Page 14 - ผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่างจังหวัดนครสวรรค์ Effects of drip irrigation on sugarcane yield and qualityon calcareous soil in Nakhonsawan province
P. 14
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ตารางที่ 1 แสดงระยะความต้องการน้ำของอ้อย
ความต้องการน้ำของอ้อย
ช่วงการเจริญเติบโต
มม./วัน มม. ลบ.ม./ไร่
ระยะตั้งตัว (0-30 วัน) 4.0 120 192
ระยะเติบโตทางลำต้น (31-170 วัน) 4.5 630 1,008
ระยะสร้างน้ำตาล (171-295 วัน) 5.0 625 1,000
ระยะแก่ (296-330 วัน) 4.0 140 224
รวม (330 วัน) - 1,515 2,424
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร , 2547
4 มม./วัน(140 มม.)
5 มม./วัน(625 มม.)
4.5 มม./วัน(630 มม.)
4 มม./วัน(120 มม.)
ระยะตั้งตัว ระยะแตกกอ ระยะสร้างน้ำตาล ระยะสุกแก่ (125 วัน)
(0-30 วัน) (140 วัน) (125 วัน)
ภาพที่ 1 แผนภูมิแสดงความต้องการน้ำของอ้อย
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร , 2547
3.2 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการให้น้ำแก่อ้อย
ความต้องการน้ำของอ้อยในแต่ละช่วงระยะการเจริญเติบโต ข้อพิจารณาในการให้
น้ำแก่อ้อย การพิจารณาว่าเมื่อใดควรจะถึงเวลาให้น้ำแก่อ้อย และจะให้น้ำครั้งละ ปริมาณเท่าใด มี
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ
3.2.1 ระยะการเจริญเติบโต ความต้องการน้ำของอ้อย ปริมาณน้ำที่ให้แก่อ้อยจะ
มากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับระยะการเจริญเติบโต อัตราความต้องการใช้น้ำ ความลึกที่รากหยั่งลง
ไปถึง อ้อยจะเจริญเติบโตได้ดีก็ต่อเมื่อความชื้นในดินเหมาะสม ถ้ามีความชื้นในดินสูงหรือต่ำมาก
เกินไป อ้อยจะเจริญเติบโตผิดปกติ เมื่อดินมีน้ำมากจะทำให้ขาดออกซิเจน โดยทั่วไปถ้าในดินมี