Page 13 - ผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่างจังหวัดนครสวรรค์ Effects of drip irrigation on sugarcane yield and qualityon calcareous soil in Nakhonsawan province
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน











                       วิเคราะห์ปริมาณอินทรียวัตถุในดินอยู่ในระดับต่ำ ปานกลาง หรือสูงจะมีคำแนะนำให้ใส่ปุ๋ย
                       ไนโตรเจนในอัตราเป็นกิโลกรัมของ N ต่อไร่ ในแต่ละระดับสำหรับพืชแต่ละชนิด อธิบายได้ว่าเมื่อใส่
                       ปุ๋ย ไนโตรเจนตามคำแนะนำที่ให้ไว้จะสามารถเพิ่มผลผลิตของพืชให้สูงขึ้นในระดับ 90 เปอร์เซ็นต์

                       ของศักยภาพ การให้ผลผลิตสูงสุดของพืช โดยมีข้อแม้ที่สำคัญว่าปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการให้
                       ผลผลิตของพืชจะต้องอยู่ ในระดับปกติ ไม่มีปัจจัยใดอยู่ในระดับต่ำหรือสูงเกินไป


                       3.การให้น้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อย
                              น้ำเป็นปัจจัยการผลิตหลักที่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตอ้อย หากอ้อยได้รับน้ำอย่างเพียงพอตลอด
                       ช่วงการเจริญเติบโต ผลผลิตอ้อยจะได้ไม่ต่ำกว่า 15 ตันต่อไร่ อ้อยต้องการน้ำเพื่อใช้ในการเจริญเติบ โต
                       และสร้างน้ำตาล อ้อยที่ขาดน้ำจะเจริญเติบโตช้า ผลผลิตต่ำ และให้ความหวานต่ำ พื้นที่เพาะปลูกอ้อย

                       ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่ในเขตชลประทาน อ้อยต้องการน้ำเพื่อการ
                       เจริญเติบโตตลอดปี ประมาณ 1,500 มิลลิเมตร การเพิ่มผลผลิตอ้อยให้สูงขึ้นจึงจำเป็นต้องให้น้ำ
                       ชลประทานหรือน้ำบาดาลช่วย การให้น้ำแก่อ้อยจะทำให้ความสามารถในการไว้ตอดีขึ้น เป็นการลด
                       ต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวไร่อีกทางหนึ่ง

                              3.1 การใช้น้ำของอ้อย
                                     ความต้องการน้ำและการตอบสนองต่อการให้น้ำของอ้อย การผลิตอ้อยให้ได้ผลผลิต
                       สูงนั้น อ้อยจะต้องได้รับน้ำ (น้ำฝน/ชลประทาน) อย่างเพียงพอ ตลอดระยะเวลาการเจริญเติบโต ความ
                       ต้องการน้ำของอ้อยจะขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ และช่วงระยะการเจริญเติบโต ได้แบ่งระยะความต้องการ

                       น้ำของอ้อยไว้ 4 ระยะ คือ
                                     3.1.1 ระยะตั้งตัว (0-30 วัน) เป็นระยะที่อ้อยเริ่มงอกจนมีใบจริง และเป็นตัวอ่อน
                       ระยะนี้อ้อยต้องการน้ำในปริมาณไม่มาก เพราะรากอ้อยยังสั้นและการคายน้ำยังมีน้อย ดินจะต้องมี

                       ความชื้น พอเหมาะกับการงอก ถ้าความชื้นในดินมากเกินไปตาอ้อยจะเน่า ถ้าความชื้นในดินน้อย
                       เกินไป ตาอ้อยจะไม่งอก หรือถ้างอกแล้ว ก็อาจจะเหี่ยวเฉาและตายไป ในสภาพดินที่เมื่อแห้งแล้ว
                       ผิวหน้าฉาบเป็นแผ่นแข็ง ก็อาจทำให้หน่ออ้อยไม่สามารถแทงโผล่ขึ้นมาได้ ดังนั้น ในระยะนี้การให้
                       น้ำอ้อยควรให้ในปริมาณน้อยและบ่อยครั้ง เพื่อทำให้สภาพความชื้นดินเหมาะสม
                                     3.1.2 ระยะเจริญเติบโตทางลำต้น (31-170 วัน) ระยะนี้รากอ้อยเริ่มแพร่กระจาย

                       ออกไปทั้งในแนวดิ่งและแนวระดับ เป็นระยะที่อ้อยกำลังแตกกอและสร้างปล้องเป็นช่วงที่อ้อย
                       ต้องการน้ำมาก ถ้าอ้อยได้รับน้ำในปริมาณที่เพียงพอในระยะนี้ จะทำให้อ้อยมีจำนวนลำต่อกอมาก
                       ปล้องยาว ทำให้อ้อยมีลำยาว และผลผลิตสูง การให้น้ำ จึงต้องให้บ่อยครั้ง

                                     3.1.3 ระยะสร้างน้ำตาลหรือช่วงสร้างผลผลิต (171-295 วัน) ช่วงนี้พื้นที่ใบอ้อยที่
                       ใช้ประโยชน์ได้จะน้อยลง อ้อยจะคายน้ำน้อยลง และตอบสนองต่อแสงแดดน้อยลง จึงไม่จำเป็นต้อง
                       ให้น้ำบ่อย ให้เฉพาะช่วงที่อ้อยเริ่มแสดงอาการขาดน้ำ
                                     3.1.4 ระยะสุกแก่ (296-330 วัน) เป็นช่วงที่อ้อยต้องการน้ำน้อย และในช่วงก่อนเก็บ

                       เกี่ยว 6-8 สัปดาห์ ควรหยุดให้น้ำ เพื่อลดปริมาณน้ำ ในลำต้นอ้อยและบังคับให้น้ำตาลทั้งหมดในลำอ้อย
                       เปลี่ยนเป็นน้ำตาลซูโครส
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18