Page 18 - ผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่างจังหวัดนครสวรรค์ Effects of drip irrigation on sugarcane yield and qualityon calcareous soil in Nakhonsawan province
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน











                       กอตายก็ยังเพิ่มขึ้นจึงทำให้ผลผลิตลดลงมาก (ทักษิณาและคณะ, 2549 ) การตอบสนองของอ้อยต่อ
                       การให้น้ำในช่วงการเจริญเติบโตระยะต่างๆบนชุดดินสตึก พบว่าควรให้น้ำในระยะตั้งตัวและย่าง
                       ปล้อง ซึ่งมีระยะเวลาการให้น้ำ 170 วัน (วันชัยและทักษิณา, 2549) บนชุดดินสตึก จังหวัดขอนแก่น

                       การขาดน้ำ ในระยะแตกกอมีผลให้จำนวนลำเก็บเกี่ยวลดลง และทำให้ผลผลิตลดลงจากที่ได้รับน้ำ
                       สมบูรณ์ (ทักษิณาและวันชัย, 2548) จากการศึกษาการให้น้ำชลประทานระบบน้ำหยดและระบบร่อง
                       คู่กับอ้อยพันธุ์อู่ทอง 3 ในชุดดินกำแพงแสน จังหวัดสุพรรณบุรี ในฤดูปลูกอ้อยปี 2547/48 และ

                       2548/49 ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ (12-6-12) พบว่าการให้น้ำชลประทานในปริมาณตาม
                       ความต้องการน้ำของพืชและปริมาณ 1.25 เท่าของปริมาณความต้องการน้ำของพืชให้ผลผลิตและ
                       คุณภาพผลผลิตของอ้อยสูงกว่าเมื่อเทียบกับการปลูกอ้อยโดยอาศัยน้ำฝน และมีความแตกต่างกัน
                       อย่างเห็นได้ชัด โดยให้ผลผลิตอ้อยปลูกเฉลี่ย 19.75 และ 16.13 ตันต่อไร่ และผลผลิตอ้อยตอ 1

                       เฉลี่ย 18.69 และ 14.70 ตันต่อไร่ สำหรับการให้น้ำและไม่ให้น้ำ ตามลำดับ
                             สุมาลี (2558) ได้นำแนวคิดในการจัดการดินและน้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตในภาคตะวันออกเฉียง
                       เหนือมาออกแบบงานวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์และอุ้ม
                       น้ำดีขึ้นโดยเน้นศึกษาวิธีการปริมาณความถี่ในการให้น้ำและปุ๋ยที่เหมาะสมรวมถึงการนำวัสดุเหลือใช้

                       ทางการเกษตรในท้องถิ่นอาทิ ขุยมะพร้าวและขี้เถ้าแกลบ มาช่วยในการปรับปรุงดินอีกทางหนึ่งทั้งนี้
                       ได้แบ่งการทดลองออกเป็น 4 แปลงโดยในแต่ละแปลงได้ทำการควบคุมระบบการให้น้ำดังนี้ 1.แปลง
                       จากน้ำฝนธรรมชาติ 2.แปลงทดลองให้น้ำไหลไปตามร่อง(Furrow) 3.แปลงทดลองให้น้ำระบบน้ำ
                       หยดบนผิวดิน และ 4.แปลงทดลองให้น้ำระบบน้ำหยดใต้ดินโดยแต่ละแปลงจะมีการควบคุม

                       กระบวนการใช้วัสดุปรับปรุงดิน 3 กรรมวิธี คือ 1 ไม่ใช้วัสดุปรับปรุงดิน 2 ใส่ขุยมะพร้าวตามแถว
                       ปลูก อัตรา 2-3 ตันต่อไร่ 3 ใส่ขี้เถ้าแกลบ อัตรา 2-3 ตันต่อไร่ ร่วมกับกรรมวิธีการให้ปุ๋ย 4 กรรมวิธี
                       คือ 1.ใส่ปุ๋ย NPK ตามประเภทของเนื้อดิน 2.ใส่ปุ๋ย NPK ตามค่าวิเคราะห์ดิน 3.ใส่ปุ๋ย NPK + ธาตุ

                       อาหารรอง ตามค่าวิเคราะห์ดิน และ 4 ใส่ปุ๋ย NPK + ธาตุอาหารรอง+จุลธาตุตามค่าวิเคราะห์ดิน
                       สำหรับในแปลงระบบน้ำหยดจะถูกปรับระบบการให้ปุ๋ยไปกับระบบน้ำเพื่อเปรียบเทียบการ
                       เจริญเติบโตของอ้อยปลูกและความสมบูรณ์ของต้นต่อการไว้ตอในรุ่นต่อไปโดยใช้อ้อยพันธุ์ขอนแก่น
                       3 ซึ่งเป็นผลงานการปรับปรุงพันธุ์ของศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น กรมวิชาการเกษตรเกิดจากการผสม
                       ข้ามพันธุ์ระหว่างพันธุ์แม่คือ โคลน 85-2-352 กับ K 84-200 ซึ่งเป็นพันธุ์พ่อและมีการปรับปรุง

                       เรื่อยมาเพื่อคัดเลือกสายพันธุ์จนได้อ้อยสายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติที่ดีทั้งนี้จากภาพรวมของงานวิจัยจะ
                       พบว่าการจัดการน้ำและธาตุอาหารในแปลงทดลองนั้นส่งผลให้ได้ผลผลิตอ้อยที่มีคุณภาพสามารถที่
                       จะไว้ตอในรุ่นต่อไปได้ (หมายเหตุ : สามารถทราบข้อมูลผลผลิตต่อไร่หลังจากเก็บเกี่ยวในวันที่ 7

                       มีนาคม และ 11 มีนาคม 2554) ทั้งนี้หากเกษตรกรในภาคอีสานสามารถที่จะไว้ตอได้จะสามารถ
                       ประหยัดต้นทุนการผลิตอ้อยปลูกจาก 5,670บาท เหลือเพียง 2,090 บาทต่อไร่
                              สุดชล (2558) กล่าวเพิ่มเติม ว่าจากการวิจัยในครั้งนี้ทางสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
                       มทส.ต้องการส่งเสริมและแนะนำให้เกษตรกรในเขตภาคอีสานหันมาให้ความสำคัญต่อการให้น้ำและ

                       ธาตุอาหารในการเพาะปลูกอ้อยมากยิ่งขึ้นโดยการนำระบบน้ำหยดใต้ดินและการให้ปุ๋ยที่ตรงตาม
                       ความต้องการของพืชมาปรับใช้ทั้งนี้หากเกษตรกรหันมาใช้ระบบน้ำหยดใต้ดินจะสามารถควบคุมการ
                       ให้น้ำและให้ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกทั้งการให้น้ำในระบบน้ำหยดใต้ดินนั้นจะมีการสูญเสีย
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23