Page 38 - การไถกลบตอซังเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
P. 38

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        28

                                                           บทที่ 4

                                                      ผลการด าเนินงาน


                   4.1 การเปรียบเทียบสมบัติทางเคมีของดิน


                          หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วนั้น ได้ด าเนินการเก็บตัวอย่างดินในแปลงเกษตรกร ส่งวิเคราะห์ที่
                   กลุ่มวิเคราะห์ดิน ส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 (ตารางที่ 6) พบว่า ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินใน
                   แปลงนานายดาวเรือง มะลิทอง ก่อนที่จะด าเนินการผลิตข้าวโดยวิธีการไถกลบตอซัง ดินเป็นกรดจัดมาก

                   แต่หลังจากที่ด าเนินการผลิตข้าวโดยวิธีการไถกลบตอซัง แล้วนั้น ท าให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่างเพิ่มมาก
                   ขึ้น จาก 4.7 เป็น 5.8 ในขณะที่ แปลงนานายสมศักดิ์ มะลิทอง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ที่ 5.5
                          ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (OM) แปลงนานายสมศักดิ์ มะลิทอง (T1) มีปริมาณอินทรียวัตถุ 2.65
                   เปอร์เซ็นต์ แปลงนานายดาวเรือง มะลิทอง ก่อนด าเนินการไถกลบตอซัง (T2) มีปริมาณอินทรียวัตถุ 2.56
                   เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อมีการผลิตข้าวโดยการไถกลบตอซัง (T3) แล้วนั้น ปริมาณอินทรียวัตถุ เพิ่มขึ้นเป็น 3.83

                   เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสอดคล้องกับ ปรัชญา และคณะ (2534) ได้ศึกษาผลของการไถกลบตอซังเพื่อเพิ่ม
                   อินทรียวัตถุให้แก่ดินนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ  พบว่า การไถกลบตอซังและฟางข้าวใน
                   อัตราตั้งแต่ 1,000  กิโลกรัมต่อไร่ขึ้นไป จะท าให้ผลผลิตของข้าวโดยเฉลี่ยสูงขึ้น และมีแนวโน้มท าให้ค่า

                   ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน และปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีปริมาณเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า
                   เนื่องจากมีการไถกลบตอซัง ท าให้เกิดการเพิ่มขึ้นของอินทรียวัตถุ จึงส่งผลให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่างเพิ่ม
                   มากขึ้น
                          ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (Avail. P) จากผลวิเคราะห์ดิน พบว่า การผลิตข้าวตามวิธีเดิม

                   ของเกษตรกร (T2) มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินเท่ากับ 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งอยู่ใน
                   ระดับที่ต่ ามาก แต่หลังจากที่เกษตรกรเปลี่ยนมาผลิตข้าวโดยวิธีการไถกลบตอซัง (T3) ท าให้มีปริมาณ
                   ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินเท่ากับ 4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ า แสดงให้เห็นว่าการไถ
                   กลบตอซังท าให้ดินมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ เพิ่มมากขึ้น

                          ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (Avail. K) จากผลวิเคราะห์ดิน พบว่า การผลิตข้าวโดย
                   วิธีการไถกลบตอซังของเกษตรกร (T3) มีปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ เท่ากับ 180 มิลลิกรัมต่อ
                   กิโลกรัม ซึ่งมากกว่าวิธีการผลิตข้าวของเกษตรกรแปลงเปรียบเทียบ (T1) (169 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) และ
                   วิธีเดิมของเกษตรกร (T2) (175 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43