Page 19 - ผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่างจังหวัดนครสวรรค์ Effects of drip irrigation on sugarcane yield and qualityon calcareous soil in Nakhonsawan province
P. 19
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ความชื้นน้อยกว่าการให้น้ำหยดบนผิวดินหรือการให้น้ำแบบอื่นอีกทั้งยังเป็นการประหยัดแรงงานการ
เพาะปลูกในระยะยาวทั้งนี้จากประมาณการคาดว่าเกษตรกรจะคุ้มทุนตั้งแต่ปีแรกเนื่องจากสามารถ
เพิ่มผลผลิตได้ไม่ต่ำกว่า 20 ตันต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าที่เกษตรกรผลิตได้เฉลี่ย10 -11 ตันต่อไร่รวมทั้งยัง
สามารถประหยัดต้นทุนการปลูกโดยใช้ท่อนพันธุ์ในปีที่ 2 โดยอาจไว้ตอได้มากกว่า 1 รุ่น อีกทั้งค่า
ความหวานหรือ CCS (Commercial Cane Sugar) ที่ได้จากการทดลองก็สูงกว่ามาตรฐานที่
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายซึ่งกำหนดไว้ที่ 10 CCS.โดยจากการสุ่มตัวอย่างในการ
วิเคราะห์คุณภาพของผลผลิตในแปลงที่ปลูกแบบระบบน้ำบนผิวดินมีค่าCCS เท่ากับ 12.66 และ
แปลงที่ให้น้ำหยดใต้ผิวดินมีค่า CCS เท่ากับ 13.16 (ส่วนแปลงที่ปลูกโดยอาศัยน้ำฝนและแปลงให้น้ำ
หยดใต้ผิวดินวัดค่า CCS ได้ในวันที่ 7 มีนาคม 2554 )
Hussain et al. , 2552 ทำการศึกษาเปรียบเทียบการให้น้ำแบบหยดใต้ผิวดินกับการให้น้ำ
แบบปล่อยท่วมแปลงในอ้อย ผลการศึกษาพบว่า การให้น้ำแบบหยดใต้ผิวดินให้ผลดีกว่า ดังนี้
1. การระเหยของน้ำเนื่องจากการคายน้ำของวัชพืชที่ปกคลุมแปลงมีปริมาณลดลง
2. ปริมาณของวัชพืชลดลงมาก
3. ระยะเวลาในการให้น้ำแต่ละครั้งใช้เวลาน้อยลง แค่ 2 – 3 ชั่วโมง/ครั้ง
4. อ้อยมีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอดีและให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
5. การทำลายของศัตรูพืช เช่น แมลง โรค และวัชพืชลดลง
6. เพิ่มพื้นที่ปลูกพืชได้มากขึ้น เพราะลดพื้นที่คลองส่งน้ำลง
7. ใช้แรงงานในการให้น้ำน้อยลง
ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินงาน
ระยะเวลา เริ่มต้นเดือนตุลาคม 2560 สิ้นสุดเดือน เมษายน 2564
สถานที่ดำเนินการที่ บ้านเขาดิน หมู่ 4 ตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก จ.นครสวรรค์
พิกัดแปลงวิจัย 47P E 664157 N 1714195