Page 32 - การไถกลบตอซังเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        22

                   จุลินทรีย์อยู่ที่ผิวหน้าของวัสดุหมักในช่วง 1-3 วัน หลังการหมัก เนื่องจากจุลินทรีย์ดังกล่าวมีการใช้แหล่ง
                   คาร์บอนจากน้ าตาล เป็นแหล่งอาหารและพลังงาน เพื่อการเจริญและการเพิ่มจ านวนของเซลล์มากขึ้น
                   การเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้น โดยมีฟองก๊าซเกิดขึ้นที่ผิวหน้าวัสดุและใต้ผิววัสดุหมัก ก๊าซ

                   คาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้น เนื่องจากกระบวนการหายใจของกลุ่มจุลินทรีย์พวกยีสต์และจุลินทรีย์ผลิตกรด
                   อินทรีย์ในระหว่างการด าเนินกิจกรรมการหมัก หลังจากนั้นสารละลายค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ าตาลเข้ม
                   เนื่องจากเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นจากกระบวนการหมักโดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ จะช่วยรักษา
                   ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นไม่ให้เกิดการเน่าเสีย

                          การใช้น้ าหมักชีวภาพ ซุปเปอร์ พด.2 อย่างมีประสิทธิภาพนั้น น้ าหมักชีวภาพควรมีค่าความเข้มข้น
                   ของสารละลายสูง (ค่า EC เกิน 4 ds/m) และเป็นกรดจัดมีค่า pH อยู่ระหว่าง 3.6–4.5 ก่อนน าไปใช้กับพืช
                   ต้องท าให้เจือจางโดยผสมน้ าหมักชีวภาพ อัตรา 30-50 ซีซีต่อน้ า 20 ลิตรโดยน้ าหมักชีวภาพจะเป็น

                   ประโยชน์ต่อพืชได้สูงสุดต้องใช้เวลาในการหมักจนแน่ใจว่าจุลินทรีย์ย่อยสลายสารได้สมบูรณ์แล้ว จึง
                   น าไปใช้กับพืชได้และน้ าหมักชีวภาพแต่ละสูตรมีธาตุอาหารเกือบทุกชนิด แต่มีในปริมาณต่ าควรใส่ปุ๋ย
                   อินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด หรือปุ๋ยเคมีเสริมทางดิน น้ าหมักชีวภาพแต่ละสูตรมีฮอร์โมนพืช
                   ในระดับที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่น ามาใช้ท าน้ าหมักชีวภาพ มีฮอร์โมนในกลุ่มออกซิน ได้แก่
                   อินโดลอะซิติกแอซิด (IAA) มีผลในการเร่งการเจริญเติบโตของยอด กระตุ้นการเกิดรากของกิ่งปักช า

                   ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน (GA3) กระตุ้นการเจริญเติบโตของต้น ส่งเสริมการออกดอกและท าให้ช่อดอกยืด
                   ยาวขึ้น และฮอร์โมนกลุ่มไซโตไคนิน ได้แก่ เซติน (zeatin) และไคเนติน (kinetin) มีผลกระตุ้นการเกิดตา
                   ช่วยเคลื่อนย้ายอาหารในต้นพืชและช่วยให้ผักมีความสดนานขึ้น


                   3.12 สารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่ผลิตจาก สารเร่งพด. 7
                          กรมพัฒนาที่ดิน (2557) กล่าวว่า สารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่ผลิตจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.7 เป็น
                   สารสกัดที่ได้จากการหมักพืชสมุนไพร โดยกิจกรรมจุลินทรีย์ประกอบด้วย สารออกฤทธิ์และสารไล่แมลงที่

                   อยู่ในพืชสมุนไพร รวมทั้งกรดอินทรีย์หลายชนิด เพื่อใช้ในการป้องกันและก าจัดแมลงศัตรูพืช
                          วัสดุส าหรับผลิตสารควบคุมแมลงศัตรูพืชจากพืชสมุนไพรสด คือ พืชสมุนไพร 30 กิโลกรัม
                   กากน้ าตาล 10 กิโลกรัม ร าข้าว 100 กรัม น้ า 30 ลิตร และสารเร่งซุปเปอร์ พด.7 (1 ซอง) 25 กรัม ส่วน

                   การหมักพืชสมุนไพรแห้ง จะใช้พืชสมุนไพร 10 กิโลกรัม กากน้ าตาล 20 กิโลกรัม ร าข้าว 100 กรัม น้ า
                   60 ลิตร และสารเร่งซุปเปอร์ พด.7 (1 ซอง) 25 กรัม โดยวิธีผลิตสารควบคุมแมลงศัตรูพืชให้สับพืช
                   สมุนไพรเป็นชิ้นเล็ก ทุบหรือต าให้แหลก แล้วน าพืชสมุนไพรและร าข้าวใส่ลงในถังหมัก หลังจากนั้นละลาย
                   กากน้ าตาลในน้ า แล้วใส่สารเร่งซุปเปอร์ พด.7 ผสมให้เข้ากัน 5 นาทีแล้วเทสารละลายใส่ลงในถังหมัก
                   คลุกเคล้าและคนให้เข้ากัน และปิดฝาถังไม่ต้องแน่น ตั้งทิ้งไว้ในที่ร่ม และคนทุกวัน ใช้ระยะเวลาในการ

                   หมัก 21 วัน
                          การพิจารณาสารควบคุมแมลงศัตรูพืชที่หมักสมบูรณ์แล้ว จะมีลักษณะเช่นเดียวกับน้ าหมัก
                   ชีวภาพ พด.2 โดยสังเกตการเกิดฝ้าจุลินทรีย์เจริญบนผิววัสดุหมักหลังจากหมัก 5-7 วัน หลังจากนั้นฝ้า

                   จุลินทรีย์จะค่อยๆ ลดลง  ไม่ปรากฏฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือมีน้อยลง กลิ่นแอลกอฮอล์ลดลง
                   และสารละลายมีสภาพเป็นกรด ระหว่าง 3-4 และได้กลิ่นเปรี้ยว
                          อัตราการใช้สารควบคุมแมลงศัตรูพืช ต้องเจือจางสารควบคุมแมลงศัตรูพืช:น้ า เท่ากับ 1:100
                   และน าไปฉีดพ่นทุกๆ 3-5 วัน และฉีดต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับการระบาดของหนอนและเพลี้ย
                   ควรฉีดพ่นช่วงตัวอ่อน หรือช่วงที่เพลี้ยยังไม่เกิดแป้ง
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37