Page 12 - ผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่างจังหวัดนครสวรรค์ Effects of drip irrigation on sugarcane yield and qualityon calcareous soil in Nakhonsawan province
P. 12
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
6.1 Coarse-loamy มีอนุภาคดินทรายละเอียดน้อยกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ และ
อนุภาคดินเหนียว น้อยกว่า 18 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก
6.2 Fine- loamy มีอนุภาคดินทรายละเอียดน้อยกว่า 15 เปอร์เซ็นต์และอนุภาค
ดินเหนียว เป็นองค์ประกอบระหว่าง 18-34 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก
6.3 Coarse- silty มีอนุภาคดินทรายละเอียดหรือหยาบอยู่น้อยกว่า 15 เปอร์เซ็นต์
และมี อนุภาคดินเหนียวน้อยกว่า 18 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก
6.4 Fine – silty มีอนุภาคดินทรายละเอียดหรือหยาบกว่าอยู่น้อยกว่า 15
เปอร์เซ็นต์ และอนุภาคดินเหนียวอยู่ระหว่าง 18-34 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก (น้อยกว่า30 เปอร์เซ็นต์
สำหรับดินในอันดับเวอติ โซลส์)
7. Clayey ประกอบด้วยอนุภาคดินเหนียวปริมาณ 35 เปอร์เซ็นต์หรือสูงกว่าโดยน้ำหนัก
และมีเศษหินปนอยู่น้อยกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ โดยปริมาตร แบ่งออกเป็น 2 ชั้นย่อยคือ
7.1 Fine ประกอบด้วยอนุภาคดินเหนียว 35 -59 เปอร์เซ็นต์ (35 -59 เปอร์เซ็นต์
สำหรับดินในอันดับเวอดิโซลส์)
7.2 Very - Fine ประกอบด้วยอนุภาคดินเหนียว 60 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่า
สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน (2548) ได้จัดทำแผนที่กลุ่มชุดดินสำหรับการปลูก
พืช เศรษฐกิจทั้งประเทศ โดยได้พิจารณาการจัดหมวดหมู่ลักษณะและสมบัติดินที่มีศักยภาพ
คล้ายคลึงกันในด้านที่มี ผลต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืชที่ปลูก จัดหมวดหมู่กลุ่มชุดดินไว้
62 กลุ่ม ตามสภาพที่พบแบ่งได้ เป็น 4 กลุ่มใหญ่ดังนี้
1. กลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่นำขัง พบทุกภาค ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 1-25 และ
กลุ่มชุดดินที่ 57-59
2. กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตแห้งแล้ง พบในภาคกลาง ภาคเหนือและภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 28 29 30 31 33 35 36 37 38 40 41 44 46 47 48 49
52 54 55 56 60 และกลุ่มชุดดินที่ 61
3. กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินชื้น พบในภาคใต้และพื้นที่ชายป่าทะเล
ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 26 27 32 34 39 42 43 45 50 51 และกลุ่มชุดดินที่ 53
4. กลุ่มชุดดินที่มีความลาดชันสูง หมายถึงพื้นที่ภูเขาและเทือกเขา ที่มีความลาดชัน
มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 62
กรมวิชาการเกษตร (2548) รายงานว่าการวิเคราะห์ดินเป็นหัวใจสำคัญของการใช้ปุ๋ยเพื่อ
เพิ่มผลผลิตพืช ค่าวิเคราะห์ดินบอกให้ทราบว่าดินมีธาตุอาหารพืชต่างๆ ในรูปที่เป็นประโยชน์และมี
ปริมาณเพียงพอกับความ ต้องการของพืชมากหรือน้อยเพียงใด เป็นเครื่องมือของการใช้ปุ๋ยอย่างมี
ประสิทธิภาพ เหมาะสมกับความ ต้องการของพืช รวมทั้งให้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่าทางเศรษฐกิจใน
การผลิตพืช ในการจำแนกค่าวิเคราะห์ดิน สำหรับให้คำแนะนำในการใส่ปุ๋ยเพื่อให้ธาตุอาหารหลักคือ
ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม กลุ่มวิจัย ปฐพีวิทยา สำนักพัฒนาปัจจัยการผลิตทาง
การเกษตร กรมวิชาการเกษตร ได้จัดทำค่ามาตรฐานที่เหมาะสมของ ปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส
และโพแทสเซียม ในดินที่สัมพันธ์กับอัตราปุ๋ยแนะนำให้ใส่ในแต่ละพืช โดยมี ข้อมูลอ้างอิงมาจากงาน
ทดลองปุ๋ยกับพืชแต่ละชนิดของนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในแต่ละพืช กล่าวคือ ถ้าค่า