Page 30 - การไถกลบตอซังเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
P. 30
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
20
3.8 การจัดการน้ าส าหรับการปลูกข้าว
ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี (2555) รายงานว่าการจัดการน้ าที่เหมาะสม จะช่วยให้ข้าวงอกและ
เจริญเติบโตสม่ าเสมอ และยังเป็นการใช้ทรัพยากรน้ าได้อย่างเกิดประสิทธิภาพและเพียงพอต่อความ
ต้องการของข้าว โดยวิธีการจัดการระดับน้ าที่เหมาะสมหลังหว่านข้าว ให้ระบายน้ าออก แล้วเอาน้ าเข้า
แปลงภายใน 7 วัน หลังจากพ่นสารคุมหรือสารก าจัดวัชพืชที่ระดับ 5 เซนติเมตร เพื่อควบคุมวัชพืชไม่ให้
งอกและเพื่อการหว่านปุ๋ยครั้งที่ 1 ปล่อยให้แห้งไปตามธรรมชาติ จนหน้าดินเริ่มแห้ง จึงสูบน้ าเข้าแปลงที่
ระดับ 5 เซนติเมตร แล้วปล่อยให้แห้งไปตามธรรมชาติจนหน้าดินเริ่มแห้ง เช่นเคย จะท าให้รากข้าวได้รับ
อากาศ เพิ่มความแข็งแรงของราก ช่วยให้รากสามารถดูดซึมอาหารได้เพิ่มมากขึ้น จึงสูบน้ าเข้าแปลงที่
ระดับ 5 เซนติเมตร เพื่อการหว่านปุ๋ยครั้งที่ 2 และรักษาระดับน้ านี้ไว้จนถึงระยะข้าวโน้มรวง จึงปล่อยให้
แปลงแห้งก่อนการเก็บเกี่ยว 7-10 วัน เพื่อให้ข้าวสุกแก่สม่ าเสมอ เก็บเกี่ยวได้สะดวก
3.9 การใส่ปุ๋ยเคมีส าหรับการปลูกข้าว
ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี (2555) รายงานว่าการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม จะช่วยให้การใช้ปุ๋ยเกิด
ประสิทธิภาพสูงสุด ข้าวได้รับธาตุอาหารตรงตามความต้องการ และข้าวได้ผลผลิตสูงขึ้น โดยการใส่ปุ๋ยเคมี
ที่เหมาะสม แบ่งเป็น 2 วิธีการ
1) การใส่ปุ๋ยตามค าแนะน า โดยแบ่งใส่ 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ยรองพื้นหลังจากหว่านข้าว
20-25 วัน หรือก่อนปักด า 1 วัน หรือหลังปักด า 10 วัน แนะน าให้ใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 30-35
กิโลกรัมต่อไร่ หรือ ปุ๋ยสูตร 16-12-8 อัตรา 30-35 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยสูตร 18-12-6 อัตรา 30-35
กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน สูตร 46-0-0 อัตรา 7-10 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะแตกกอ เพื่อให้
หน่อข้าวที่แตกใหม่สมบูรณ์ สามารถให้รวงได้ และครั้งที่ 3 ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน สูตร 46-0-0 อัตรา 7-10
กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะก าเนิดช่อดอก เพื่อให้ข้าวสามารถสร้างจ านวนเมล็ดต่อรวงได้มากที่สุด
2) ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน คือการเก็บตัวอย่างดินหลังการเก็บเกี่ยวแล้วน าไปวิเคราะห์เพื่อ
ประเมินปริมาณธาตุอาหารในดินที่ส าคัญส าหรับการปลูกข้าว คือ ธาตุไนโตรเจน ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุ
โพแทสเซียม น าไปใช้ในการแนะน าการใช้ปุ๋ยให้ถูกต้องตามความต้องการของข้าวทั้งด้านชนิด อัตราและ
เวลาการใส่ปุ๋ย
3.10 ข้าวพันธุ์กข 31
ข้าวพันธุ์กข 31 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง สายพันธุ์ BKNA6-18-3-2 กับสายพันธุ์
PTT85061-86-3-2-1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีในปี พ.ศ. 2533 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ PTT90071-
93-8-1-1 โดยคณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 30
พฤษภาคม 2542
ลักษณะประจ าพันธุ์ เป็นข้าวเจ้าสูงประมาณ 104-133 เซนติเมตร ไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว
ประมาณ 104-126 วัน ทรงกอตั้ง ใบสีเขียว กาบใบและเปลือกสีเขียว ใบธงยาว ท ามุม 45 องศา กับคอรวง
รวงอยู่ใต้ใบธง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีขน มีหางเล็กน้อย ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3-4 สัปดาห์
ปริมาณอมิโลส 15-19 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพข้าวสุก นุ่มเหนียว มีกลิ่นหอมอ่อน ปริมาณผลผลิต ประมาณ
650 -774 กิโลกรัมต่อไร่ ลักษณะเด่น ผลผลิตสูง คุณภาพเมล็ดคล้ายพันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 ต้านทาน
เพลี้ยกระโดดสีน้ าตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว ต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง ค่อนข้างอ่อนแอ