะฝังลึกประมาณ 25-30 ซม. และสายให้น้ำจะอยู่ใต้ท่อนพันธุ์อ้อยประมาณ
10 ซม.
ระบบน้ำหยด เป็นเทคโนโลยีการชลประทานวิธีหนึ่งในหลายวิธี เป็นการให้น้ำแก่พืช โดย
การส่งน้ำผ่านระบบท่อและปล่อยน้ำออกทางหัวน้ำหยด ซึ่งติดตั้งไว้บริเวณโคนต้นพืช น้ำจะหยดซึม
ลงมาบริเวณรากช้า ๆ สม่ำเสมอในอัตรา 4-20 ลิตร ต่อชั่วโมง ที่แรงดัน 5-25 PSI ขึ้นอยู่กับระบบ
ชนิดพืช ขนาดพื้นที่ และชนิดของดิน ทำให้ดินมีความชื้นคงที่ในระดับที่พืชต้องการและเหมาะสม
ตลอดเวลา ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ
3.3.4 ข้อดีของน้ำหยดมีหลายประการ ดังนี้
1) ประหยัดน้ำมากกว่าทุก ๆ วิธี ไม่ว่ารดด้วยมือหรือใช้สปริงเกลอร์ หรือ
วิธีอื่นใดก็ตามและแก้ปัญหาภาวะวิกฤตการขาดแคลนน้ำในบางฤดูซึ่งเริ่มเกิดขึ้นในปัจจุบัน
2) ประหยัดต้นทุนในการบริหารจัดการ กล่าวคือ ลงทุนครั้งเดียวแต่ให้ผล
คุ้มค่าในระยะยาว การติดตั้งอุปกรณ์ไม่ยุ่งยาก ติดตั้งครั้งเดียวและใช้งานได้ตลอดอายุ สามารถ
ควบคุมการ เปิด-ปิดน้ำ โดยใช้ระบบ manual และ automatic หรือ micro controller โดยเฉพาะ
ระบบตั้งเวลาและตรวจจับความชื้นทำให้ประหยัดค่าแรง มีรายงานการใช้แรงงานดูแลและ
บำรุงรักษาระบบในแปลงองุ่นที่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ พบว่า ใช้แรงงาน 1 แรง ต่อพื้นที่ 50 เอเคอร์
(100 ไร่) ต่อวัน
3) ใช้ได้กับพื้นที่ทุกประเภทไม่ว่าดินร่วน ดินทราย หรือดินเหนียว รวมทั้ง
ดินเค็มและดินด่าง และไม่ละลายเกลือมาตกค้างอยู่ที่ผิวดินบน
4) สามารถใช้กับพืชประเภทต่าง ๆ ได้เกือบทุกชนิด ยกเว้นพืชที่ต้องการ
น้ำขัง