Page 11 - ผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่างจังหวัดนครสวรรค์ Effects of drip irrigation on sugarcane yield and qualityon calcareous soil in Nakhonsawan province
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน











                       ยาก นอกจากนี้สภาวะที่ดินมี pH สูง แคลเซียมจะไปแทนที่โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดิน และ
                       ถูกชะละลายออกไป จึงอาจทำให้พืชมีปัญหาในการเจริญเติบโตเนื่องจากขาดธาตุอาหารดังกล่าว ซึ่ง
                       ในจังหวัดนครสวรรค์ ดินด่างหรือดินเนื้อปูนที่ใช้ทำการเกษตรส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 52 ชุด

                       ดินตาคลี กลุ่มชุดดินที่ 28 ชุดดินชัยบาดาล ซึ่งเกษตรกรจะปลูกอ้อย จากการประเมินกำลังผลิตของ
                       ดินสำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจจังหวัดนครสวรรค์ ได้ให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยอ้อยว่าควร ใช้ปุ๋ยสูตร 16-
                       16-16 อัตรา 50 กก.ต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ 1-2 ตันต่อไร่แบ่งใส่ ครึ่งหนึ่งหลังปลูก 1 เดือน อีก

                       ครึ่งหนึ่งใส่หลังปลูก 3เดือน ถ้ามีการให้น้ำ เพิ่มสูตร 46-0-0 อัตรา 15 กก.ต่อไร่ ในครั้งที่ 2 (สำนัก
                       สำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2552)
                             เฉลียว (2533) กล่าวว่าการใช้ประโยชน์ข้อมูลดินในการวางแผนการผลิตของประเทศ
                       โดยเฉพาะการ ผลิตทางการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับพืชเศรษฐกิจ สามารถใช้ข้อมูลทางการสำรวจดิน

                       และการจำแนกดินเป็นฐานในการพิจารณาปริมาณการผลิตพืชเศรษฐกิจแต่ละชนิดได้ จากการ
                       วินิจฉัยความเหมาะสม และศักยภาพในการ ผลิตของดินจากแผนที่ดินว่าส่วนใดของประเทศจะ
                       เหมาะสมในการปลูกพืชเศรษฐกิจนั้นๆ และมีปริมาณเนื้อที่ มากน้อยเท่าใด เมื่อทราบความเหมาะสม
                       ของดินและปริมาณเนื้อที่แล้วก็สามารถประมาณผลผลิตได้ตามความ ต้องการของตลาดภายในและ

                       นอกประเทศ นอกจากนี้การศึกษาวิจัยที่มีการใช้ข้อมูลดินเป็นฐานในการวางแผน การศึกษาจะช่วย
                       ทำให้การถ่ายทอดความรู้หรือผลงานวิจัยไปสู่พื้นที่อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดค่าใช้จ่าย และ
                       เวลาในการทำการศึกษาวิจัยในปัญหาเดียวกันโดยไม'ทำการวิจัยซ้ำซ้อนอีก
                             เฉลียว (2530) รายงานว่าการจำแนกดินในระดับ family ในประเทศไทย ได้ใช้ลักษณะ

                       สำคัญคือ กลุ่มเนื้อ ดิน (particle - size classes) ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 7 ชั้น (classes) ได้ดังนี้
                             1. Fragmental ประกอบด้วยหิน กรวด (stones, cobbles, gravel) และอนุภาคทราย
                       ขนาดใหญ่มาก มี อนุภาคขนาดเล็กในช่องว่างเพียงเล็กน้อย

                               2. Sandy - skeletal ประกอบด้วยเศษหินที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 มิลลิเมตรหรือโต
                       กว่าปริมาณ 35 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่าโดยปริมาตร ส่วนช่องว่างที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโต กว่า
                       1 มิลลิเมตร จะ มีพวกอนุภาคขนาดเล็กเข้าไปแทรกอยู่เต็ม สำหรับอนุภาคละเอียดที่มีขนาดเล็กกว่า
                       2 มิลลิเมตร จะเป็นอนุภาค ดินทรายตามที่กำหนดไว้สำหรับชั้น Sandy particle size class
                               3. Loamy - skeletal ประกอบด้วยเศษหินปริมาณ 35 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่าโดย

                       ปริมาตร มีส่วนที่ เป็นเนื้อดินละเอียดแทรกอยู่ในช่องว่างขนาดโตกว่า 1 มิลลิเมตร เต็มหมด มี
                       อนุภาคดินเหนียวอยู่น้อยกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
                               4. Clayey - skeletal ประกอบด้วยเศษหินปริมาณ 35 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่าโดยปริมาตร

                       มีส่วนที่ เป็นเนื้อดินละเอียดแทรกอยู่ในช่องว่างที่มีขนาดโตกว่า 1 มิลลิเมตร เต็มหมด ส่วนที่เป็น
                       อนุภาคละเอียดนี้จะ ประกอบด้วยอนุภาคดินเหนียว 35 เปอร์เซ็นต์หรือสูงกว่าโดยน้ำหนัก
                               5. Sandy เนื้อดินเป็นพวกดินทรายหรือดินทรายร่วนแต่ไม่รวมดินร่วนปนทรายละเอียดมาก
                       (loamy very fine sand) มีเศษหินปนอยู่น้อยกว่า 35 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร

                               6. Loamy เนื้อดินจะเป็นดินร่วนปนทรายละเอียดมาก ทรายละเอียดมากหรือมีเนื้อดิน
                       ละเอียดกว่าที่ กล่าว แต่ต้องมีอนุภาคดินเหนียวเป็นองค์ประกอบอยู่น้อยกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ และ
                       เศษหินปนอยู่น้อยกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ โดยปริมาตรด้วย แบ่งออกเป็น 4 ชั้นย่อยคือ
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16