Page 15 - ผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่างจังหวัดนครสวรรค์ Effects of drip irrigation on sugarcane yield and qualityon calcareous soil in Nakhonsawan province
P. 15
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
อากาศอยู่ต่ำกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ รากอ้อยจะชะงักการดูดธาตุอาหาร น้ำและออกซิเจน เป็นเหตุให้พืช
ชะงักการเจริญเติบโต ถ้าขาดน้ำใบจะห่อในเวลากลางวัน
3.2.2 คุณสมบัติทางกายภาพของดิน เช่น ความสามารถของ ดินในการซับน้ำ ดิน
ต่างชนิดกันย่อมมีคุณสมบัติดูดซับน้ำได้ ไม่เหมือนกันสำหรับดินที่สามารถซับน้ำไว้ได้มากไม่
จำเป็นต้องให้น้ำบ่อยครั้งเหมือนดินที่มีเนื้อหยาบและซับน้ำได้น้อย ดินเหนียวจะมีความชื้นอยู่
มากกว่าดินทราย ดังนั้น หลักการให้น้ำแก่อ้อยที่ถูกต้อง คือ ให้น้ำตามที่อ้อยต้องการ ส่วนปริมาณน้ำ
ที่จะให้ แต่ละครั้งมากน้อยเท่าไร และใช้เวลานานเท่าใด ย่อมขึ้นอยู่กับ คุณสมบัติทางกายภาพของ
ดินซึ่งไม่เหมือนกัน
3.2.3 สภาพลมฟ้าอากาศ อุณหภูมิของอากาศ การพิจารณาการให้น้ำแก่อ้อย
จะต้องพิจารณาถึง อุณหภูมิและสภาพลมฟ้าอากาศด้วย ในช่วงที่มีอุณหภูมิสูงอ้อยจะคายน้ำมาก
ความต้องการน้ำจะมากตามไปด้วย จำเป็นต้องให้น้ำบ่อยขึ้น ในช่วงที่มีฝนตกควรงดให้น้ำ และ
หาทาง ระบายน้ำแทน เพื่อให้ดินมีความชื้นและอากาศในดินเหมาะสม ในช่วงฝนทิ้งช่วงควรให้น้ำ
ช่วยจะทำให้การเจริญเติบโตของอ้อยดีขึ้น
3.3 ระบบการให้น้ำอ้อย การเลือกระบบการให้น้ำอ้อยที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย
อย่าง เช่น ชนิดของดิน ความลาดเอียงของพื้นที่ ต้นทุน และความพร้อมในการนำน้ำมาใช้ รวมทั้ง
ความพร้อมในด้านแรงงาน และอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ในการให้น้ำ ระบบการให้น้ำอ้อย ใน
ปัจจุบันที่ใช้กันอยู่ทั้งในและต่างประเทศมีดังนี้
3.3.1 การให้น้ำแบบร่อง (Furrow irrigation) เป็นระบบการให้น้ำที่ใช้กันอย่าง
แพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ เพราะเป็นระบบที่ใช้ต้นทุนต่ำ สะดวกและง่ายในการปฏิบัติ แต่ก็มี
ข้อจำกัดอยู่ที่แปลงปลูกอ้อยจะต้องค่อนข้างราบเรียบ โดยมีความลาดชัน ไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์
ประสิทธิภาพของการให้น้ำแบบร่องจะ ผันแปร อยู่ระหว่าง 30-90 เปอร์เซ็นต์ และสามารถเพิ่ม
ประสิทธิภาพ การให้น้ำได้โดยการจัดการที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยปกติการให้น้ำ ระบบนี้จะมีร่อง
น้ำที่หัวแปลงหรืออาจใช้ท่อหรือสายยางที่มีช่องเปิดให้น้ำไหล เข้าร่องอ้อยแต่ละร่อง เมื่อน้ำไหลไป
จนสุดร่องแล้ว อาจยังคงปล่อยน้ำ ต่อไปอีกเพื่อให้น้ำซึมลงในดินมากขึ้นน้ำ ที่ท้ายแปลงอาจระบาย
ออก หรือเก็บรวบรวมไว้ในบ่อพักเพื่อนำกลับมาใช้อีก ในแปลงอ้อยที่มี ความลาดชันน้อยมาก (ใกล้
0 เปอร์เซ็นต์) สามารถจัดการให้น้ำโดย ไม่มีน้ำเหลือทิ้งท้ายแปลงได้ โดยปรับสภาพพื้นที่ให้มีความ
ลาดชันน้อยที่สุด หรือเป็นศูนย์และทำคันกั้นน้ำตลอดท้ายแปลง น้ำที่ให้ไปสุดท้ายแปลง จะถูกดักไว้
โดยคันกั้นน้ำ ทำให้น้ำมีเวลาซึมลงในดินมากขึ้น วิธีนี้จะ เหมาะกับดินที่มีการซึมน้ำช้า และน้ำที่จะให้
มีจำกัดแม้ว่าการให้น้ำระบบร่องจะใช้ได้กับพื้นที่มีความลาดเอียงไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ แต่ส่วนใหญ่
แล้วจะใช้กับพื้นที่ที่มีความลาดเอียงไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ สำหรับความยาวร่องที่ใช้มีตั้งแต่ 25 เมตร
ถึง 1,000 เมตร รูปร่าง ของร่องและอัตราการไหลของน้ำ ขึ้นกับชนิดของดินและความลาดชัน ของ
พื้นที่ สำหรับดินที่มีความสามารถ ในการซึมน้ำได้ดี ควรใช้ร่องปลูกรูปตัว ‘V' และมีสันร่องกลาง
เพื่อให้น้ำไหลได้เร็วและลดการสูญเสียน้ำ จาก การซึมลึกในแนวดิ่ง ในทางกลับกันสำหรับดินที่มีการ
ซึมน้ำเลว ควรใช้ ร่องที่มีก้นร่องกว้างและสันร่องแคบ เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสของดินกับน้ำ ทำให้
น้ำซึมลงดินได้ทั่วถึง