Page 37 - การไถกลบตอซังเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
P. 37
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
27
ชั่วโมง แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับการน าตอซังออกไปนอกแปลงที่มีอัตราการปลดปล่อยก๊าซมีเทนเท่ากับ
130.77 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อชั่วโมง แต่ทั้ง 2 วิธี มีอัตราการปลดปล่อยก๊าซมีเทนมากกว่าการเผา
ตอซังคือ 111.32 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อชั่วโมง ไม่พบความแตกต่างทางสถิติของวิธีการจัดการดินต่อ
อัตราการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่พบว่า ฤดูข้าวนาปรังมีอัตราการปลดปล่อยก๊าซมีเทน
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ าหนักมวลชีวภาพ ปริมาณคาร์บอนที่กักเก็บลงดิน และการปลดปล่อยคาร์บอน
สุทธิที่สูงกว่าข้าวนาปี การไถกลบตอซังเป็นวิธีที่เหมาะสมต่อการช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อน เนื่องจาก มี
ปริมาณคาร์บอนที่กักเก็บลงสู่ดินเฉลี่ยสูงสุด 603 กิโลกรัมต่อไร่ และมีค่าการปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเฉลี่ย
ต่ าสุด 1,312.2 กิโลกรัมต่อไร่ การลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังจะช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนและ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศได้
วัลยา (2556) ได้ศึกษาการวิเคราะห์แรงจูงใจในการงดเผาตอซังข้าวของเกษตรกรอ าเภอคลองเขื่อน
จังหวัดฉะเชิงเทรา ท าการเปรียบเทียบต้นทุนระหว่างเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่าง พบว่ามีความแตกต่าง
กัน โดยปรากฏว่าเกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวแบบงดเผาตอซังข้าวนั้นจะมีต้นทุนการผลิตที่เป็นเงินสดเท่ากับ
3,895.01 บาทต่อไร่ มีต้นทุนรวมเท่ากับ 5,025.15 บาทต่อไร่ ซึ่งต้นทุนการผลิตต่ ากว่าเกษตรกรผู้
เพาะปลูกข้าวแบบมีการเผาตอซังข้าว ซึ่งมีต้นทุนการผลิตเท่ากับ 3,999.87 บาทต่อไร่ และต้นทุนรวม
เท่ากับ 5,099.41 บาทต่อไร่ ในส่วนของรายได้จากการเพาะปลูกข้าวนั้น เกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวแบบงด
เผาตอซังข้าวมีรายได้ทั้งหมดจากการขายข้าวเท่ากับ 7,638.42 บาทต่อไร่ และเกษตรกรที่เพาะปลูกข้าว
แบบเผาตอซังมีรายได้ทั้งหมดจากการขายข้าวเท่ากับ 7,365.94 บาทต่อไร่ เมื่อพิจารณาถึงผลการศึกษา
แรงจูงใจของเกษตรกรอ าเภอคลองเขื่อน ต าบลคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทราในการงดเผาตอซังข้าว
พบว่ามีปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติต่อแรงจูงใจ ได้แก่ ต้นทุนการจัดการตอซังข้าว ความ
ตระหนักถึงผลกระทบจากการเผาตอซังด้านสุขภาพ ปริมาณผลผลิตต่อไร่พื้นที่ที่ใช้ท าการเกษตร และ
รายได้จากการขายข้าว