Page 33 - การไถกลบตอซังเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
P. 33
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
23
วิธีการใช้สารควบคุมแมลงศัตรูพืช ควรใส่สารจับใบ เช่น น้ ายาล้างจาน 10 มิลลิลิตร ลงใน
สารควบคุมแมลงศัตรูพืช 10 ลิตร พืชไร่ พืชผัก และไม้ดอก ฉีดพ่นสารควบคุมแมลงศัตรูพืชที่เจือจางแล้ว
อัตรา 50 ลิตรต่อไร่ ไม้ผล ฉีดพ่นสารควบคุมแมลงศัตรูพืชที่เจือจางแล้ว อัตรา 100 ลิตรต่อไร่ โดยท าการ
ฉีดพ่นที่ใบ ล าต้น หรือบริเวณที่มีหนอนหรือเพลี้ยอาศัยอยู่
ชนิดพืชสมุนไพรที่สามารถน ามา ท าสารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่ผลิตจาก สารเร่ง พด.7 แยกตาม
การก าจัดแมงศัตรูพืช แต่ละชนิด เช่น พืชสมุนไพรที่ใช้ป้องกันพวกเพลี้ย ได้แก่ ตะไคร้หอม หางไหล
สาบเสือ หนอนตายอยาก บอระเพ็ด กระทกรก และข่า เป็นต้น พืชสมุนไพรป้องกันหนอนกระทู้ หนอน
ชอนใบ ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร หางไหล ตะไคร้หอม เปลือกแค สาบเสือ หนอนตายอยาก สะเดา ว่านเศรษฐี
และว่านน้ า เป็นต้น พืชสมุนไพรที่ป้องกันและเป็นพิษต่อแมลงวันทอง ได้แก่ หมาก เมล็ดน้อยหน่า เมล็ด
เงาะ ยาสูบ พริกไทยด า ขิง และพญาไร้ใบ พืชสมุนไพรที่ไล่แมลงไม่ให้วางไข่ ได้แก่ ค าแสด มะกรูด ตะไคร้
เมล็ดละหุ่ง มะนาว พริก และพริกไทย เป็นต้น
การใช้สารป้องกันแมลงศัตรูจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.7 และชนิดพืชสมุนไพรให้มีประสิทธิภาพ มี
เคล็ดลับการใช้งาน โดยต้นพืชจะมีสารออกฤทธิ์ไม่เท่ากันทุกส่วนจึงควรเลือกใช้ส่วนของพืชที่มีสารออก
ฤทธิ์ในปริมาณสูง เพื่อมีประสิทธิภาพในการป้องกันแมลงศัตรูพืช เช่น สารสกัดอะซาดิแรคติน ที่พบใน
สะเดาจะมีมากที่เนื้อในเมล็ด หรือสารสกัดโรตินิน ที่พบในหางไหลแดงจะมีปริมาณมากที่ส่วนราก เป็นต้น
ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรที่ผลิตจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.7 ในอัตราความเข้มข้นที่เหมาะสมและตามที่
แนะน า หากฉีดพ่นในอัตราส่วนความเข้มข้นสูงเกินไปอาจจะส่งผลเป็นพิษต่อพืชได้ และใช้ให้ถูกต้อง
เนื่องจากสมุนไพรมีชื่อพ้องหรือซ้ ากันมาก และยังมีชื่อท้องถิ่นซึ่งเรียกต่างกันออกไปท าให้เกิดการสับสนใน
การใช้งาน แต่สารป้องกันแมลงศัตรูจากสมุนไพร มีจุดด้อยคือ สารออกฤทธิ์สลายตัวเร็วไม่ทนทานต่อ
แสงแดดจึงควรฉีดพ่นตอนเช้าก่อนแดดออก หรือตอนเย็นหลังพระอาทิตย์ตกดิน ฤทธิ์ของสารสกัดไม่แรง
เหมือนสารเคมีจึงต้องฉีดพ่นบ่อยครั้ง นอกจากนี้ไม่ควรใช้สารสกัดสมุนไพรตัวใดตัวหนึ่งเพียงอย่างเดียว
เป็นประจ า ท าให้แมลงและหนอนปรับตัวกลายเป็นดื้อยาได้ ควรเปลี่ยนหรือสลับกันใช้ในการหมัก
สมุนไพรจึงควรหมักพืชสมุนไพรแต่ละชนิดแยกกัน เพื่อสะดวกกับการเลือกใช้และปรับเปลี่ยนจะท าให้
ได้ผลแน่นอนขึ้น และควรผสมสารจับใบ เช่น น้ าสบู่ น้ ายาล้างจาน แชมพู อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ า 20
ลิตร เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสารสกัดสมุนไพร
คุณสมบัติของสารควบคุมแมลงศัตรูพืชสารออกฤทธิ์ที่สกัดได้จากสมุนไพรชนิดต่างๆ เช่น
สารอะซาติแรคติน A สารโรตินิน pinene nepthaquinine geraniol cironellallimonene และ
phellandrene เป็นต้น สารพวก Repellant สามารถไล่แมลงชนิดต่างๆ เช่น alkaloid saponin gum
essential oiltannin และ steroid เป็นต้น กรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดแลคติก กรดอะซิติก กรด
ฟอร์มิก และกรดอะมิโน มีฮอร์โมนหลายชนิด เช่น ออกซิน ไซโตไคนิน โดยเฉพาะจิบเบอเรลลิน และมี
ความเป็นกรดเป็นด่าง ระหว่าง 3–4
3.13 สารเคมีที่ใช้ในการท านาของเกษตรกร
เกษตรกรส่วนมากยังมีการใช้สารเคมีการเกษตรค่อนข้างมากในการท าการผลิตโดยเฉพาะในการ
ท านาปลูกข้าว สารเคมีที่ใช้มีทั้งสารเคมีก าจัดศัตรูพืชที่ใช้กันแพร่หลายในพื้นที่ ได้แก่ สารเคมีก าจัดแมลง
ต่างๆ สารเคมีก าจัดเชื้อรา และสารเคมีก าจัดวัชพืช ในการศึกษาครั้งนี้ พบว่า เกษตรกรยังมีการใช้สารเคมี
ในการท านา เนื่องจากเห็นผลง่ายและรวดเร็ว อีกทั้งช่วยเร่งการเจริญเติบโตของต้นข้าว และมีการใช้สาร
ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชที่มาปกคลุมต้นข้าว