Page 31 - การไถกลบตอซังเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
P. 31
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
21
เพลี้ยจักจั่นสีเขียว โรคใบหงิก และโรคใบสีส้ม พื้นที่แนะน าคือ เขตชลประทานภาคกลาง (ศูนย์วิจัยข้าว
ปทุมธานี, 2555)
3.11 น้ าหมักชีวภาพซุปเปอร์ พด. 2
กรมพัฒนาที่ดิน (2557) ให้ความหมายของน้ าหมักชีวภาพ พด.2 ว่าเป็นของเหลวซึ่งได้จากการ
ย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากพืชหรือสัตว์ที่มีลักษณะสด อวบน้ าหรือมีความชื้นสูง โดยอาศัยกิจกรรมของ
จุลินทรีย์ทั้งในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนและมีออกซิเจน ท าให้ได้ฮอร์โมนหรือสารเสริมการเจริญเติบโตของ
พืช เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน รวมทั้งกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดแลคติก กรดอะซีติก
กรดอะมิโน และกรดฮิวมิก เป็นน้ าสกัดที่ได้จากการย่อยสลายเศษวัสดุเหลือใช้จากส่วนต่างๆ ของพืชและ
สัตว์ โดยผ่านกระบวนการหมักในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน (anaerobic condition) มีจุลินทรีย์ท าหน้าที่
ย่อยสลายเศษซากพืชและซากสัตว์เหล่านี้ให้กลายเป็นสารละลาย รวมถึงการใช้เอนไซม์ที่เกิดขึ้นเองตาม
ธรรมชาติหรือมีการเติมเอนไซม์เพื่อเร่งการย่อยสลายได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น จุลินทรีย์ที่พบในน้ าหมัก
ชีวภาพ มีทั้งที่ต้องการออกซิเจนและไม่ต้องการออกซิเจน
วัสดุอุปกรณ์และวัตถุดิบที่ใช้ในการท าน้ าหมักชีวภาพ พด.2 ประกอบด้วยถังหมักที่มีฝาปิดสนิท
จะเป็นถังพลาสติก กระเบื้องเคลือบ โอ่ง และอื่นๆ ที่มีปากกว้างพอที่จะใส่วัตถุดิบได้โดยง่าย อุปกรณ์
ส าหรับหมัก ควรมีขนาดที่เหมาะสมกับจ านวนหรือปริมาณของเศษซากวัตถุดิบที่จะใช้ในการหมัก ถ้า
ขนาดอุปกรณ์ใหญ่กว่ามาก อาจใช้ถุงพลาสติกสีด าส าหรับใส่ขยะ แล้วท าการมัดปากถุงปิดให้สนิทก็
สามารถใช้ได้ เพื่อให้เกิดการย่อยสลายดีขึ้น ผักและผลไม้ อวบน้ าทุกชนิด รวมทั้งเปลือกผลไม้อวบน้ าที่สด
ไม่เน่าเปื่อย ได้แก่ พืชผักสด เช่น ผักบุ้ง กวางตุ้ง คะน้า ผักกาดขาว และต าลึง ผลไม้สุก เช่น กล้วยน้ าว้า
มะละกอ และฟักทอง ผลไม้ดิบ เช่น กล้วยน้ าว้าดิบ สัตว์ เช่น เนื้อ หรือกระดูกปลา หอยเชอรี่ ไข่ไก่
นมสด ส่วนน้ าตาล อาจใช้ น้ าตาลทราย น้ าตาลปี๊บ หรือกากน้ าตาลที่มีราคาถูก ที่มีธาตุอาหารของ
จุลินทรีย์และสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ดังนั้น กล่าวโดยสรุปได้ว่า การท าน้ าหนักชีวภาพ พด.2 สามารถท าได้
จากวัตถุดิบที่หาได้ง่ายและมีอยู่ในพื้นที่ เช่น พืชผัก ผลไม้ ปลา และหอยเชอรี่ เป็นต้น
กรมพัฒนาที่ดิน (2557) ได้กล่าวถึง ส่วนผสมน้ าหมักชีวภาพ ขั้นตอนการท าน้ าหมักชีวภาพ
ซุปเปอร์ พด.2 มีดังนี้ คือ น้ าหมักชีวภาพจากผักผลไม้ จ านวน 50 ลิตร (ใช้เวลาหมัก 7-10 วัน) มี
ส่วนผสมดังนี้ ผักหรือผลไม้ 40 กิโลกรัม กากน้ าตาล 10 กิโลกรัม น้ า 10 ลิตร (หรือให้ท่วมวัสดุหมัก) และ
สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 จ านวน 1 ซอง (25 กรัม) ส่วนน้ าหมักชีวภาพจากปลาหรือหอยเชอรี่ จ านวน 50
ลิตร (ใช้เวลาหมัก 15-21 วัน) มีส่วนผสม ดังนี้ ปลาหรือหอยเชอรี่ 30 กิโลกรัม ผลไม้ 10 กิโลกรัม
กากน้ าตาล 10 กิโลกรัม น้ า 10 ลิตร และสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 จ านวน 1ซอง
ขั้นตอนการท าน้ าหมักชีวภาพ ซุปเปอร์ พด.2 โดยท าการผสมน้ ากับกากน้ าตาล แล้วคนให้เข้ากัน
แล้วหั่นหรือสับวัสดุพืชหรือสัตว์ให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วน าไปผสมกับกากน้ าตาล และน้ าในถังหมักที่เตรียมไว้
หลังจากนั้นน าสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 จ านวน 1 ซอง ผสมในน้ า 10 ลิตร แล้วคนให้เข้ากันเป็นระยะเวลา
5–7 นาที แล้วเทสารละลายสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ลงไปในถังหมัก คนส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน และไม่
ต้องปิดฝาให้สนิท ตั้งไว้ในที่ร่ม โดยในระหว่างการหมัก ควรท าการคนหรือกวน 1 ครั้งต่อวัน เพื่อระบาย
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และท าให้ส่วนผสมคลุกเคล้าเข้ากันได้ดียิ่งขึ้น การหมักจะเกิดฝ้าสีขาวซึ่งเป็น
เชื้อจุลินทรีย์ที่ผิวหน้าของวัสดุหมัก ฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และกลิ่นแอลกอฮอล์
ในระหว่างการหมักควรสังเกตกิจกรรมที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่ากระบวนการหมัก
เป็นไปอย่างต่อเนื่องและสมบูรณ์ ซึ่งการเจริญของจุลินทรีย์ที่เพิ่มขึ้น โดยเกิดฝ้าขาว หรือโคโลนีของ