Page 17 - ผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่างจังหวัดนครสวรรค์ Effects of drip irrigation on sugarcane yield and qualityon calcareous soil in Nakhonsawan province
P. 17
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
5) เหมาะสำหรับพื้นที่ขาดแคลนน้ำ ต้องการใช้น้ำอย่างประหยัด
6) ให้ประสิทธิภาพในการใช้น้ำสูงที่สุด 75-95 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทำให้มีการ
สูญเสียน้ำน้อยที่สุด และเมื่อเทียบกับการปล่อยน้ำท่วมขัง มีประสิทธิภาพเพียง 25-50 เปอร์เซ็นต์
ในระบบสปริงเกลอร์ แบบติดตายตัวมีประสิทธิภาพ 70-80 เปอร์เซ็นต์ และในระบบสปริงเกลอร์
แบบเคลื่อนย้ายมีประสิทธิภาพ 65-75 เปอร์เซ็นต์
7) ประหยัดเวลาทำงาน ไม่ต้องคอยเฝ้า ใช้เวลาไปทำงานอย่างอื่นได้เต็มที่
ไปพร้อม ๆ กับการให้น้ำ
8) ลดการระบาดของศัตรูพืชบางชนิดได้ดี เช่น โรคพืช และวัชพืช
9) ได้ผลผลิตสูงกว่าการใช้ระบบชลประทานแบบอื่น ทั้งด้านปริมาณและ
คุณภาพ ในขณะเดียวกันก็ประหยัดต้นทุนน้ำ ทำให้มีกำไรสูงกว่า
10) ระบบน้ำหยด สามารถให้ปุ๋ยและสารเคมีอื่นละลายไปกับน้ำพร้อม ๆ
กันทำให้ไม่ต้องเสียเวลาใส่ปุ๋ย พ่นยาอีก ทั้งนี้ต้องติดตั้งอุปกรณ์จ่ายปุ๋ย (injector) เข้ากับระบบ
ระบบน้ำหยดเป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับเกษตรไทยจึงมีข้อจำกัดอยู่ต้องใช้ต้นทุนสูงใน
ระยะแรก การติดตั้งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำ และเกษตรกรจะต้องมีความรู้ปริมาณการ
ใช้น้ำของพืชแต่ละชนิดที่ปลูก เช่น มะเขือเทศ ต้องการปริมาณน้ำประมาณ 40 มิลลิเมตรต่อไร่ต่อวัน
หรือประมาณ 1.5 ลิตรต่อต้นต่อวัน เป็นต้น นอกจากนี้ เกษตรกรต้องมีการค้นคว้าหาแหล่งข้อมูลอื่น
ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบติดตั้ง และบริหารระบบ จะต้องคำนึงถึงการ
จัดการระบบ เช่น ระยะเวลาให้น้ำ การใช้ปุ๋ย ชนิดปุ๋ย ตลอดจนต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ พืช
จึงจะได้ปุ๋ย หรือสารเคมี ใช้อย่างพอทุกช่วงการเจริญเติบโต
การบริหารระบบน้ำหยดให้ได้ผลสูงสุด มี 3 ประการ
1. การให้น้ำปริมาณที่เหมาะสม กับความต้องการของพืชแต่ละชนิด
2. การให้ปุ๋ยปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งจะละลายผ่านเข้าสู่ระบบ
3. การวางแผนการบำรุงรักษาระบบ
4.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
อ้อยจัดเป็นพืชที่มีความต้องการน้ำในปริมาณสูงเมื่อเทียบกับการปลูกพืชไร่ชนิดอื่นๆน้ำจึง
เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตและการเพิ่มผลผลิตของอ้อยการให้น้ำชลประทานแก่อ้อยใน
ปริมาณและในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมทำให้อ้อยมีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่าง
เด่นชัดการตอบสนองต่อความถี่การให้น้ำบนดินเหนียวชุดราชบุรี จังหวัดชัยนาท การให้น้ำเมื่อค่า
การระเหยสะสมครบ 60 และ 90 มิลลิเมตร ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันแต่ผลผลิตสูงกว่าการให้น้ำที่
เมื่อระยะเวลาให้น้ำห่างออกไป (วันชัยและทักษิณา,2549) และในชุดดินสตึก จังหวัดขอนแก่น การ
ให้น้ำในช่วงแล้งทำให้มีกอตายน้อยลงมีกอคงเหลือมากกว่าที่ไม่ให้น้ำการรักษากออ้อยให้อยู่รอดข้าม
ช่วงแล้งได้ก็สามารถได้ผลผลิตดีทั้งในอ้อยปลูกและอ้อยตอ 1 ถ้าสามารถให้น้ำในปริมาณ 60
มิลลิเมตรในช่วงแล้งที่ค่าการระเหยสะสมครบ 60 มิลลิเมตร อ้อยจะให้ผลผลิตได้ดีทั้งในอ้อยปลูก
และอ้อยตอ 1 หรือถ้ามีน้ำจำกัดการให้น้ำบ้างเมื่อค่าการระเหยสะสมครบ 120 มิลลิเมตร กออ้อยก็
สามารถมีชีวิตรอดเพิ่มขึ้นให้ผลผลิตได้ดีกว่าที่ไม่มีการให้น้ำ แต่ในอ้อยตอ 2 ถึงแม้จะได้รับน้ำจำนวน