Page 35 - การไถกลบตอซังเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
P. 35

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        25

                   3.14 ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                          ปรัชญาและคณะ (2534) ได้ศึกษาผลของการไถกลบตอซังเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินนา ภาค
                   ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ โดยท าการทดลองปลูกข้าว พันธุ์ กข.23 หลังจากไถกลบตอซังและ
                   ฟางข้าวในอัตรา 500 1,000 1,500 และ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วท าการเปรียบเทียบกับแปลงนาที่มีการ

                   เผาตอซังและฟางข้าวในอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วไถกลบในดินชุดเรณูและดินชุดร้อยเอ็ด
                   (มิถุนายน–ธันวาคม 2532) ผลการศึกษาพบว่า การไถกลบตอซังและฟางข้าวในอัตราตั้งแต่ 1,000
                   กิโลกรัมต่อไร่ขึ้นไป จะท าให้ผลผลิตของข้าวโดยเฉลี่ยสูงขึ้น และมีแนวโน้มท าให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง

                   ของดินสูงขึ้น และปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีปริมาณเพิ่มขึ้น
                          สุดชล และคณะ (2536) ได้ศึกษาการจัดการธาตุอาหารพืชในระบบการปลูกพืชในเขตเกษตร
                   อาศัยน้ าฝน พบว่าการไถกลบฟางข้าวในอัตรา 1,000  กิโลกรัมต่อไร่ ก่อนปักด า 7 วัน ร่วมกับการใช้
                   ปุ๋ยเคมีอัตรา 4-1.1-1.1 กิโลกรัม (N-P O -K O) ต่อไร่ ในช่วงก่อนปักด า 1 วัน มีผลต่อการเพิ่มปริมาณ
                                                   2 5 2
                   ผลผลิตของข้าวจาก 211 เป็น 235 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเทียบกับการไม่ได้ไถกลบฟางข้าว

                          ประเสริฐ (2543) ได้ศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวพบว่าการใส่ฟางข้าวในอัตรา 1-2 ตันต่อปี
                   ต่อเนื่อง 8 ปี ให้ผลผลิตข้าว กข. 7 441-448  กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่ไม่ใส่ฟางให้ผลผลิต 433 กิโลกรัม
                   ต่อไร่ส่วนข้าวขาวดอกมะลิ 105 ใส่ฟางข้าวต่อเนื่อง 8 ปีให้ผลผลิต 431-444 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่ไม่ใส่

                   ฟางให้ผลผลิต 403 กิโลกรัมต่อไร่
                          ชุติวัฒน์ (2545) ได้ศึกษาเรื่อง ผลของวิธีการจัดการไถกลบตอซังและฟางข้าวของเกษตรกรต่อ
                   ปุ๋ยเคมี พบว่าการใส่ฟางข้าว 2 ตันต่อไร่ ติดต่อกัน 3-4 ปี ให้ผลผลิตข้าว กข.23 ใกล้เคียงกับการใส่ปุ๋ยเคมี
                   อัตรา 8-4-4 กิโลกรัม (N-P O -K O) ต่อไร่ การใส่ฟางข้าว 2 ตันต่อไร่ ท าให้ดินนามีความอุดมสมบูรณ์สูง
                                         2 5 2
                   กว่าการเกี่ยวตอซังออก หรือการเผาตอซังและฟางข้าวทิ้ง
                          พิสิฐ (2549) ได้ศึกษาไม่เผาตอซังและฟางข้าว แล้วจะปลูกข้าวได้อย่างไร การวิจัยการผลิตข้าวที่
                   มีการไถกลบตอซังและฟางข้าวแทนการเผาฟางข้าว โดยมีการศึกษาการใช้วัสดุต่างๆ ที่น่าจะส่งเสริมการ
                   ย่อยสลายฟางข้าวของจุลินทรีย์ น ามาใส่ก่อนการไถกลบตอซัง สรุปผลการวิจัยได้ว่า การผลิตข้าวนาสวน

                   แบบไถกลบฟางข้าว โดยด าเนินการทดลองในถังซีเมนต์ ท าการใส่วัสดุหลายชนิดที่น่าจะส่งเสริมการย่อย
                   สลายตอซังและฟางข้าว ใช้ตอซังและฟางข้าวอัตรา 2 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ประมาณ 3.2 ตันต่อไร่)
                   แล้วตรวจวัดความเปลี่ยนแปลงของอินทรียวัตถุในดิน เพื่อเป็นตัวบ่งชี้การสลายตัวของตอซังและฟางข้าว
                   และผลผลิตข้าวที่ปลูกหลังหมักตอซังและฟางข้าว ผลการทดสอบพบว่า หัวเชื้อปุ๋ยหมัก พด.1 ปุ๋ยยูเรีย

                   ปุ๋ยคอก ปูนมาร์ลและปูนขาวที่ใส่ในช่วงการหมักฟางข้าว ไม่มีผลต่อการสลายตัวของฟางข้าว วัสดุที่กล่าว
                   มา ไม่มีผลต่อผลผลิตข้าว ยกเว้นปุ๋ยยูเรียท าให้ข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ที่ปลูกหลังหมักฟางข้าว 0-1 เดือนมี
                   ผลผลิตสูงขึ้น จากการคลุมหมักฟางข้าวลงในดินก่อนการปลูกข้าว อินทรียวัตถุในดินลดลงในช่วง

                   0-1 เดือน หลังจากนั้นเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 2-4 เดือน ส่วนการผลิตข้าวนาน้ าลึกแบบไถกลบฟางข้าว
                   ด าเนินการทดลองในนาโดยท าการใส่วัสดุหลายชนิดที่ส่งเสริมการย่อยสลายตอซังและฟางข้าว แล้ว
                   ไถกลบฟางด้วยชุดไถผาน 3 และพรวนด้วยชุดไถผาน 7 พบว่าหัวเชื้อปุ๋ยหมัก พด.1 ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยคอก
                   ปูนมาร์ลและปูนขาว ไม่มีผลต่อการสลายตัวของฟางข้าวและผลผลิตข้าว
                          สุรพล (2549) ได้ศึกษาจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพย่อยสลายตอซังและฟางข้าว พบว่า จุลินทรีย์

                   พด.2 ช่วยย่อยสลายตอซังและฟางข้าวได้ดี สามารถปลูกข้าวได้หลังจากการไถกลบ 2 สัปดาห์แล้วยัง
                   ศึกษาต่อไปถึงวิธีการจัดการฟางข้าว โดยแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ ไถกลบและไม่ไถกลบ โดยใช้จุลินทรีย์ที่มี
                   ประสิทธิภาพ พด.1 ร่วมกับ พด.3 และ พด.2 ย่อยสลายตอซังและฟางข้าว แล้วเพิ่มประสิทธิภาพของ
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40