Page 20 - ผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่างจังหวัดนครสวรรค์ Effects of drip irrigation on sugarcane yield and qualityon calcareous soil in Nakhonsawan province
P. 20
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
อุปกรณ์และวิธีดำเนินงาน
1. พืชที่ใช้ในการทดลอง
อ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3
2. อุปกรณ์
2.1 อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างดิน ได้แก่ พลั่วเก็บดิน ไม้บรรทัด ปากกาเคมี
ถุงพลาสติก
2.2 อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบทำน้ำหยด เช่น เครื่องสูบน้ำ (เครื่องยนต์, มอเตอร์ไฟฟ้า)
ท่อ พีวีซี ขนาด 2-3 นิ้ว สายส่งน้ำ และสายน้ำหยด เป็นต้น
2.3 อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดการเจริญเติบโตและความหวานของอ้อย ได้แก่ ไม้บรรทัด เทปวัด
ระยะ เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล ตาชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความหวาน Brix Refractometer
2.4 ปุ๋ยเคมี สูตร 15-7-18 สูตร 18-46-0 สูตร 46-0-0 และสูตร 0-0-60
3. วิธีการ
3.1 วางแผนการทดลอง
วางแผนการทดลองแบบ Randomized complete block design (RCBD) 5
วิธีการทดลอง (treatment) 4 ซ้ำ (replication) ได้แก่
วิธีการที่ 1 แปลงควบคุม ไม่มีระบบน้ำหยด
วิธีการที่ 2 วิธีเกษตรกร ไม่มีระบบน้ำหยด
วิธีการที่ 3 ให้น้ำเท่ากับ 50% ของปริมาณน้ำที่ได้จากการประเมินในระบบน้ำหยด
วิธีการที่ 4 ให้น้ำเท่ากับ 100% ของปริมาณน้ำที่ได้จากการประเมินในระบบน้ำหยด
วิธีการที่ 5 ให้น้ำเท่ากับ 150% ของปริมาณน้ำที่ได้จากการประเมินในระบบน้ำหยด
หมายเหตุ : ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าการวิเคราะห์ดิน (จากการคำนวณโดยโปรแกรมคำแนะนำการ
จัดการดินและปุ๋ยรายแปลง)
3.2 ขั้นตอนและวิธีการทดลอง
3.2.1 คัดเลือกแปลงทดลองในพื้นที่ที่มีการปลูกอ้อยในดินด่าง ทำการเก็บตัวอย่าง
ดินเพื่อการวิเคราะห์หาธาตุอาหารพืชเบื้องต้น
3.2.2 ทำการไถเตรียมดินในพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ แบ่งแปลงย่อยขนาด 6 x 8 เมตร
จำนวน 20 แปลง ทำการสุ่มตำแหน่งของแปลงย่อยตามแผนการทดลองแบบ RCBD
3.2.3 ปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 โดยใช้ท่อนพันธุ์ ระยะปลูก 1.5 x 1.5 เมตร ปลูก
แถวคู่
3.2.4 ติดตั้งระบบน้ำหยดในแปลงอ้อย โดย วิธีการที่ 3 ให้น้ำเท่ากับ 50% ของ
ปริมาณน้ำที่ได้จากการประเมินในระบบน้ำหยด วิธีการที่ 4 ให้น้ำเท่ากับ 100% ของปริมาณน้ำที่ได้
จากการประเมินในระบบน้ำหยด และ วิธีการที่ 5 ให้น้ำเท่ากับ 150% ของปริมาณน้ำที่ได้จากการ
ประเมินในระบบน้ำหยด จากการคำนวณปริมาณการให้น้ำอ้อย ดังนี้