Page 34 - การไถกลบตอซังเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
P. 34

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        24

                          ในการศึกษาครั้งนี้ พบว่า เกษตรกรมีการใช้สารเคมีก าจัดวัชพืชดังนี้
                          ไรเซอร์ มีสารส าคัญ คือ พีน็อกซูแลม จัดอยู่ในกลุ่มสารเคมี Triazolopyrimidine ประโยชน์ ใช้
                   ส าหรับก าจัดวัชพืชหลัง ในนาหว่านน้ าตม เพื่อก าจัดวัชพืชประเภทใบแคบ เช่น หญ้าข้าวนก วัชพืช

                   ประเภทใบกว้าง เช่น ผักปอด และวัชพืชประเภทกก เช่น กกทราย หนวดปลาดุก และกกขนาก วิธีใช้ พ่น
                   ที่ระยะ 7 วัน หลังหว่านข้าว ใช้อัตรา 70-90 มิลลิลิตร ผสมน้ า 60-80 ลิตร ในพื้นที่ 1 ไร่ หรือ 17.5-22.5
                   มิลลิลิตร ผสมน้ า 15-20 ลิตร ในพื้นที่ 1 งาน หรือพ่นที่ระยะ 14 วัน หลังหว่านข้าว ใช้อัตรา 80-90
                   มิลลิลิตร ผสมน้ า 60-80 ลิตร ในพื้นที่ 1 ไร่ หรือ 20-22.5 มิลลิลิตร ผสมน้ า 15-20 ลิตร ในพื้นที่ 1 งาน

                   ก่อนพ่นสารก าจัดวัชพืช ให้ระบายน้ าออกจากนาข้าว และทดน้ าเข้าหลังพ่นสารก าจัดวัชพืชแล้ว 2-3 วัน
                   (เคมีเกษตร, 2561)
                          แกมิต มีชื่อสามัญว่าโคลมาโซนและ โพรพานิล (clomazone  and  propanil) ประโยชน์ใช้

                   ส าหรับก าจัดวัชพืชหลังวัชพืชงอกในระยะเริ่มต้น (early post-emergence) ในนาหว่านน้ าตม เพื่อก าจัด
                   วัชพืชประเภทใบแคบ เช่น หญ้าข้าวนกและหญ้าไม้กวาด (หญ้าดอกขาว) ประเภทกก เช่น กกขนาก
                   แนะน าให้ใช้อัตรา 240-320 ซีซี ผสมน้ า 60-80 ลิตร พ่นบนพื้นที่ 1 ไร่ หรือ 60-80 ซีซี ผสมน้ า 15-20
                   ลิตร พ่นบนพื้นที่ 1 งาน หลังจากหว่านข้าวงอกแล้ว 8 วัน (เคมีเกษตร, 2561)
                          ไพแองเคอร์ มีชื่อสามัญว่าไพริเบนโซซิม (pyribenzoxim)   จัดอยู่ในกลุ่มสารเคมี

                   pyrimidinyloxybenzoic ใช้หลังวัชพืชงอก (post-emergence) ในข้าวนาหว่านน้ าตม เพื่อก าจัดวัชพืช
                   ใบแคบ เช่น หญ้าข้าวนก และหญ้าแดง และวัชพืชประเภทใบกว้าง เช่น ผักปอดนา ในอัตรา 80-100
                   มิลลิลิตร ผสมน้ า 60-80 ลิตร พ่นบนพื้นที่ 1 ไร่ หรืออัตรา 20-25 มิลลิลิตร ผสมน้ า 15-20 ลิตร พ่นบน

                   พื้นที่ 1 งาน หลังหว่านข้าว 9 วัน และทดน้ าเข้านาหลังพ่นสาร 2-3 วัน (เคมีเกษตร, 2561)
                          โซฟิต อยู่ในกลุ่มสารเคมี chloroacetamide ใช้ก่อนวันพืชงอก ในข้าวนาหว่านน้ าตมเพื่อก าจัด
                   วัชพืช ที่งอกจากเมล็ดใช้อัตรา 400  มิลลิลิตร ผสมน้ า 60-80  ลิตร พ่นบนพื้นที่ 1  ไร่ หรืออัตรา 100
                   มิลลิลิตร ผสมน้ า 15-20 ลิตร พ่นบนพื้นที่ 1 งาน หลังหว่านข้าว 1 วัน เปิดน้ าเข้าแปลงนาที่ 7 วัน หลัง

                   หว่านเข้า โดยไม่ให้ท่วมยอดข้าว รักษาระดับน้ าที่ความลึก 5-10 เซนติเมตร 30 วัน หลังหว่านข้าว (ปุ๋ยยา
                   ออนไลน์, 2561)
                          และในการศึกษาครั้งนี้ เกษตรกรมีการใช้สารเคมีก าจัดแมลง เพลี้ย หนอน ดังนี้

                          แอมเมท อีซี สาระส าคัญที่ออกฤทธิ์ คือ อินด๊อกซาคาร์บ 15 เปอร์เซ็นต์ W/V EC (Indoxacarb)
                   จัดอยู่ในกลุ่มสารเคมี  Oxadiazine ใช้ส าหรับป้องกันก าจัดหนอนห่อใบข้าวในนาข้าว อัตราที่แนะน า
                   10-15 มิลลิลิตร ผสมน้ า 20 ลิตร อัตราการใช้น้ า 60 ลิตรต่อไร่ หรืออัตรา30-45 มิลลิลิตรต่อไร่ พ่นให้ทั่ว
                   เมื่อพบการระบาดของหนอนห่อใบข้าวในนาข้าว (เคมีเกษตร,2561)
                          ดูปองท์ พรีวาธอน สารส าคัญที่ออกฤทธิ์ คือ คลอแรนทรานิลิโพรล อยู่ในกลุ่ม diamides  ใช้

                   ส าหรับป้องกันก าจัดแมลงศัตรูพืช วิธีการใช้ในนาข้าว อัตราการใช้ 10-15 มิลลิลิตร ผสมน้ า 20 ลิตร
                   ช่วงข้าวอายุไม่เกิน 40 วัน ใช้น้ า 40 ลิตรต่อไร่ ช่วงข้าวอายุเกิน 40 วัน ใช้น้ า 60 ลิตรต่อไร่ พ่นเมื่อพบ
                   การระบาดของหนอนกอสีครีมในข้าว (เคมีเกษตร, 2561)
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39