Page 36 - การไถกลบตอซังเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
P. 36

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        26

                   จุลินทรีย์ด้วยการเพิ่มแหล่งอาหารและพลังงาน ได้แก่ กากน้ าตาลและปุ๋ยยูเรีย เปรียบเทียบกับวิธีการเผา
                   หรือเอาตอซังและฟางข้าวออกนอกพื้นที่ ผลการศึกษาปริมาณโปรตีน และฟีนอลที่เกิดขึ้นในกระบวนการ
                   ย่อยสลายฟางข้าว และค่าลบในสภาพรีดักชั่น (Eh) พบว่า กระบวนการย่อยสลายฟางเกิดขึ้นสูงสุดในช่วง

                   3-4 สัปดาห์ และค่าลบในสภาพรีดักชั้นมีค่าลดลงอย่างรวดเร็วในช่วง 3 วันแรกหลังการขังน้ า และมีค่า
                   เพิ่มขึ้นตามล าดับเมื่อดินอยู่ในสภาพ oxidation  เมื่อลดระดับน้ าหลังการหว่านข้าว ผลการศึกษานี้
                   ชี้ให้เห็นว่า จุลินทรีย์และแหล่งอาหารช่วยในการย่อยสลายเกิดเร็วขึ้นและเกิดสูงสุดในช่วง 2-3 สัปดาห์
                   แล้วลดลงเมื่อปล่อยน้ าออก

                          กัลยา (2551) ได้ศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเผาตอซัง ฟางข้าวของเกษตรกรในพื้นที่
                   อ าเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการศึกษาพบว่า 1) รัฐบาลได้มีการจัดท าแผนแม่บท
                   แห่งชาติว่าด้วยการควบคุมการเผาในที่โล่งขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกันการเกิดไฟบนดินหรือไฟป่า ในแผน

                   แม่บทฯ นี้มียุทธศาสตร์การจัดการเศษวัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตรกรรม โดยได้มีการด าเนินงานตามแผน
                   ยุทธศาสตร์ไปแล้วหลายด้าน เช่น มีการสร้างเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรไม่เผาตอซัง ตั้งศูนย์สาธิต
                   เครื่องจักรกลไถกลบตอซัง เป็นต้น 2) ผลการศึกษา พฤติกรรมการเผาตอซัง-ฟางข้าวพบว่า เกษตรกรส่วน
                   ใหญ่ยังคงท าการเผาอยู่ร้อยละ 61 ไม่เผาร้อยละ 39  3) ผลการศึกษาทัศนคติพบว่า สาเหตุที่เกษตรกร
                   ยังคงเผาตอซัง-ฟางข้าว เพื่อความสะดวกในการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกครั้งต่อไปและ 4) ปัจจัยที่มีผลต่อ

                   พฤติกรรมการเผาตอซัง-ฟางข้าว ได้แก่ จ านวนพื้นที่ที่ใช้เพาะปลูก จ านวนสมาชิกในครัวเรือนที่ประกอบ
                   อาชีพเกษตรกรรม ความสามารถในการจัดหาเครื่องจักรกลการเกษตรที่จัดการกับตอซัง-ฟางข้าว และต้นทุน
                   การผลิต

                          อินแปง (2553) ได้ศึกษาการจัดการฟางข้าวเพื่ออนุรักษ์ธาตุ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ
                   โพแทสเซียม ในดินนาของประเทศลาว พบว่า การไถกลบฟางข้าวลงในดินนา จะช่วยเปลี่ยนสภาพของ
                   ธาตุอาหารที่มีอยู่ในฟางข้าว โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ จากรูปสารอินทรีย์ไปเป็นอนินทรีย์ที่พืชสามารถ
                   น าไปใช้ได้ เมื่อมีการไถกลบฟางข้าวลงไปในดิน ธาตุอาหารที่มีอยู่ในฟางข้าว เป็นธาตุไนโตรเจนประมาณ

                   23 กิโลกรัมต่อไร่ ฟอสฟอรัส ประมาณ 0.3 กิโลกรัมต่อไร่ และโพแทสเซียม ประมาณ 5–7 กิโลกรัมต่อไร่
                   มีโอกาสสูงที่จะกลับคืนลงดิน
                          รัชนี (2554) ได้ศึกษาเศรษฐกิจการใช้เทคโนโลยีในการไถกลบตอซังเพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน

                   พบว่า ตอซังและฟางข้าวเป็นเศษวัสดุพืชที่มีการเผามากที่สุดในพื้นที่เกษตร ซึ่งการเผาตอซังข้าว 1 ไร่ จะ
                   ท าให้เกิดฝุ่นละออง 5.247 กิโลกรัม สูญเสียธาตุอาหารไร่ละ 15.25 กิโลกรัม มูลค่า 180.29 บาท การ
                   ด าเนินงานที่ผ่านมาสามารถลดการเผาในที่โล่งในอัตราร้อยละ 3.8 ต่อปี ได้รับทราบข่าวสารจากสื่อ
                   โทรทัศน์มากที่สุด และปรับเปลี่ยนการเผาเป็นการไถกลบตอซังโดยได้รับแรงจูงใจจากภาครัฐ และให้การ
                   ยอมรับเทคโนโลยีการไถกลบตอซัง ผลการศึกษาทัศนคติ พบว่ากลุ่มเกษตรกรไถกลบตอซังเห็นด้วยอย่าง

                   ยิ่งกับการใช้เทคโนโลยีไถกลบตอซัง เพราะลดการใช้ปุ๋ยเคมี ท าให้ดินร่วนซุย ส่วนเกษตรกรที่เผาตอซังมี
                   ทัศนคติที่ไม่ยอมรับปัญหาที่เกิดจากการเผา และเห็นว่าการไถกลบตอซังมีความยุ่งยาก ใช้เวลามากและ
                   ค่าใช้จ่ายสูง และการเผาช่วยท าลายโรคและแมลงศัตรูพืช ทั้งสองกลุ่มเห็นด้วยว่าการไถกลบตอซังเป็นวิธีที่

                   ดีมีประโยชน์ แต่ยุ่งยาก มีปัญหาเรื่องระบบน้ า และไม่เหมาะสมกับทุกสภาพพื้นที่แปลงนา จึงท าให้ยังคงมี
                   การเผาตอซัง
                          นิสา (2555) ได้ศึกษา พลวัตรของคาร์บอนในดินจากการไถกลบตอซังในพื้นที่ภาคกลางของ
                   ประเทศไทย พบว่า วิธีการจัดการดินมีผลต่ออัตราการปลดปล่อยก๊าซมีเทนตลอดฤดูการปลูกข้าวที่
                   แตกต่างทางสถิติ โดยการไถกลบตอซังมีอัตราการปลดปล่อยสูงสุด 131.82 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อ
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41